ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การเตรียมตัวเมื่อไปศาล

                  คนที่ไม่เคยไปศาล หากมีเหตุการณ์ที่ทำให้เราต้องขึ้นศาลคงมืดแปดด้าน ใจเย็น เย็น แล้วลองมาอ่านวิธีการเตรียมตัวกันนะคะ

 

การติดต่อราชการในศาลชั้นต้น

 
 

 

ติดต่องานศาล เรื่องใด? ตรงไหน?

การเตรียมตัวไปศาลในฐานะโจทก์

การเตรียมตัวไปศาลในฐานะจำเลย

การเตรียมตัวไปศาลในฐานะพยาน

การเตรียมตัวไปยื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย

หลักทรัพย์ที่จะใช้เป็นหลักประกัน

 

 

 

หลักฐานของนายประกัน ในการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย 

อัตราหลักทรัพย์ ที่ขอประกันผู้ต้องหาหรือจำเลย

แบบฟอร์มหมายศาล ที่คู่ความต้องใช้  
(ดาวน์โหลดไปใช้ได้ค่ะ)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาล

 

 
         
  ติดต่องานศาล เรื่องใด? ตรงไหน?  
 

เรื่องที่ติดต่อ

ติดต่อ

 
 

สอบถามทุกเรื่องในศาล

งานประชาสัมพันธ์

 
 

ขอคัดถ่ายเอกสารเกี่ยวกับคดี

งานประชาสัมพันธ์

 
 

ขอให้ช่วยเขียนคำร้อง, คำขอ, และคำแถลงต่างๆ

งานประชาสัมพันธ์

 
 

ขอประกันตัวจำเลยหรือผู้ต้องหา

งานประชาสัมพันธ์

 
 

ยื่นคำฟ้องหรือคำให้การ

งานรับฟ้อง

 
 

ขอทราบผลการส่งหมายหรือสำเนาคำฟ้อง

เจ้าหน้าที่รับนำหมาย

 
 

ขอดูสำนวนหรือคำสั่งศาลในสำนวนติดต่อ

งานเก็บสำนวนความ

 
 

ขอเยี่ยมผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกควบคุมตัวมาศาล

เจ้าหน้าที่ตำรวจประจำศาล

 
 

ติดต่อเมื่อไปเป็นพยานศาล

งานหน้าบัลลังก์

 
 

เมื่อไปศาลมีปัญหา

จ่าศาล หรือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล

 
 

ติดต่อเกี่ยวกับการบังคับคดี

สำนักงานบังคับคดีประจำศาล

 
 

ติดต่อเกี่ยวกับการคุมประพฤติ

สำนักงานคุมประพฤติประจำศาล

 
 
 
 
  การเตรียมตัวไปศาล ในฐานะโจทก์  
 
  1. ต้องรู้ว่าจะไปฟ้องคดีแพ่งหรือคดีอาญา
  2. ตรวจดูคำฟ้องให้ถูกต้องเสียแต่เนิ่นๆ ดูในเรื่องความถูกต้องของแบบฟอร์ม ถ้อยคำ พร้อมทั้งลงชื่อในคำฟ้องและใบแต่งทนายให้เรียบร้อย
  3. เตรียมเงินค่าธรรมเนียมและค่าขึ้นศาลในกรณีที่ไปฟ้องคดีแพ่ง
  4. เตรียมเงินค่านำส่งหมายนัดหรือหมายเรียก
  5. เตรียมสำเนาทะเบียนบ้าน
  6. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน
  7. แต่งกายเรียบร้อยเมื่อไปศาล
     
 
  การเตรียมตัวไปศาล ในฐานะจำเลย  
 
  1. การทำคำให้การไปให้พร้อม หากยังมิได้ยื่นคำให้การ
  2. นำสำเนาหมายนัดหรือหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปด้วย
  3. เตรียมสำเนาทะเบียนบ้าน
  4. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน
  5. การไปศาลเพื่อยื่นคำให้การในฐานะจำเลยในคดีอาญา ต้องเตรียมหลักทรัพย์ประกันไปด้วย
  6. แต่งกายเรียบร้อยเมื่อไปศาล
     
 
  การเตรียมตัวไปศาล ในฐานะพยาน  
 
  1. นำหมายเรียกพยานไปศาลด้วย
  2. จำหมายเลขดคีและจำเวลานัดให้ได้
  3. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนไปด้วย
  4. ทบทวนเหตุการณ์ที่ได้รู้ได้เห็นเกี่ยวกับคดีให้ดี จัดลำดับเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับคดีให้ได้
  5. แต่งกายเรียบร้อยเมื่อไปศาล
     
 
  การเตรียมตัวไปยื่นประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย  
 
  1. เตรียมหลักทรัพย์ ที่จะใช้เป็นหลักประกัน
  2. เตรียมสำเนาทะเบียนบ้าน
  3. เตรียมบัตรประจำตัวประชาชน
  4. ใบรับรองราคาประเมินที่ดิน (กรณีใช้หลักประกันเป็นเอกสารสิทธิ์เกี่ยวกับที่ดิน)
  5. ใบแสดงความยินยอมของคู่สมรส (ถ้ามี)
  6. ใบรับรองเงินเดือน (กรณีใช้ตำแหน่งหน้าที่เป็นหลักประกัน)
     
 
  หลักทรัพย์ที่จะใช้ประกัน มีดังนี้  
 
  1. โฉนดที่ดิน หรือเอกสารสิทธิเกี่ยกับที่ดิน พร้อมใบรับรองราคาประเมินจากทางราชการ
  2. เงินสด
  3. สมุดเงินฝากประจำ
  4. พันธบัตรรัฐบาล
  5. หนังสือรับรองของธนาคาร
  6. ตำแหน่งหน้าที่การงาน พร้อมใบรับรองเงินเดือน
     
 
     
 

ความรู้เกี่ยวกับศาล

 
 

ศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มี 4 ประเภท คือ

 
 
  1. ศาลรัฐธรรมนูญ เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณา วินิจฉัย ชี้ขาดปัญหาที่ขัดแย้งต่อกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือปัญหาขัดแย้งในการใช้กฏหมาย
  2. ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญ หรือมีกฏหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
  3. ศาลปกครอง เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชา หรือในกำกับดูแลของรัฐบางด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำ หรือละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายบัญญัติ
  4. ศาลทหาร เป็นศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทหาร และคดีอื่นตามที่กฏหมายบัญญัติ
 
     
 
ศาลยุติธรรม แบ่งชั้นของศาลออกเป็น 3 ชั้นคือ
 
 
  1. ศาลชั้นต้น
  2. ศาลอุทธรณ์
  3. ศาลฎีกา
 
     
 
ศาลชั้นต้น เป็นศาลที่รับพิจารณาคดีในเบื้องต้น ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีพิเศษอื่นๆ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
 
 
  1. ศาลชั้นต้นในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ 
- ศาลแพ่ง
- ศาลอาญา
- ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
- ศาลแพ่งธนบุรี
- ศาลอาญาธนบุรี
- ศาลแขวงที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
- ศาลจังหวัดมีนบุรี
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- ศาลภาษีอากรกลาง
- ศาลแรงงานกลาง
- ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
- ศาลล้มละลายกลาง
      2.    ศาลชั้นต้นในต่างจังหวัด ได้แก่
- ศาลจังหวัด
- ศาลแขวง
- ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง



 
 
 
บุคลากรในศาลชั้นต้น หรือเรียกว่า ข้าราชการฝ่ายตุลาการ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
 
 
  1. ข้าราชการตุลาการ ได้แก่ ผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ (สำหรับ 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส จะมีดะโต๊ะยุติธรรม ซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการที่มีหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีด้านกฏหมายอิสลาม)
  2. ข้าราชการธุรการ ได้แก่ ข้าราชการและลูกจ้างในศาลที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานในทางธุรการของศาล 
     
 
 
ผู้มีหน้าที่ในการปกครองดูแลศาล มีอยู่ 2 ระดับคือ
 
 
  1. ผู้มีหน้าที่ปกครองดูแลสูงสุดในศาล 
- ศาลชั้นต้นขนาดใหญ่ในกรุงเทพมหานคร คือ อธิบดีผู้พิพากษา
- ศาลชั้นต้นอื่นๆโดยทั่วไปกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล 
  1. หัวหน้างานทางด้านธุรการในศาล
- จ่าศาล ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานทางธุรการ และปกครองดูแลข้าราชการธุรการในศาล







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน