ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ทำอย่างไร! เมื่อลูกน้อยสมาธิสั้น

ทำอย่างไร! เมื่อลูกน้อยสมาธิสั้น

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   27 กรกฎาคม 2554 07:07 น.

 

รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์:บทความ
       นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์ : เรียบเรียง
       
       ปัจจุบันพบว่า เด็กในวัยเรียนป่วยเป็นโรคสมาธิสั้นถึง 5 % เราจะรู้และช่วยดูแลรักษาเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร มีคำแนะนำมาฝากครับ
       
       เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะมีสาร dopamine , noradrenaline ในสมองน้อยกว่าเด็กปกติ ทำให้ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ อีกสาเหตุเกิดจากจากกรรมพันธุ์ 30 - 40 % อาการที่บ่งชี้ว่าเด็กอาจเป็นโรคสมาธิสั้นมี 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1. อาการขาดสมาธิ เช่น วอกแวกและหงุดหงิดง่าย ขาดสมาธิ ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ หนีปัญหา ทำของหายบ่อยๆ ขี้ลืม 2. อาการซน อยู่ไม่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น วู่วาม ตื่นตัวตลอดเวลา พูดมาก ชอบขัดจังหวะหรือพูดแทรก ถ้ารวมกันมีมากกว่า 6 อาการขึ้นไป และมีอาการเหล่านั้นมาก่อน 7 ขวบ ถือว่าเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคสมาธิสั้น

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
       ทั้งนี้แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียด ร่วมกับการตรวจร่างกาย ระบบประสาท และการสังเกตพฤติกรรมของเด็กเป็นหลัก ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการตรวจเลือด หรือเอกซเรย์สมอง ที่สามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้ และบางรายอาจจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจสายตา การได้ยิน ตรวจคลื่นสมอง เชาวน์ปัญญา และความสามารถทางการเรียน เพื่อช่วยวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการใกล้เคียง
       
       โรคสมาธิสั้นสามารถรักษาได้ โดยการผสมผสานหลาย ๆ ด้านเข้าด้วยกันต่อไปนี้ครับ
       
       1.รักษาด้วยยา เริ่มจากยาที่ใช้ในการรักษาที่ได้ผลสำหรับโรคสมาธิสั้น คือยาในกลุ่ม Psychostimulants ที่ปลอดภัย มีผลข้างเคียงน้อย ออกฤทธิ์กระตุ้นเซลล์สมองให้หลั่งสารเคมีธรรมชาติออกมาในระดับของเด็กปกติ ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้เด็กสามารถการควบคุมตัวเองได้ดี มีสมาธิมากขึ้น

ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต
       2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและคนในครอบครัว ให้ความรักและการเอาใจใส่ คนในครอบครัวที่มีเด็กสมาธิสั้นต้องเข้าใจว่า สมาธิสั้นเป็นความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของสมอง พฤติกรรมของเด็กไม่ได้เกิดจากความตั้งใจที่จะก่อกวนให้เกิดปัญหา แต่เกิดจากเด็กไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ดังนั้นจึงต้องปรับพฤติกรรมเด็กโดยจัดตารางเวลาที่ชัดเจน จัดสถานที่ให้เด็กทำการบ้าน โดยไม่มีใครรบกวน แต่ถ้าเด็กขาดสมาธิง่าย จำเป็นต้องมีผู้ใหญ่นั่งอยู่ด้วยช่วงระหว่างทำการบ้าน ควรหลีกเลี่ยงการดุ หรือตำหนิ และไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าเมื่อเด็กทำผิด เช่น งดดูทีวี งดขี่จักรยาน หรือหักค่าขนมเด็ก พ่อแม่ต้องมีความอดทนเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมเด็กไปในทางที่ดีขึ้นอาจต้องใช้เวลาหลายปี
       
       3. การช่วยเหลือทางด้านการเรียน เด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเรียน คุณครูจึงต้องมีบทบาทที่จะช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นให้เรียนได้ดี โดยจัดที่นั่งให้เหมาะสม คุณครูควรจัดให้เด็กสมาธิสั้นนั่งอยู่หน้าชั้นเรียน ไกลจากประตูหรือหน้าต่างเพื่อลดโอกาสการถูกทำให้วอกแวกจากสิ่งเร้าภายนอก หากพบว่าเด็กเริ่มยุกยิกอยู่ไม่นิ่ง หรือหมดสมาธิ คุณครูควรให้เด็กได้ลุกจากที่เพื่อไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชั้นเรียน เช่น ลบกระดาน แจกสมุด เตรียมอุปกรณ์ของใช้ในห้องเรียน เป็นต้น การสอนเสริมตัวต่อตัว หรือการจัดให้มีเด็กที่สมาธิดี รับผิดชอบต่อการเรียนคอยช่วยประกบให้ความช่วยเหลือจะช่วยให้เด็กสมาธิสั้นเรียนรู้ได้ดีขึ้น
       
       คุณพ่อแม่ที่มีลูกน้อยเป็นโรคสมาธิสั้นจำเป็นต้องเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้อง และแจ้งให้คุณครูทราบ เพราะถ้าไม่รักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็กโตขึ้นอาจมีผลกระทบทั้งตัวเด็กและครอบครัว
       
                                             ---------------------
       **แนะแนวหลักสูตรแพทย์แก่นร.ม.ปลาย
       

       คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล จัดโครงการ “เปิดประตูสู่ศิริราช” แนะแนวการศึกษาต่อหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตสำหรับนักเรียนชั้น ม.ปลายและผู้ปกครอง ในวันที่ 30 ก.ค.นี้ 08.30 -11.30 น. ณ อาคารศรีสวรินทิรา ชั้น 3 รพ.ศิริราช สำรองที่นั่งฟรีได้ที่ โทร. 0 2419 6410 / ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่
www.si.mahidol.ac.th/education
       
       **สมาธิสั้น: รักษาหายได้อย่างไร
       

       คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล เชิญชวนผู้สนใจเข้าฟังการบรรยายความรู้สู่ประชาชน เรื่อง “สมาธิสั้น : รักษาหายได้อย่างไร” ในวันศุกร์ที่ 5 ส.ค. เวลา 08.00 - 15.00 น. ณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช ฟรี โทร. 0 2419 8950

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน