ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Inherited heart disease)

 โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Inherited heart disease)

 

นำเสนอโดยทีมงาน www.legendnews.net

โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมคืออะไร

ความเจ็บป่วยของหัวใจและหลอดเลือดมีหลากหลายชนิดที่พบได้บ่อยในประชาชนทั่วไปได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น โรคหัวใจชนิดต่างๆ สามารถทำให้สูญเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือเปลี่ยนจากคนปกติให้กลายเป็นผู้ป่วยทุพพลภาพ สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจที่พบได้ทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน บุหรี่ และหลายครั้งเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ

ความเจ็บป่วยของหัวใจและหลอดเลือดมีหลากหลายชนิดที่พบได้บ่อยในประชาชนทั่วไปได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น โรคหัวใจชนิดต่างๆ สามารถทำให้สูญเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือเปลี่ยนจากคนปกติให้กลายเป็นผู้ป่วยทุพพลภาพ สาเหตุของการเกิดโรคหัวใจที่พบได้ทั่วไปมักเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงเรื่องความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน บุหรี่ และหลายครั้งเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ

ครอบครัวใดบ้างที่เข้าข่ายว่าประสบภาวะโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

   1. ครอบครัวที่มีสมาชิกในบ้านเป็นโรคหัวใจในบ้านแบบเดียวกันในทุกๆรุ่น
   2. สมาชิกในครอบครัวเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลวตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเฉพาะน้อยกว่า 45 ปีในเพศชาย หรือน้อยกว่า 55 ปี ในเพศหญิง
   3. สมาชิกในครอบครัวเสียชีวิตเฉียบพลันอย่างไม่ทราบสาเหตุหลายคน
   4. สมาชิกในครอบครัวได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดชนิดจำเพาะต่างๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนา (HCM) กล้ามเนื้อหัวใจขยายผิดปกติ (DCM) ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจห้องขวาล่างเจริญผิดปกติ(ARVD) ใหลตาย (Brugada syndrome) กลุ่มอาการนำไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติชนิดลองคิวที (Long QT syndrome) หลอดเลือดหัวใจแข็งก่อนวัยอันควร (premature atherosclerosis) กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan syndrome) และอื่นๆ

ถ้ามีประวัติโรคหัวใจที่สงสัยว่าจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมในครอบครัว ต้องทำอย่างไร?

 การที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่งผลถึงการดูแลสุขภาพของสมาชิกรายอื่นๆในครอบครัวด้วย โดยเฉพาะญาติสายตรง (บิดา มารดา บุตรธิดา พี่ น้อง) จะมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางพันธุกรรมสูงที่สุด นอกจากบทบาทในการเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยแล้ว ญาติสายตรงทุกคนแม้ว่าจะไม่มีอาการใดๆ จำเป็นที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยง ทางพันธุกรรมของตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุร้ายซ้ำขึ้นในครอบครัว การพบแพทย์เพื่อประเมินความเสี่ยงไม่ได้หมายความว่าท่านจะต้องเป็นโรค แต่ในทางกลับกันถ้าประเมินสุขภาพของท่านแล้วพบว่ามีโอกาสเกิดเหตุเหมือนผู้ป่วยในครอบครัวได้ ท่านจะได้รับการดูแลรักษาให้เร็วที่สุดก่อนที่จะมีอาการรุนแรงหรือให้รอดพ้นจากอันตรายและทุพพลภาพ

การมาพบแพทย์จะต้องเตรียมตัวเช่นไร

 การดูแลรักษาโรคหัวใจจากพันธุกรรมเป็นการทำงานสหสาขาระหว่างอายุรแพทย์ด้านโรคหัวใจ และโรคพันธุกรรมญาติพี่น้องของผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความเสี่ยงและรับคำปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์จากอายุรแพทย์สาขาพันธุกรรม เพื่อทำการตรวจเลือดหาปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมต่างๆ ตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์และทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติมตามมาตรฐานการดูแลรักษาจากอายุรแพทย์โรคหัวใจ เช่น การตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหัวใจ (Cardiac MRI) เป็นต้น ถ้าท่านเข้าข่ายที่จะเป็นโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมตั้งแต่ระยะเริ่มแรกแพทย์จะให้การรักษาท่านด้วยยาหรือการใส่เครื่องมือพิเศษต่างๆ ต่อไป

การวางแผนครอบครัวของผู้ป่วย โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

   การวางแผนการมีบุตรในครอบครัวของผู้ที่เป็นโรคหัวใจจากพันธุกรรมสำคัญมาก เนื่องจากไม่มีใครต้องการที่จะมีบุตรเป็นโรครุนแรงซ้ำในครอบครัว คู่สมรสจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจประเมินความเสี่ยง รับคำปรึกษาแนะนำทางพันธุกรรม และรับทราบแนวทางในการวางแผนมีบุตรต่อไป

สนับสนุนข้อมูลโดย

 

โอบจุฬ  ตราชู
ดร.นพ.โอบจุฬ ตราชู
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุศาสตร์การแพทย์
คลินิค โรคทางพันธุกรรม ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 18 

รพ.พญาไท 3
โทร. 02-467-1111 ต่อ 1816-17

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน