ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ธัมมจักกัปปวัตนสูตร,บทสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (แปลไทย)

 

เรียบเรียงโดยทีมงาน Legendnews.net

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร หรือเขียนอย่างภาษามคธว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร  เป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะนับเป็นพระสงฆ์ สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน 8 เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์


ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

เปิดดูธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยละเอียดพร้อมสวดมนต์แปลที่ 

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร.pdf

ที่มา

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรมิได้เป็นพระสูตรเฉพาะที่ปรากฏอย่างโดดๆ ในพระไตรปิฎก แต่เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาปรากฏอยู่ในพระสูตร และกถาที่แตกต่างกัน 2 แห่ง กล่าวคือ ปรากฏเนื้อความใน ปญฺจวคฺคิยกถา ตอนปฐมเทศนา มหาขนฺธก มหาวคฺค ในพระวินัยปิฎก ซึ่งในกถานี้ในบางครั้งมีการระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แต่บางกรณีก็มิได้ระบุชื่อพระสูตร และยังปรากฏในตถาคตสุตฺตํ หรือตถาคตสูตร สมาธิวโคฺค สจฺจสํยุตฺตํ สํยุตฺตนิกาย ในพระสุตันตปิฎก เรียกว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเช่นกัน


เนื้อหาจากปญฺจวคฺคิยกถา ตอนปฐมเทศนา มหาขนฺธก มหาวคฺค ในพระวินัยปิฎกอันเป็นที่มาของธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น มิได้ปรากฏอารัมภกถาว่า "เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ" หรือ "ข้าพเจ้าได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสีฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ" อันเป็นอารัมภกถาที่กล่าวโดยพระอานนท์ เพื่อแสดงต่อที่ประชุมสังคายนาครั้งแรก เพื่อชี้แจงว่าพระสูตรนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ ณ สถานที่แห่งใด และทรงตรัสแก่ผู้ใด


ส่วนเนื้อหาจากตถาคตสุตฺตํ หรือตถาคตสูตร สมาธิวโคฺค สจฺจสํยุตฺตํ สํยุตฺตนิกาย ปรากฏอารัมภกถาว่า "เอกัง สมยัง ภควา พาราณสิยัง วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเยฯ ตัตระ โข ภควา ปัญจวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ" หรือ "ในสมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับยับยั้งอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้เมืองพาราณสีฯ ในกาลครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเตือนสติเหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์ให้ตั้งใจฟังและพิจารณาตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนี้ว่า ฯ" จากนั้นจึงเริ่มเนื้อหาของพระสูตร ซึ่งตรงกันกับในมหาวคฺคทุกประการ


เนื้อหาในพระสูตร

เนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในพระพุทธพจน์ที่ปรากฏในธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยสรุปมีดังนี้ 

...ภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ คือ ความจริงที่ช่วยมนุษย์ให้เป็นผู้ประเสริฐเกี่ยวกับการพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นอย่างนี้ คือ การเข้าใจว่า "เกิด แก่ เจ็บ ตาย" ล้วนแต่ เป็นทุกข์ แม้แต่ความโศรกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์กายทุกข์ใจ ทั้งความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

ภิกษุทั้งหลาย เหตุทำให้เกิดความทุกข์ (สมุทัย) มีอย่างนี้ คือ ความอยากเกินควร ที่เรียกว่า ทะยานอยาก ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้นๆ ได้แก่

ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่

ความทะยานอยากในความอยากเป็นนั่นอยากเป็นนี่

ความทะยานอยากในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น เช่น ไม่อยากจะเป็นคนไร้เกียรติ ไร้ยศ เป็นต้น อยากจะดับสูญไปเลย ถ้าไม่ได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้

 

ภิกษุทั้งหลาย นิโรธ คือ ความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ดับความกำหนัดอย่างสิ้นเชิง มิให้ตัณหาเหลืออยู่ สละตัณหา ปล่อยวางตัณหาข้ามพ้นจากตัณหา ไม่มีเยื่อใยในตัณหา

ภิกษุทั้งหลาย ทุกขโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ได้แก่ (1) ความเห็นชอบ (2) ความดำริชอบ (3) วาจาชอบ (4) การงานชอบ (5) เลี้ยงชีวิตชอบ (6) ความเพียรชอบ (7) ความระลึกชอบ (8) ความตั้งจิตมั่นชอบ...


— ธัมมจักกัปปวัตนสูตร

กล่าวโดยสรุป ธัมมจักกัปปวัตนสูตร แสดงถึง

ส่วนที่สุดสองอย่าง ที่พระพุทธศาสนาปฏิเสธ อันได้แก่ "กามสุขัลลิกานุโยค" คือการหมกมุ่นอยู่ในกามศก และ "อัตตกิลมถานุโยค" คือการทรมานตนให้ลำบากโดยเปล่าประโยชน์

 

มัชฌิมาปฏิปทา คือปฏิปทาทางสายกลางที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้ ได้แก่ มรรคมีองค์แปด

อริยสัจสี่ คือธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

 

ส่วนที่สุดสองอย่าง

ส่วนที่สุดสองอย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน (เช่น บำเพ็ญทุกรกิริยา) เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ปฏิปทาทางสายกลาง

ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรคมีองค์แปด คือ

ปัญญาเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)

ความดำริชอบ (สัมมาสังกัปปะ)

เจรจาชอบ (สัมมาวาจา)

การงานชอบ (สัมมากัมมันตะ)

เลี้ยงชีวิตชอบ (สัมมาอาชีวะ)

พยายามชอบ (สัมมาวายามะ)

ระลึกชอบ (สัมมาสติ)

ตั้งจิตชอบ (สัมมาสมาธิ)

 

 

อริยสัจสี่

อริยสัจสี่ ธรรมที่เป็นความจริงอันประเสริฐสี่ประการคือ


ทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์

ทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

ทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหาดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค คือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด


อริยสัจสี่นี้

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้.

ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละเสีย

ทุกขนิโรธอริยสัจ ควรทำให้แจ้ง

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์แปด ควรเจริญ

 

เปิดดูธัมมจักกัปปวัตนสูตรโดยละเอียดพร้อมสวดมนต์แปลที่ 

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร.pdf

 

เอกสารอ้างอิงจาก มหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งเป็นคำสวดมนตร์แปลLegendnews.net จึงคัดลอกในฐานะพุทธมามกะเพื่อเผยแพร่ และแนะนำว่าหนังสือที่นำมาดังกล่าว เป็นคำสอนของพระพุทธองค์ ซึ่งทั่วไปรับฟังคำสวด แต่ไม่รู้คำแปลตลอดมา เป็นที่น่าเสียดายที่ ผู้รู้ผู้เผยแพร่มิได้สวดแปล หรือเทศนาในงานต่างๆ

และขอบคุณข้อมูลจาก th.wikipedia.org

 




พุทธองค์ แสดงธรรม 84000 ข้อ พระธรรม คือคำสั่งสอนพุทธองค์ พระสงค์นำหลักธรรม เผยแพร่ต่อมวลมนุษย์

รวมคติธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า article
คน10ประเภทนี้เจอเมื่อไหร่หนีให้ไกล ไม่ควรแม้แต่จะรู้จัก article
อยากมีสุขภาพจิตที่ดี สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง.. article
เคยสงสัยไหมว่าเราเกิดมาทำไม...อยู่ไปเพื่ออะไร article
นั่งสมาธิเเล้วเกิดการเจ็บปวด มันมาจากไหนควรเเก้อย่างไร article
ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อได มันจึงรู้เท่าสิ่งทั้งปวงในโลกอันนี้ article
ผู้ใดมีสัจมีศีล..ได้ชื่อว่าเป็นผู้หมดกรรมหมดเวร article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่2] article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่1] article
ข้อดีของความทุกข์..เวลามีเรื่องไม่ดี มักมีข้อดีซ่อนอยู่ article
ปาฏิหาริย์เกิดได้ทุกนาที สิ่งเดียวนั่น คือการตื่นรู้ทุกลมหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอนให้ปกติ article
ความโลภไม่อาจนำพามนุษย์ ไปสู่ความสำเร็จ article
คนมีสติ เหมือนมีสิ่งนำโชค ให้พบเจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต article
ถ้าเราทุกข์เพราะความรักก็ต้องมาแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ หรือตัวปัญหานั้น คือฉัน หรือ เรา article
ธรรมโอวาท ของ พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร article
การทำจิตให้สงบ โดย หลวงปู่ชา สุภัทโท article
สัจธรรมของความจริง article
ขันธ์ทั้ง 5 คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวง article
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (แก่นธรรม) article
นิพพานของพระพุทธเจ้า article
ทางพ้นทุกข์ จิตเห็นผิดเป็นถูกไปเพราะกรรมบังจิต จิตเห็นผิดเป็นถูกก็จะทำความดีได้ยาก article
มีรักและมีชังมันจึงทุกข์ article
ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ใครยึดใครถือไว้ก็หนัก article
การบวชที่ทดแทนคุณบุพการีได้จริง article
เผลอทำผิดศีลเข้า ถ้าไม่ตั้งใจจะผิดศีลไหม article
ทางโลก กับ ทางธรรม นำชีวิตเราไปคนละทางจริงหรือ? article
สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” article
อะไรคือบุญ การละบาปได้นั่นแหละเป็นบุญ article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 1 article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 2 article
เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม article
ให้แสงแห่งธรรมนำทางชีวิต สู่ความสงบสุข article
ศีลบารมี พระธรรมเทศนา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร article
ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ โดย หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร article
ละความเห็นแก่ตัว article
ความสวยงามที่ไม่สวยงาม ไม่มีอะไรคงอยู่ไปตลอด article
ความสงบมีคุณมาก โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี article
ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการตกผลึกของความรู้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น"หยุดกรรม"ได้จริง article
ธรรมะ คำคม จรรโลงใจ ธรรมะสอนตัวเองระวังตัวเอง ธรรมะไม่ใช่ของขลัง แต่เป็นแนวทางที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ article
คนเราทำบุญเพื่ออะไร ทำไมต้องมีการสะสมแต้มบุญ วิธีสะสมบุญเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 1 article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 2 article
มนุษย์เรามันก็รักสุขเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน1 article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน2 article
เตือนสติได้ดีแท้ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า article
ใจนั้นสำคัญไฉน ทำไมพระธรรมทุกบททุกบาทจึงชี้มาที่ใจ article
เเก้ความทุกข์ที่ปลายเหตุ แก้เท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด article
การสอนคนให้เป็นคนดี (ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า) article
ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจที่เกิดจากความพอต่างหาก article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน