ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




พบชาย “หัวใจโต” กินเนื้อที่ช่องอก 80%

 พบชาย หัวใจโตกินเนื้อที่ช่องอก 80%

วันพฤหัสบดี ที่ 25 สิงหาคม 2559  เรียบเรียงโดยทีมงาน www.legendnews.net

วารสารวิชาการด้านการแพทย์ นิวอิงแลนด์ เจอร์นัล ออฟ เมดิซีน ซึ่งจัดพิมพ์โดยสมาคมแพทย์แห่งแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ฉบับประจำวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา เผยแพร่รายงานสรุปของกรณีผู้ป่วยชายวัย 57 ปีที่ต้องเข้าพบแพทย์หลังจากเกิดอาการบวมตามแขนขา แต่เมื่อตรวจสอบด้วยการสแกนภายในเพื่อวินิจฉัยโรค แพทย์พบว่าต้นเหตุของอาการดังกล่าวเกิดจากอาการผิดปกติอย่างรุนแรงของหัวใจของผู้ป่วยรายนี้

ความผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นกับหัวใจห้องบนขวา (ไรท์ เอเทรียม-อาร์เอ) ที่ขยายใหญ่ผิดปกติ ทำให้โดยรวมแล้วขนาดของหัวใจใหญ่โตมาก โดยมี คาร์ดิโอโธราซิซ เรโชหรืออัตราส่วนความกว้างของหัวใจอยู่ที่ 0.82 ซึ่งหมายความว่าหัวใจของผู้ป่วยรายนี้ขยายออกจนกินเนื้อที่ช่องอกถึง 82 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่สัดส่วนปกติของคนทั่วไปนั่นต่ำกว่า 0.5 หรือไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ช่องอกเท่านั้น

นายแพทย์ เดวิด มาจดัลลานี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการศูนย์โรคหัวใจแต่กำเนิดในผู้ใหญ่ของคลีฟแลนด์คลินิก รัฐโอไฮโอ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับกรณีของผู้ป่วยรายนี้ ระบุว่ากรณีที่เกิดขึ้นนี้ถือว่าพบได้ยากมาก แพทย์ที่ตรวจรักษาเชื่อว่าน่าจะเป็นมาแต่กำเนิด แต่นายแพทย์มาจดัลลานีชี้ว่าอาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ หัวใจห้องบนขวาของคนเรา ทำหน้าที่รับเลือดดำจากทั่วร่างกาย แล้วปั๊มผ่านหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอดให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดต่อไป ในกรณีที่เลือดไหลเข้าไปในห้องบนขวานี้มากเกินไป ก็ทำให้เกิดการขยายตัวเพื่อรองรับปริมาณเลือดให้เพียงพอได้เช่นกัน นอกจากนั้นอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุการผิดปกติของแรงดันในหัวใจห้องบนขวาที่สูงเกินไปก็ได้ เช่นเดียวกับสาเหตุจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ที่ทำให้เลือดไปค้างอยู่ในห้องบนขวามากๆ เพิ่มแรงดันให้สูงขึ้น ทำให้ห้องหัวใจห้องนี้ขยายตัวโตตามไปด้วยในที่สุด

เมื่อหัวใจห้องบนขวาขยายตัวด้วยแรงดันภายในสูงขึ้น จะทำให้เลือดตามส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถกลับคืนสู่หัวใจได้ในอัตราปกติ ทำให้เกิดอาการบวมขึ้นตามอวัยวะส่วนล่างของร่างกาย โดยเฉพาะตามขาและเท้า เหมือนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายนี้

ปัญหาอีกอย่างที่จะเกิดขึ้นตามมาเมื่อการไหลเวียนของเลือดกลับสู่หัวใจได้ช้าลงก็คือ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุดตันจากลิ่มเลือดได้สูงกว่าปกติ ลิ่มเลือดเหล่านี้อาจเกิดอุดตันบริเวณขา เท้า หรืออาจเคลื่อนไปกับกระแสเลือดเข้าสู่หัวใจ หรือหากพบช่องทางที่เหมาะสมก็อาจขึ้นไปสู่สมอง ซึ่งเมื่อเกิดอุดตันขึ้นก็จะก่อให้เกิดภาวะสโตรค หรือภาวะอุดตันหรือแตกของเส้นเลือดเลี้ยงสมองที่ก่ออันตรายถึงชีวิตได้

นายแพทย์มาจดัลลานีระบุว่า การรักษาอาการหัวใจโตทำนองนี้ จำเป็นต้องรักษาตามต้นเหตุที่เป็นที่มาของการโต เช่นถ้าเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจก็ต้องผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติดังกล่าว หรือถ้าเกิดจากการเต้นผิดปกติของหัวใจก็ต้องใช้กระบวนการปรับจังหวะการเต้นให้ถูกต้อง หรือในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดลดขนาดโดยตรง

ในกรณีของผู้ป่วยรายนี้ แพทย์ผู้รักษาไม่ได้ผ่าตัดใดๆ เพียงให้ยาป้องกันภาวะอุดตันของลิ่มเลือด และที่ผ่านมาอาการไม่ได้แย่ลงแต่อย่างใด

 

ที่มา www.matichon.co.th/news/261822




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน