ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หมอแนะผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียม

 

หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หมอแนะผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียม

คอลัมน์ ข่าวสดสุขภาพ

รายงานพิเศษ

หัวใจ อวัยวะหลักของร่างกาย มีส่วนประกอบมากมายหลายอย่าง รวมไปถึงระบบของการทำงานที่เชื่อมโยงเข้ากับส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ดังนั้นเรียกได้ว่า เป็นส่วนสำคัญหลักที่ไม่สามารถขาดได้ หากร่างกายขาดหัวใจอวัยวะส่วนต่างๆ ก็หยุดทำงานตามไปด้วย

นพ.อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Aorta) เป็นหลอดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ออกมาจากขั้วหัวใจทอดยาวจากช่องอกสู่ช่องท้องและให้แขนงเป็นหลอดเลือดที่นำเลือดแดงไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ ในร่างกายหลายแห่ง

โรคหรือภาวะบางอย่างอาจทำให้ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้ามีความอ่อนแอ เกิดการโป่งพองขยายขนาดจนใหญ่กว่าปกติขึ้น ซึ่งเมื่อโป่งขยายจนถึงระดับหนึ่งก็จะแตกทำให้เสียเลือดจำนวนมากกะทันหันจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ภาวะดังกล่าวสามารถพบได้ในทุกระดับของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าไม่ว่าจะเป็นส่วนที่อยู่ในช่องอกหรือช่องท้อง แต่สามารถพบบ่อยที่สุดในหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าในช่องท้องส่วนที่อยู่ใต้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต

โรคนี้จะพบในผู้ป่วยชายสูงอายุ โดยเฉพาะระหว่าง 65-75 ปี ที่มีประวัติสูบบุหรี่ มีความดันโลหิตสูง และมีประวัติโรคหลอดเลือดโป่งพองในครอบครัว

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ บ่อยครั้งที่ตรวจพบได้โดยบังเอิญจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงหรือการทำเอกซเรย์ แต่ในผู้ป่วยบางส่วนก็อาจมีอาการได้เช่นกัน เช่น อาการปวดบริเวณหลอดเลือดที่มีการโป่งพอง เจ็บหน้าอก หรือปวดหลัง โดยอาการปวดอาจเป็นๆ หายๆ หรือ เป็นตลอดเวลาก็ได้ หรือในบางกรณีที่มีหลอดเลือดปริแตก ผู้ป่วยก็จะมาด้วยอาการปวดร่วมกับอาการเสียเลือดจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้เสียชีวิตได้ในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง

นอกจากนี้การโป่งพองของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าอาจทำให้มีก้อนเลือดมาจับตัวที่ผนังของหลอดเลือดเนื่องจากมีการอักเสบหรือมีการไหลวนของเลือดในบริเวณที่มีการโป่งพอง ถ้าก้อนเลือดที่ผนังหลอดเลือดมีการหลุดไป ก็อาจไปอุดกั้นแขนงของหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าได้ หรือการโป่งพองก็อาจจะทำให้มีการกดเบียดอวัยวะข้างเคียง

สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการแตกของหลอดเลือด ยิ่งมีขนาดใหญ่ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการแตกสูงกว่า ดังนั้นจึงแนะนำให้ผ่าตัด ถ้ายังมีขนาดไม่ใหญ่ถึงขั้นที่จะต้องผ่าตัดก็แนะนำให้ตรวจติดตามต่อร่วมกับให้ยาลดความดันโลหิตเพื่อลดแรงดันเลือดที่กระทำต่อผนังหลอดเลือด

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในก

ปัจจุบันการผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพองมีสองรูปแบบ คือการผ่าตัดเปิด และการผ่าตัดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดมีขดลวดถ่างขยายผ่านสายสวน ซึ่งเริ่มมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าโป่งพอง เนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กกว่า และอัตราการเสียชีวิตในโรงพยาบาลต่ำกว่า

โดยที่ให้ผลในการรักษาระยะยาวเทียบเท่ากับการผ่าตัดเปิด

ารมีโรคหลอดเลือดหัวใจก็แนะนำให้ ออกกำลังกาย หยุดสูบบุหรี่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และในกรณีที่ตรวจพบระดับไขมันในเลือดสูงก็อาจต้องให้ยาลดไขมันด้วย




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน