ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




สธ.เตือน หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอกพบได้น้อยมาก

 

สธ.เตือน หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในทรวงอกพบได้น้อยมาก

 

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแนะโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ในทรวงอกแตกมักพบในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง อัตราการเกิดโรคพบได้น้อยมาก 5 -30 ต่อ 1 ล้านประชากรแนะประชาชนตรวจสุขภาพ

       นพ.ชัยสิทธิ์ แสงทวีสิน นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับ อาการ "หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองแตก" หรือการฉีดขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta นั้น เป็นโรคที่เกี่ยวกับผนังหลอดเลือด ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว แม้จะได้รับการรักษาทันท่วงทีก็ตาม โรคนี้ ถ้าไม่มีอาการอะไร แทรกซ้อน อาจจะไม่มีอาการใดๆแสดงออกมา แต่จะพบโรคโดยเอ็กซเรย์ปอด เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ แบบฉีดสีดูเส้นเลือด ในกลุ่มที่มีอาการ อาการที่มาพบแพทย์ จะปวดที่หน้าอก ท้อง หรือไหล่แบบรุนแรง เหมือนถูกแทง หรือฉีกอวัยวะ ทำให้คนไข้ซีด ช็อก เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว  การรักษาในกรณีที่การฉีกของผนังหลอดเลือดยังไม่แตกทะลุทำได้ 2 วิธี คือ การผ่าตัด และการสอดสายสวนเข้าหลอดเลือดเพื่อใส่ท่อลวดค้ำยันบริเวณหลอดเลือดที่มีปัญหา แต่ในกรณีที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือดออกสู่ช่องอกหรือช่องท้องแล้วจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อใส่หลอดเลือดเทียมโดยมีโอกาสรอดน้อยกว่าร้อยละ 50

            ทั้งนี้ จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกา โรคนี้พบได้น้อยมากมีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 5-30 ต่อ 1 ล้านประชากรโรคนี้มักเจอในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50- 70 ปี เป็นโรคแทรกซ้อนจากหลอดเลือดแข็ง สาเหตุมาจากอายุมาก หลอดเลือดเสื่อม ความดันโลหิตสูง หรือกลุ่มที่สูบบุหรี่ หรือเป็นโรคเบาหวาน ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็ง จนส่งผลให้หลอดเลือดอ่อนแอลง สาเหตุส่วนใหญ่ที่สามารถเกิดโรคนี้ได้ คือ "กรรมพันธุ์" หรือหลอดเลือดในร่างกายอักเสบจะด้วยสาเหตุใดก็แล้วแต่นำไปสู่การโป่งพอง หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่นำไปสู่การกระแทกที่รุนแรง จนทำให้ผนังหลอดเลือดบอบบางผิดปกติและโป่งพอง

 
 

           จากการทำงานโรคหัวใจมาประมาณ 30 ปี ในไทยพบโรคในเด็กเพียง 1 รายเท่านั้น ที่สำคัญ การรักษาต้องเป็นสถานที่ที่มีอุปกรณ์ที่ทันสมัย แนะประชาชนหมั่นตรวจสุขภาพ ออกกำลังกาย ลดอาหาร หวานจัด มันเค็ม หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์ โดยด่วน




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน