ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




กินไข่อย่างไร ให้สุขภาพดี ไม่ต้องพึ่งวิตามิน ประหยัดค่าใช้จ่าย เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม

 

กินไข่อย่างไร ให้สุขภาพดี ไม่ต้องพึ่งวิตามิน ประหยัดค่าใช้จ่าย เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม

 

ทุกวันนี้คนไทยหลายคนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพของตัวเองมากขึ้น พยายามที่จะหาวิธีการต่างๆ หรือวิตามินเสริมมากินเสียเงินมากมาย แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ามีวิธีการดูแลสุขภาพตัวเองง่าย โดยไม่ต้องเสียเงินมากมาย

 

 

     กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะคนไทยทุกกลุ่มวัยกินไข่ได้วันละฟอง และดื่มนมจืดวันละ 1 - 2 แก้ว เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนและแคลเซียมที่จำเป็น ช่วยเสริมสร้างพลังงาน สร้างความแข็งแรงและส่วนสูงกับเด็กไทย และลดภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

 

 

  นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูง หาได้ง่าย และเหมาะสมสำหรับทุกเพศ ทุกวัย เป็นแหล่งของแร่ธาตุและวิตามินอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี 2 บี 6 วิตามินอี โฟเลต เลซิธินลูทีน และซีแซนทีนที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ปริมาณไข่ที่แนะนำให้บริโภคนั้น เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน ให้เริ่มที่ไข่แดงต้มสุกวันละครึ่งถึง 1 ฟอง เด็กอายุ 7 เดือนขึ้นไปกินไข่ต้มสุกวันละครึ่งถึง 1 ฟอง และเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปถึงวัยสูงอายุกินไข่ต้มสุกได้วันละฟอง แต่หากเป็นผู้ป่วยเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง กินไข่ได้ 3 ฟองต่อสัปดาห์หรือตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งผู้บริโภคควรกินไข่ควบคู่กับอาหารที่หลากหลายในแต่ละมื้อ โดยให้มีอาหารประเภทแป้ง ธัญพืช เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ ครบทั้ง 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้สดจะช่วยในการกักเก็บน้ำตาลและคอเลสเตอรอล จึงช่วยลดการดูดซึม และควรเลี่ยงการกินไข่ดิบ เพราะอาจปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนไข่ขาวที่ไม่สุกจะขัดขวางการดูดซึมไบโอตินซึ่งเป็นวิตามินบีชนิดหนึ่งในลำไส้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมวิตามินบีไปใช้ประโยชน์ได้ จึงได้รับประโยชน์ไม่เต็มที่ และสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องฟันที่ไม่สามารถกินอาหารโปรตีนอื่นได้ แนะนำให้ให้กินไข่เป็นแหล่งของโปรตีน แต่ในคนสูงอายุที่มีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงในบางมื้ออาจหลีกเลี่ยงการกินไข่แดง

  นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อไปว่า ไข่สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ไข่ต้ม ไข่ตุ๋น ไข่พะโล้ ซึ่งจะมีปริมาณไขมันน้อยกว่าไข่ดาว ไข่เจียว ไข่ลูกเขย หรืออาจกินเป็นสลัดไข่ ยำไข่ เพราะจะทำให้ได้สารอาหารที่มีประโยชน์จากไข่ และได้ใยอาหารและวิตามินซีจากผักและผลไม้ ส่วนเมนูที่ควรหลีกเลี่ยงคือ ขนมปังไข่ดาวใส่เบคอนหรือไส้กรอก เพราจะได้รับปริมาณไขมันสูงมากจากเบคอนน้ำมันที่ใช้ทอดและเนยที่ทาขนมปัง กรณีที่พ่อแม่ต้องการให้เด็กได้กินผักควบคู่กับไข่นั้น ควรใช้วิธีการประกอบอาหารที่มีการใส่ผักลงไปในไข่เพื่อเป็นการจูงใจให้เด็กกินผักได้อีกทางหนึ่งด้วย เช่น ไข่เจียวหรือไข่ตุ๋นใส่ผักสับละเอียด โดยจะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายแก่เด็ก ที่สำคัญต้องดูแลการบริโภคอาหารอย่างอื่นร่วมด้วย
        
     "นอกจากนี้ วัยเด็กและผู้สูงอายุ ควรดื่มนมเป็นประจำ โดยเฉพาะนมจืดเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดีที่มีแคลเซียมในปริมาณสูง เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน โดยเฉพาะนมสดรสจืดมีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่านมที่มีการปรุงแต่งด้วยน้ำตาลและกลิ่น เนื่องจากมีแคลเซียมในปริมาณมาก ช่วยสร้างกระดูกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กด้านความสูง โดยเด็กวัยเรียนควรดื่มนมวันละประมาณ 2 - 3 แก้ว และในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารเพิ่ม เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและชะลอการสูญเสียมวลกระดูก ป้องกัน โรคกระดูกพรุน แนะนำให้ดื่มนมจืดวันละ 1 - 2 แก้ว ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ อาทิ ภาวะอ้วน ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ควรดื่มนมชนิดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนยเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไขมันเกิน วันละ 1 - 2 แก้ว" 

 

 

ขอบคุณ : กรมอนามัย




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน