ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ความมั่นคงทาง"พลังงาน"

 

เกมวัดใจนายกรัฐมนตรี, พลังงาน, ความมั่นคงทางพลังงาน, คม ชัด ลึก, Service Contract, Focus Group, Joint Development Plan, Concession Contract, Product Sharing Contract, ครม, Free on Board

ความมั่นคงทาง"พลังงาน"  เกมวัดใจนายกรัฐมนตรี

                       รัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศมาครบ 3 ปีเต็ม หลากหลายนโยบายอาจจะมีทั้งเข้าตา และไม่เข้าตา บางเรื่องรอได้ ไม่เร่งด่วน คงต้องให้เวลารัฐบาลในการดำเนินการ เพราะการแก้ไขปัญหาประเทศที่สะสมกันมายาวนานไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่ายๆ

                       ความยากง่ายในการดำเนินการ นั่นเป็นส่วนหนึ่ง แต่ “พิมพ์เขียว” ที่วางไว้ นั่นเป็นอีกส่วน โดยเฉพาะนโยบายด้านเศรษฐกิจ แม้ว่าบางประเด็นอาจจะล่าช้า แต่สิ่งที่นักลงทุนต้องการเห็น นั่นคือ ทิศทาง นโยบายที่ชัดเจนของภาครัฐ เพื่อจะได้ใช้ในการวางแผนงาน โดยเฉพาะนโยบายด้านพลังงาน ซึ่งที่ผ่านมามีหลายครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมา จนทำให้หลายโครงการต้องชะลอการดำเนินการออกไป

 
 
 

                        เห็นได้ชัดจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน 2 แห่ง ในภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น กระบี่ หรือ เทพา ล้วนถูกกลุ่มต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินปลุกม็อบมากดดันถึงหน้าทำเนียบ จนรัฐบาลยอมถอย ปล่อยให้อนาคตของภาคใต้ต้องเสี่ยงต่อการขาดแคลนไฟฟ้า ในขณะที่คนไทยก็ได้สัมผัสกับค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นแล้ว หลังราคาน้ำเข้าก๊าซแอลเอ็นจี ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น

                        หันมามองด้านปิโตรเลียม เริ่มจากข้อมูลของกระทรวงพลังงาน ที่ระบุชัดเจนว่า ณ สิ้นปี 2558 ประเทศไทยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ค้นพบแล้ว หรือ Proven Reserve โดยมีปริมาณก๊าซธรรมชาติประมาณ 7.3 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คาดว่าจะใช้ได้ประมาณ 5 ปี โดยมีปริมาณคอนเดนเสทและน้ำมันดิบ 378 ล้านบาร์เรล เทียบเท่าน้ำมันดิบ คาดว่าใช้ได้แค่ประมาณ 4 ปี 

                     ในขณะที่ทั้งประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคน้ำมันมากถึงวันละประมาณ 1 ล้านบาร์เรล ทำให้ต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบประมาณกว่าวันละ 8.5 แสนบาร์เรล เพื่อให้เพียงพอต่อปริมาณการใช้ในประเทศ 

                     เมื่อย้อนกลับไปดูการจัดหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติม เอาเฉพาะด้านปิโตรเลียม เป็นเวลา 10 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยไม่สามารถเปิดประมูลสัมปทานรอบใหม่ได้ และปฏิเสธไม่ได้ว่า สาเหตุหลักมาจากการออกมาคัดค้านของกลุ่มเอ็นจีโอ และเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงาน หรือ คปพ. กำลังเดินหน้าประท้วงอย่างหนัก ในขณะที่รัฐบาลเลือกใช้ยุทธศาสตร์ “ถอยเพื่อรักษาฐานมวลชนคนกันเอง”

                     และในอีก  5 ปีข้างหน้าก็จะมีแหล่งปิโตรเลียมที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานอีก 2 แห่ง คือ แหล่งเอราวัณ ในปี 2565 และแหล่งบงกช ในปี 2566 ซึ่งมีการประเมินกันว่า หากการเปิดประมูลมีความล่าช้าและไม่สามารถหาผู้ชนะการประมูลได้โดยเร็ว อาจทำให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมลดกำลังการผลิต ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณก๊าซธรรมชาติจาก 2 แหล่งนี้ หายไปประมาณ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็น 76% ของปริมาณการจัดหาก๊าซในอ่าวไทย และ 44% ของปริมาณการจัดหาก๊าซทั้งประเทศ และที่สำคัญก๊าซธรรมชาติจากทั้ง 2 แหล่งนี้ เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศ

                     หากเป็นเช่นนี้ อาจจะต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีมาทดแทนเพิ่มขึ้นประมาณ 40 ล้านตัน คิดเป็นเงินกว่า 6 แสนล้านบาท และจะส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 14 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะว่าไปแล้วเรื่องที่เกี่ยวกับพลังงานล้วนเกี่ยวข้องกับร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมทั้งสิ้นไม่มากก็น้อย

                     แม้ พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน จะยืนยันว่า กระบวนการเปิดประมูลสัมปทานทั้ง 2 แหล่ง อาจจะล่าช้าไปบ้าง 1-2 เดือน จากเดิมที่วางไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2560 แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบจนเกิดวิกฤติก๊าซ หากแต่ในอีกด้านต้องยอมรับความจริงว่า หนทางข้างหน้า ยังมีความอึมครึม

                     ปฏิเสธไม่ได้ว่า เส้นทางด้านพลังงานไม่ว่าจะหันไปทางไหน ล้วนมีอุปสรรคขวากหนามแห่งการประท้วงต่อต้าน และหากนายกรัฐมนตรียังคงเลือกคนกันเอง อนาคตทางพลังงานไทยย่อมติดหล่มอยู่กับที่ ท้ายที่สุดนโยบายเศรษฐกิจ 4.0 อาจก้าวไปไม่ไกลถึงฝั่งฝัน เพราะความไม่ชัดเจนในทิศทางการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

                      งานนี้ถือเป็นเกมวัดใจนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าจะเลือกเส้นทางไหน ระหว่าง “ความมั่นคงทางพลังงาน” กับ “พลังมวลชนคนกันเอง”

                                                                 ...........................................................

หมดยุคสัมปทานสู่ระบบแบ่งปันผลผลิต

                  วีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ให้สัมภาษณ์ “คม ชัด ลึก” ถึงความคืบหน้าของกฎหมายลูกทั้งหมดว่าได้ผ่านการพิจารณาจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแล้ว เหลือเพียงร่างหลักเกณฑ์วิธีการกำหนดพื้นที่ว่าควรใช้รูปแบบใดระหว่างระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลิต และระบบจ้างผลิต (Service Contract) ที่รอการอนุมัติว่าจะนำมาเปิดรับฟังความคิดเห็นอีกหรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้ได้เปิดรับฟังความเห็น (Focus Group) ไปแล้ว ซึ่งในทางปฏิบัติเมื่อผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีแล้ว สามารถออกเป็นประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียมว่าด้วยการกำหนดพื้นที่เพื่อให้สิทธิสำรวจและผลิตได้ทันที

                 “กฎหมายลูกทั้งหมด ละเอียดครบถ้วนปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของกรม โดยจะรับฟังความเห็นรวม 15 วัน ระหว่างวันที่ 11-26 พฤษภาคม 2560 จากนั้นนำความเห็นสรุปที่เป็นประโยชน์นำเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในกรณีที่ความเห็นที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ก็อาจจะปรับรายละเอียดเพิ่มเติมได้ จากนั้นนำเสนอต่อ ครม.เห็นชอบต่อไป”

                  รายละเอียดของระบบแบ่งปัน ผลผลิตนั้น วีระศักดิ์บอกว่า ได้ยึดตามรูปแบบจาก JDA (Joint Development Plan) ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ที่นำเนื้อหาบางส่วนมาปรับใช้กับการให้สิทธิสำรวจและผลิต โดยมีการปรับในแง่ของการเสนอแผนการลงทุนมาที่กรมเชื้อเพลิงฯ จากต้นแบบที่กำหนดไว้เพียงปีละครั้ง มาเป็น 2 ครั้งต่อปี เพื่อความคล่องตัวของเอกชน ในกรณีที่เมื่อขุดเจาะไปแล้วและต้องขุดเจาะเพิ่มเติมจากแผนที่นำเสนอไว้ ก็สามารถนำเสนอเพิ่มเติมได้ 

                     ทั้งนี้ การดำเนินการให้สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศที่ผ่านมานั้น ใช้เพียงระบบเดียว คือ สัมปทาน (Concession Contract) เท่านั้น แต่ครั้งนี้ได้เพิ่มรูปแบบ สัญญาแบ่งปันผลผลิต หรือ PSC (Product Sharing Contract) เข้ามาใช้ด้วย โดยสาระสำคัญของกฎกระทรวงดังกล่าวรวม 26 ข้อ ระบุว่า สัญญามีระยะเวลาไม่เกิน 39 ปี แบ่งเป็นขั้นตอนการสำรวจไม่เกิน 6 ปี ต่อได้ไม่เกิน 3 ปี และขั้นตอนการผลิต ไม่เกิน 20 ปี ในกรณีที่ต้องการต่ออายุทำได้เพียง 1 ครั้ง แต่ไม่เกิน 10 ปี และผู้อนุมัติต่ออายุสัญญาคือคณะรัฐมนตรี (ครม.)

                     อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติระบุอีกว่า ในส่วนของการหักค่าใช้จ่าย การกำหนด ค่าภาคหลวง และการกำหนดส่วนแบ่งกำไร กำหนดว่าค่าภาคหลวงอยู่ที่ร้อยละ 10 ของผลผลิตรวมที่ขายและจำหน่าย การหักค่าใช้จ่ายให้หักได้เท่าที่จ่ายจริงตามแผนงานและงบประมาณที่ได้รับอนุมัติไม่เกิน ร้อยละ 50 ของผลผลิตรวม และส่วนที่เหลือเรียกว่าปิโตรเลียม ส่วนที่เป็นกำไรให้ผู้รับสัญญาไม่เกินร้อยละ 50 โดยหลังจากที่สัญญามีผลบังคับใช้แล้ว ผู้รับสัญญาต้องนำเสนอแผนงานและงบประมาณต่อกรมเชื้อเพลิงฯ ภายใน 60 วัน กรมเชื้อเพลิงฯ สามารถแก้ไขแผนงานได้ เมื่อเห็นว่าไม่คุ้มค่าหรือมีค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป 

                   “ที่สำคัญการปรับปรุงแผนต้องไม่ทำให้งบประมาณเกินกว่าร้อยละ 10 สำหรับการจัดการน้ำมันดิบนั้น ผู้รับสัญญาต้องให้สิทธิพิเศษแก่โรงกลั่นในประเทศเป็นอันดับแรก ด้านราคาขายให้เป็นไปตามราคาตลาด หรือใช้ราคา FOB (Free on Board) รวมไปจนถึงกรณีที่พบก๊าซธรรมชาติ ให้ใช้เพื่อรักษาระดับแรงดันในแหล่ง และสามารถจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกได้ ในกฎกระทรวงดังกล่าวยังกำหนดอีกว่า ในการจ่ายค่าภาคหลวงต้องใช้เงินบาทเท่านั้น แต่ในกรณีที่ไม่ใช่การจ่ายค่าภาคหลวงให้ชำระเงินตราต่างประเทศได้ เมื่อผิดนัดชำระต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ส่วนกรณีชำระค่าภาคหลวงไม่ตรงเวลาหรือชำระขาด ต้องจ่ายเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อวัน”

                    วีระศักดิ์ย้ำด้วยว่า ส่วนกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉิน หรือขาดแคลนน้ำมันดิบ กรมเชื้อเพลิงฯมีสิทธิซื้อน้ำมันดิบในส่วนของผู้รับสัญญา ยกเว้นส่วนที่ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว ผู้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาต้องมีหลักฐาน คือ หลักฐานการเป็นบริษัท ส่วนในกรณีที่เป็นบริษัทที่ตั้งโดยกฎหมายต่างประเทศต้องมีหนังสือรับรองจากสถานเอกอัครราชทูต สถานทูต หรือสถานกงสุล หรือต้องมีหนังสือรับรองของโนตารีพับลิกในประเทศนั้น รวมถึงหลักฐานแสดงว่ามีทุน อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรและผู้เชี่ยวชาญเพียงพอ ส่วนกรณีที่เงินทุน อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรไม่พอดำเนินการ จะต้องมีบริษัทอื่นที่รัฐบาลเชื่อถือได้เป็นผู้รับรองที่แสดงความสัมพันธ์การลงทุนหรือการจัดการระหว่างบริษัทด้วย 




อำนาจรัฐ คือ ต้วแทนประชาชน องค์กรประชาชนไทย ต้องตรวจสอบอำนาจรัฐ ชาติจึงจะเจริญ

ศาลให้ประกันตัว 'บุญเกื้อหนุน' พร้อมกำหนดเงื่อนไข ด้าน 'สมยศ' วืดประกัน คดีพาพวกปักหมุดคณะราษฎร article
แฉคลิป!!! ซ้อนแผนจับรับสินบน รองนายกเทศมนตรีจนมุม รับสินบนโยกย้าย article
ผบ.ทบ.ยันโอกาส "ปฎิวัติ" เป็นศูนย์ แต่อย่าสร้างเงื่อนไขขึ้นมา article
น้ำท่วมหมู่บ้าน ชาวบ้านเดือนร้อนกว่า 30 ปี article
ชาวบ้านร้องประปาใช้การไม่ได้ article
ถึงที่หมาย แต่หาที่จอดรถไม่ได้ มีแต่รถ ทปษ article
ชาวบ้านสังขละบุรีอพยพหนีน้ำท่วมสูง article
โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค article
เปิดสมอง 2 นายกฯ article
5 ปี จบไม่ลง! ป.ป.ช.จ่อแจ้งข้อหาเพิ่ม article
สนช. หลับคาวงถกงบ3ล้านล้าน article
ค้านรัฐบาลบิ๊กตู่ ซื้อดาวเทียม 9 หมื่นล้าน article
บิ๊กป้อม เชื่อ ‘คดียิ่งลักษณ์-จตุพร’ ไม่กระทบปรองดอง
“นพดล” ตั้งคำถามเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ชี้แก้ไข ม.67 เหมาะสมหรือไม่
บอกแล้วว่าทำได้..เรื่องขี้ผง!!! ด่วน "บิ๊กตู่" สั่งเปรี้ยงเด้งฟ้าผ่า"รอง ผอ.พศ." แก๊งงาบเงินทอนวัดแล้ว ยันคดีเดินหน้าปกติ-ผิดจริงหวดหนัก
อธิบดีกสก.ย้ำโครงการ 9101 โปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้
“ศรีวราห์”สั่งกองปราบฯ สืบคดีใหม่หลังสาวหนองคายโร่ร้องชื่อเหมือน 5 คนจู่ๆ ถูกตำรวจแจ้งข้อหาฆ่าคนตายใน กทม.ยันไม่เคยรู้จักผู้ตายและช่วงเกิดเหตุอยู่กับสามี
สมช. เผย ไม่คืบหน้าลาวส่งตัว “โกตี๋” กลับไทย ชี้ เป็นเรื่องของความร่วมมือ
ป.ป.ช. วางมาตรการ เพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่น ที่มีพฤติกรรมในทางทุจริต
สวนกันแบบจังจัง!! "วิทยา" สวน "สตช.ใช้นิสัยตร.ข่มขู่" หลังแฉซื้อขายเก้าอี้ จี้ใช้ ม.44 แช่แข็งอยากรู้ใครจะอดตาย ยันถูกจับให้"บิ๊กตู่" ประกัน
ชุดพญาเสือดำเนินคดีเจ้าของโรงแรมดังไทรโยค หลังตรวจสอบเอกสาร นส3 ที่นำมาแสดง
ตำรวจขอเวลาทำงาน สางปมซื้อขายตำแหน่งใน สตช.
DSI จ่อเรียก เสี่ยบุญชัย สอบ ปมบ้านหรูบนเขาที่พังงา
"บิ๊กป๊อก"เฉ่งยับหน่วยงานรัฐค้างจ่ายค่าสาธารณูปโภคเป็นสิบๆปียอดหนี้สะสมพุ่งหลายพันล้าน หมดช่องเคลียร์จบต้องทยอยจ่ายเป็นงวด
"วิษณุ"ปัดตอบปมปลาสองน้ำไม่อยากปะทะคารมเซ็ตซีโร่กกต.ไม่หนักใจจ่อสอบคุณสมบัติ 9 รมต. ไม่คิดว่าต้องการให้เป็นเงื่อนไข



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน