
กลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้งสำหรับการทุจริตเงินอุดหนุนงบประมาณบูรณะและปฏิสังขรณ์วัด ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) " นายนพรัตน์ เบญวัฒนานันท์ อดีตผอ.พศ. " ภายหลังจากการบุกค้นหน้าของทางเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (บก.ปปป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้พบหลักฐานเอกสารเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากและใบฝากเงินจำนวนมาก
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นสืบเนื่องจาก ปี57 ที่วัดพนัญเชิงวรวิหารไม่ได้จัดทำคำขอบูรณปฎิสังขรณ์วัดแต่อย่างใด แต่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่พศ. โดยนางประนอม คงพิกุล รองผอ.พศ. แจ้งให้ทราบว่า "จะโอนเงินงบประมาณมาให้กับวัด เป็นจำนวนเงิน 10,000,000 บาท และวัดจะได้เงินก้อนนี้ แค่ 2,000,000 บาท ซึ่งวัดต้องโอนเงินคืน 8,000,000บาท " ให้กับนางประนอม โดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของนางชมพูนุท เพื่อนำไปใช้ในกิจการของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ทั้งนี้สตง. ได้รับเบาะแสการทุจริต จึงได้ทำการตรวจสอบจนพบความผิดปกติในเส้นทางการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของพ.ศ. จึงได้ส่งต่อข้อมูลให้กับบก.ปปป. เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 จากนั้นบก.ปปป. ได้ทำการสืบสวนสอบสวนต่อ จนมีพยานหลักฐานเพียงพอไปขออนุมัติหมายศาลเข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายที่ผ่านมา ทาง บก.ปปป.ตรวจสอบข้อมูลเงินงบประมาณพศ. ปี 55 -59 ที่มีการเบิกจ่าย 33 วัด พบว่าวัดที่เข้าข่ายทุจริต 12 วัด อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ 6 วัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 วัด ภาคกลาง 2 วัด และภาคใต้ 1 วัด
ซึ่งนายนพรัตน์ เบญวัฒนานันท์ อดีตผอ.สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ ร่วมกับนางประนอม คงพิกุล รอง ผอ.พศ. และนางชมพูนุท จันฤาไชย ซึ่งได้ไปทำผิดกับวัดที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ ซึ่งพบเงินที่ ทุจริตเป็น เงิน จำนวน 60 กว่าล้านบาท
ด้านพ.ต.ท.พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. ระบุว่า.."พศ. ซึ่งที่ได้ยินมาการทอนเงินจะอยู่ในอัตรา 3 ใน 4 คือ ทอน 75% ของเงินที่ได้จ่ายออกไป อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2556-2559 ส่วนใครจะเกี่ยวข้องก็เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ต้องไปตรวจสอบอย่างละเอียดว่า ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุมีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง แต่เรื่องเงินทอนคนใน พศ. เขารู้กันว่ามีการทำแบบนี้ ผมเพิ่งมาผมยังรู้เพราะเขาเล่าให้ฟัง"
หากย้อนดูประวัติของนายนพรัตน์ กับปรากฏข่าวและภาพ สายสัมพันธ์ระหว่างอดีตผอ.พศ. กับ"วัดพระธรรมกาย" มาโดยตลอด และยังเคยเป็น "เลขาานุการวัดพระธรรมกาย" อีกด้วย
ซึ่งในยุคนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ เป็นผู้อำนวยการ มีการทำงานทั้งในรูปแบบและนอกรูปแบบ แบบว่าบางวันก็สวมชุดเลขาธิการมหาเถรสมาคม บางวันก็สวมชุดข้าราชการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บางวันก็ทำตัวเป็นองค์กรอิสระ นึกอยากจะไปร่วมงานกับใครก็ไป ไปคนเดียวแล้วแอบอ้างว่ามหาเถรสมาคมใช้ให้ไปก็ทำและทำจนเป็นอาจิณกรรม

ทั้งนี้ เมื่อช่วงเดือน ก.พ.58 วัดพระธรรมกายจัดงาน "ธุดงค์ธรรมชัย ส้นทางพระผู้ปราบมาร" โดยให้พระสงฆ์ออกมาเดินธุดงค์กลางเมือง ส่งผลให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รับความเดือดร้อน และมองว่ากิจกรรมดังกล่าว ขัดกับหลักพระพุทธศาสนาที่ควรปฏิบัติ จากนั้นทางโลกออนไลน์ ได้มีการเผยแพร่ภาพของนายนพรัตน์ ขณะร่วมพิธีธุดงค์ธรรมชัย และได้ให้สัมภาษณ์กับช่อง DMCNEWS สื่อของทางวัด จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงสายสัมพันธ์ระหว่างวัดพระธรรมกาย กับสำนักพุทธฯ ในขณะนั้น ที่มีอดีตข้าราชการระดับสูงให้การเคารพศรัทธา จนอาจนำไปสู่การเมินเฉยต่อข้อเรียกร้องของประชาชน ซึ่งต้องการให้มีการดำเนินตรวจสอบกิจกรรมของวัด ในช่วงเวลานั้นหรือไม่

ยืนยันชัดเจนที่เด็ดที่สุดคือการที่วัดพระธรรมกายนำคำให้สัมภาษณ์ของ นายนพรัตน์ เมื่อช่วงเดือนเมษายน 2555 ที่สนับสนุนธุดงค์ธรรมชัยด้วยความภาคภูมิใจว่า กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมาธิการการศาสนา วุฒิสภา เรียกร้องให้ พศ.และกรมการศาสนา ตรวจสอบการจัดกิจกรรมเดินธุดงค์ธรรมชัยของพระสงฆ์ 1,500 รูประหว่าง วันที่2-6 เมษายน นี้ ในเขตปทุมธานีและผ่านถนนหลักกลาง กทม.เป็นการเคารพ หรือทำลายพุทธบัญญัติและธรรมวินัยว่า การเดินธุดงค์มีหลายลักษณะ เป็นป่าหรือสถานที่ก็ได้ เป็นการทำสมาธิ กำหนดจิตให้รู้ตัว ก็เป็นการปฏิบัติอย่างหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เท่าที่ทราบข้อมูลเป็นการแห่รูปหล่อของหลวงพ่อสด ซึ่งเป็นการยกย่องเพื่อแสดงความกตัญญูในฐานะที่เมตตาเผยแผ่หลักธรรมคำสอน อีกทั้งเป็นการรวมชาวพุทธ ให้มาร่วมกิจกรรมแม้ว่าจะมีผลกระทบด้านการจราจรบ้างแต่หากมองที่ผล ลัพธ์แล้วเป็นเรื่องดี ที่เป็นการจุดประกายและจิตศรัทธาให้ชาวพุทธมาร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เหมือนการจัดทำบุญตักบาตรพระสงฆ์หลายหมื่นรูปที่ถนนเยาวราช ซึ่งเป็นเรื่องดี ไม่อยากให้มองแต่แง่ลบอย่างเดียว อยากให้มองว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์มากกว่า ..อดีตผอ.พศ.กล่าว

