ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




'ความจำถดถอย'จุดเริ่มอัลไซเมอร์! ตรวจพบก่อน...รักษาได้

'ความจำถดถอย'จุดเริ่มอัลไซเมอร์! ตรวจพบก่อน...รักษาได้

อาการหลง ๆ ลืม ๆ เพียงเล็กน้อย ไม่ได้สร้างปัญหาให้การดำเนินชีวิตในประจำวันติดขัด  แต่ทราบหรือไม่หากปล่อยทิ้งไว้ อาจเป็น จุดเริ่มต้นของโรคอัลไซเมอร์และกลายเป็นโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรง ในที่สุด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงทั้งกับตัวเองและคนรอบข้าง
   
ดร.นพ.โยธิน ชินวลัญช์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น จากสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2000 เฉพาะโรคอัลไซเมอร์มีผู้ป่วยประมาณ 45 ล้านคน เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สำหรับในประเทศไทยก็อยู่ในช่วงที่ประชาชนมีอายุยืนยาวมากขึ้น ในเพศหญิงเฉลี่ยอายุประมาณ 82 ปี ส่วนผู้ชายประมาณ 79 ปี ฉะนั้นในวัยนี้ความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมจะสูงขึ้นตามอายุ ดังนั้นบ้านเราจึงเป็นประเทศหนึ่งที่มีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ
   
ภาวะสมองเสื่อมมีหลายรูปแบบที่พบมากที่สุดคือโรคอัลไซเมอร์ ประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ของโรคสมองเสื่อม โดยภาวะของสมองเสื่อมในบุคคลที่เป็นอัลไซเมอร์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดแต่เป็นโรคที่เป็นทีละนิด ๆ สะสมก่อน ซึ่งกระบวนการนี้จะมีพยาธิสภาพในสมองเริ่มต้นจากภาวะปกติและมีวิวัฒนาการจนกระทั่งมีอาการทางคลินิก จึงเรียกว่าเป็นอัลไซเมอร์เต็มตัว ซึ่งอาการจะเริ่มต้นด้วยการสูญเสียความจำ เช่น หลงลืมบ่อยขึ้น ได้แก่ ลืมกุญแจ ลืมปิดประตูบ้าน ลืมปิดไฟ โดยไม่มีความผิดปกติทางร่างกายอย่างอื่น เช่น การเดิน การพูด ระบบประสาทสัมผัส แต่อาการเหล่านี้จะผิดปกติขึ้นในช่วงปลาย ๆ ของตัวโรค เช่น เดินไม่ได้ ถือเป็นภาวะที่ค่อนข้างช้าเกินไปในการรักษา ปัจจุบันจึงยังไม่มีการรักษาที่หายขาด มีแต่ให้ยาช่วยบรรเทาอาการทำให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ยังไม่เสื่อมถอยเร็วจนเกินไป
   
นอกจากอัลไซเมอร์แล้วยังมี “โรคสมองเสื่อมชนิด Lewy Body Dementia” หรือ LBD พบได้ 30 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีโรคสมองเสื่อมและส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเพศชาย โดยโรคนี้จะทำลายเซลล์สมองเฉพาะสมองส่วนหน้า พบในคนไข้อายุประมาณ 65 ปี หรือบางคนมากกว่า 45 ปีก็เริ่มเป็นได้ ถึงแม้จำนวนจะน้อยกว่าอัลไซเมอร์ แต่มีอาการรุนแรงกว่า เพราะจะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ภายใน 2 ปี “โรคสมองเสื่อมชนิด Fronto-Temporal Dementia” หรือ FTD พบประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ในผู้ป่วยที่เริ่มเกิดโรคสมองเสื่อมในอายุมากกว่า 65 ปี และมักมีปัญหาด้านการพูดที่คล่องแคล่วน้อยลง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น โมโหร้าย “โรคสมองเสื่อมจากภาวะสมองอุดตัน” มีเส้นเลือดอุดตันเล็ก ๆ ทำให้เกิดสมองเสื่อมตามมา “โรคสมองเสื่อมจากเชื้อวัวบ้า” เกิดจากทานอาหารที่ติดเชื้อไวรัสหรือไม่ทราบสาเหตุและโรคเอดส์ พาร์กินสัน ภาวะน้ำในโพรงสมองมากเกินไปหรือโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการสัมผัสกับสารพิษ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สารเสพติดทั้งหลายหรือความผิดปกติของโรคทางกาย เช่น การเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ
   
อีกภาวะหนึ่งที่เราเจอได้บ่อยในบุคคลทั่วไปคือ อาการหลงลืมหรือความจำถดถอย ที่เกิดขึ้นถือเป็นรอยต่อของโรคก่อนกลายเป็นอัลไซเมอร์ โดยแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. อาการหลงลืมหรือความจำถดถอยเป็นผลจากอายุที่มากขึ้น(Age-Associated Memory Impairment : AAMI ) พบความชุก 40 เปอร์เซ็นต์ในคนที่อายุ 65 ปีขึ้นไป 2. อาการหลงลืมหรือความจำถดถอยที่ผิดปกติของเซลล์สมอง (Mild Cognitive Impairment : MCI)มีการลดลงของหน่วยความจำเมื่อเทียบกับเพื่อนอายุรุ่นเดียวกัน มีความจำของสมองคล้ายกับอัลไซเมอร์และประมาณ  15 เปอร์เซ็นต์ของคนที่มีภาวะสมองเสื่อม MCI จะพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์ทุกปี
   
การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นในคนไข้ที่เริ่มความจำไม่ดี เช่น อายุ 45 ปีขึ้นไปมักมีภาวะหลงลืมหรือความจำถดถอยลง ซึ่งคนไข้เหล่านี้จะเสี่ยงในการเป็นอัลไซ
เมอร์หรือไม่นั้น ปัจจุบันการตรวจทางการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีที่ดีขึ้น โดยเราสามารถใช้เครื่องมือตรวจคนไข้กลุ่มนี้ได้ ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นจึงสำคัญมาก เพราะการรักษาในช่วงต้นของอาการสมองเสื่อมจะช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา การแนะนำให้อ่านหนังสือ การเล่นเกม และการทำกิจกรรมส่งเสริมเรื่องความจำ โดยวิธีต่าง ๆ เหล่านี้จะทำให้สมองเสื่อมช้าลง
   
การแยกโรคก็ถือว่าสำคัญเช่นกัน โดยแพทย์ต้องวินิจฉัยได้ถูกต้องจึงจะสามารถรักษาได้ตรงจุด เพราะการรักษาโรคสมองเสื่อมแต่ละชนิดนั้นมีการบำบัดรักษาที่แตกต่างกัน เช่น โรคอัลไซเมอร์มีการใช้ยาบำบัดแต่ยังไม่สามารถทำให้หายขาดได้ แค่ช่วยชะลอตัวโรคเท่านั้น ซึ่งตัวยาจะไปเพิ่มสารเคมีตัวหนึ่งในสมองทำให้สมองเสื่อมช้าลง แต่โรคสมองเสื่อมบางอย่างไม่มีการขาดสารเหล่านี้ทำให้การรับประทานยาไม่เกิดประโยชน์ เช่น คนไข้ที่เป็นโรคสมองเสื่อมแบบ FTD จะมีอาการจิตเวชก่อน เช่น อาการซึมเศร้า จึงไปหาจิตแพทย์และรับการรักษาอยู่นาน จนกระทั่งพบว่าไม่ได้เป็นโรคจิตเวช แต่เป็นโรคสมองเสื่อม ซึ่งเราจะเห็นว่าแต่ละโรคจะมีการบริหารจัดการในการรักษาแตกต่างอย่างชัดเจน
   
ปัจจุบันเราจึงมีการใช้เครื่อง PET Scan ช่วยในการตรวจวินิจฉัยภาวะเริ่มต้นของสมองเสื่อมร่วมกับข้อมูลทางคลินิก จากการศึกษาพบว่าช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัยได้สูงถึง 91.5 เปอร์ เซ็นต์เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้แม่นยำเพียง 66 เปอร์เซ็นต์ และกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมแล้ว เครื่อง PET Scan จะช่วยในการแยกชนิดของโรคได้ว่าเป็นชนิดใด เพราะการรู้ชนิดของโรคจะทำให้ทราบว่าควรให้การรักษาอย่างไร หลักการของ PET Scan จะให้ข้อมูลเป็นภาพถ่ายที่ไม่เหมือนกับ MRI เพราะ MRI จะบอกแต่โครงสร้าง แต่ PET Scan จะบ่งบอกถึงการทำงานของเซลล์สมอง โดยสามารถวัดการทำงานของเซลล์สมองได้ด้วยการฉีดสารที่ไม่มีอันตรายต่อมนุษย์เข้าไปและสามารถดูการเปลี่ยน แปลงของเซลล์ในสมองได้ ซึ่งในส่วนที่มีความผิดปกติจะจับหรือใช้สารกลูโคสน้อยลง จากนั้นประมวลออกมาเป็นภาพการทำงานของเซลล์สมองในร่างกาย
   
ดังนั้นหากเรารู้จักสังเกตอาการภาวะสมองที่ถดถอยลง ได้แก่ ความจำไม่เหมือนเดิม มีพฤติกรรมหรืออารมณ์เปลี่ยน แปลงไป เช่น เคยเป็นคนสุภาพเรียบร้อยก็กลายเป็นคนโกรธง่าย หรือบางคนมีพฤติกรรมซ้ำ ๆ หรือบางคนก็เก็บตัว ไม่นอนกลางคืน หรืออาการที่พบบ่อยในระยะแรกเริ่ม ได้แก่ มีปัญหาด้านการเรียนรู้ ใครบอกอะไรแล้วไม่จำ ซึ่งแต่ก่อนไม่เป็น มีความลำบากในการใช้ภาษา นึกชื่อสิ่งของไม่ออกว่าชื่ออะไร มีปัญหาเรื่องความจำ จำเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันไม่ค่อยได้ และอาการเหล่านี้เป็นมากขึ้นต่อเนื่องหรือบ่อยขึ้น ควรรีบมาตรวจเพื่อพบเจอรอยโรคก่อนนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องช่วยชะลออาการ
   
นอกจากการตรวจที่ทันท่วงทีแล้วการป้องกันถือว่าเป็นวิธีที่ดีมากที่เราต้องระวังปัจจัยเสี่ยง เช่น หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง หวาน มัน เค็ม เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด พยายามออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงความเครียด ตรวจวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี ระวังเรื่องการใช้ยา ระวังอุบัติเหตุโดยเฉพาะที่ศีรษะ ทำกิจกรรมที่มีการฝึกสมอง เช่น อ่านหนังสือ การเล่นต่อคำ การเล่นไพ่ตอง การเล่นดนตรี การร้องเพลง เต้นรำ และสุดท้ายหากใครเริ่มมีอาการหลงลืมมากผิดปกติ หรือมีญาติผู้ใหญ่ที่ต้องสงสัยควรรีบพามาพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาได้ทันท่วงที.

สรรหามาบอก

-กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดงาน ’ประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4“ ใน วันที่ 17-19 สิงหาคม 2554 เวลา 09.00-20.00 น. ณ ฮอลล์ 9 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี เชิญชวนประชาชนผู้สนใจร่วมงานและชมนิทรรศการความรู้ต่าง ๆ รวมทั้งบริการตรวจสุขภาพฟรี เช่น สุขภาพช่องปาก ไขมันในร่างกาย คัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจวัดสายตาและตัดแว่น ฯลฯ สนใจลงทะเบียนล่วงหน้าหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร.0-2590-4153, 0-2590-4157
   
-โรงพยาบาลปิยะเวท ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมงาน ’The Eye Story ครบเครื่องเรื่องตา“ ในวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2554 ตั้งแต่เวลา 09.00–14.00 น. ณ โรงพยาบาลปิยะเวท ภายในงานมีบริการตรวจวัดสายตา วัดจอประสาทตา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และขอเชิญชวนร่วมบริจาคแว่นตาที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อนำไปมอบให้กับเด็กนักเรียนผู้ยากไร้ที่มีความบกพร่องทางสายตากับโครงการ ’แบ่งปันแว่น“ ของมูลนิธิโรงพยาบาลปิยะเวท สนใจโทร. 0-2625-6555
   
-โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ขอเชิญคุณผู้หญิงที่มีภาวะความเสี่ยงกระดูกพรุนหรือมีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปเข้ารับการตรวจวัดความหนาแน่นมวลกระดูกเบื้องต้นได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตั้งแต่วันที่ 19-20 สิงหาคม 2554 เวลา 10.00-18.00 น. ณ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช สอบถาม โทร. 0-2686-2828

เคล็ดลับสุขภาพดี : วิธีดูแลกระดูกสันหลังให้แข็งแรง...มีอายุยืนยาว   

โรคกระดูก นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่บั่นทอนสุขภาพ โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลังเพราะมีความสำคัญต่อระบบโครงสร้างร่างกาย หากมีความผิดปกติจะทำให้เกิดการเจ็บปวด เช่น ปวดหลัง ปวดคอ สร้างความทุกข์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
   
ดร.โจเซฟ ซูเร็ตต์ ไคโรแพรคเตอร์ ชาวสหรัฐอเมริกา ประจำสถาบันพัฒนาโครงสร้างดีสปายน์ ให้ความรู้ว่า กระดูกสันหลังของคนเราจะมีจำนวน 33 ชิ้น แบ่งเป็น 5 ส่วน หากการทำงานของกระดูกสันหลังส่วนใดส่วนหนึ่งคลาดเคลื่อน บิดตัว จะเกิดอาการปวดต่าง ๆ ได้ เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเอว ปวดไหล่ จึงต้องได้รับการรักษา แต่การป้องกันดูแลกระดูกสันหลังให้แข็งแรงจะเป็นวิธีที่ดีกว่า
   
โดยวิธีดูแลรักษาทำได้โดย

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน ท่านอนที่ดีที่สุดคือ นอนหงาย เพราะเป็นการรองรับกระดูกสันหลังได้เป็นอย่างดี ไม่ควรนอนคว่ำ เพราะเราต้องบิดลำคอไปด้านใดด้านหนึ่งทำให้กระดูกสันหลังบริเวณคอเกิดความตึง อาจทำให้เกิดอาการล็อกหรือเรียกว่า คอตกหมอน หากเป็นเช่นนี้เวลานานจะทำให้ข้อกระดูกกดทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดคอ ปวดศีรษะ และข้อต่อกระดูกเสื่อมเร็ว 

2. การนั่งควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีส่วนพนักพิงข้างหลัง หลังตรง ข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา เท้าสัมผัสกับพื้น ลุกขึ้นและผ่อนคลายบ่อย ๆ

3. การยกของแต่ละครั้งควรพยายามให้หลังโค้งตามธรรมชาติอยู่เสมอ โดยวิธีการที่ดีและช่วยป้องกันไม่ให้ปวดหลังคือ การยกตะโพกและงอเข่าช่วยทุกครั้งเมื่อยกของหนัก
   
4. ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่มีสารเคมี เช่น ผงชูรส ยาฆ่าแมลง ควรรับประทานอาหารที่มี Probiotics และ Prebiotics จะช่วยทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดที่จำเป็นและมีความสำคัญต่อกระดูก แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียมและสังกะสี โดยอาหารที่มี Prebiotics พบมากในหัวหอม กล้วย กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง มะเขือเทศ ข้าวสาลี น้ำผึ้ง ส่วน Prebiotics ได้แก่ ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว โยเกิร์ต
   
นอกจากนี้ควรสัมผัสกับแสงแดดในตอนเช้าประมาณ 20 นาทีต่อวันเพราะวิตามินดีจากแสงอาทิตย์จะช่วยเสริมสร้างกระดูก ควรดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำทุกวันโดยเฉพาะช่วงเช้าเวลาตื่นนอนจะช่วยทำให้เซลล์ในร่างกายคงรูปทำงานได้ดีสามารถนำอาหารไปเลี้ยงกล้ามเนื้อต่าง ๆ ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของกล้ามเนื้อ กระดูก และช่วยหล่อไขข้อต่าง ๆ ของร่างกาย ที่สำคัญควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยบริหารกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นก่อนเล่นเพื่อป้องกันการฉีกขาดของกล้ามเนื้อ.

ทีมวาไรตี้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน