ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ตาบอดจากเชื้ออะแคนทะมีบา

ตาบอดจากเชื้ออะแคนทะมีบา

 

ตาบอดจากเชื้ออะแคนทะมีบา

ข้อมูลสื่อ
File Name :
368-012
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม :
368
เดือน-ปี :
12/2552
นักเขียนหมอชาวบ้าน :
พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์

ถาม :  มนัส/กรุงเทพฯ
ปัจจุบันอายุ 40 ปี เป็นสถาปนิก สายตาสั้น 600 กว่า มีความคิดที่จะใส่คอนแทกเลนส์ แต่ก็ติดปัญหาการทำงานและการเดินทางที่จะต้องสัมผัสกับฝุ่นละอองจำนวนมากทุกวัน

เคยปรึกษากับร้านตัดแว่นที่คุ้นเคยกัน บอกว่าถ้าใส่คอนแทกเลนส์แล้วจะต้องสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองมากๆ อาจเสี่ยงตาบอดจากเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่แน่ใจว่าชื่ออะไร ต้องการทราบว่ามีเชื้อโรคอะไรที่เกี่ยวข้องกับคอนแทกเลนส์และทำให้ตาบอด

 

ตอบ : พญ.พนิดา โกสียรักษ์วงศ์
คอนแทกเลนส์เป็นอุปกรณ์ช่วยแก้ไขปัญหาสายตาสั้น อีกทั้งเหมาะสำหรับบางกลุ่มอาชีพที่ไม่สะดวกใส่แว่นตา แต่ใส่คอนแทกเลนส์ช่วยได้ ซึ่งถือเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง... ข้อเสียก็มีเหมือนกัน

กรณีของคุณเป็นสถาปนิก นอกจากนั่งทำงานในห้องแอร์แล้ว ยังมีช่วงเวลาที่จะต้องออกไปดูสถานที่ก่อสร้างจริง ปกคลุมด้วยฝุ่นละอองจำนวนมากย่อมส่งผลกับการใส่คอนแทกเลนส์อย่างแน่นอน และถ้าไม่รำคาญจนเกินไปการใส่แว่นน่าจะปลอดภัยมากกว่า

การใส่คอนแทกเลนส์ของบางคนก็อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ กรณีของเชื้ออะแคนทะมีบา ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เชื้อตัวนี้ทนอยู่ได้นานในสิ่งแวดล้อมทุกรูปแบบ และมีฤทธิ์ทำลายดวงตาได้ ดังนั้น ผู้ที่ใส่คอนแทกเลนส์จะต้องระมัดระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะเชื้อตัวนี้เป็นสาเหตุสำคัญของกระจกตาอักเสบ หากติดเชื้อจะทำให้ปวดตามาก สู้แสงไม่ได้ กระจกตาขุ่น ฝ้า เกิดแผลอักเสบที่กระจกตา การรักษาต้องให้จักษุแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดก่อนใช้ยาฆ่าเชื้อหยอดตาที่แพทย์จัดให้ โดยต้องหยอดตาบ่อยๆ เป็นเวลานานหลายเดือนหรือเป็นปี พร้อมเฝ้าติดตามดูอาการอย่างต่อเนื่อง

บางคนดวงตาไม่ตอบสนองต่อยาหยอดตา เชื้ออาจลุกลามไปทั่วกระจกตา มีอาการอักเสบมาก จักษุแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาให้ แต่ก็สามารถกลับมามีเชื้อชนิดนี้ได้อีก เนื่องจากนำกระจกตาส่วนที่มีรอยโรคออก แต่ส่วนที่ดูว่าใสยังอาจมีเชื้ออยู่

ผู้ที่ใส่คอนแทกเลนส์จะต้องระมัดระวังและทำความสะอาดล้างคอนแทกเลนส์ให้ถูกวิธี เพราะมีโอกาสที่เชื้อจะเข้าสู่ดวงตาได้ง่ายมาก ผู้ที่มีอาการเปลือกตาอักเสบ ตาแห้ง เป็นโรคภูมิแพ้ ไม่ควรใส่คอนแทกเลนส์ สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลาทำความสะอาดล้างเลนส์ ไม่แนะนำให้ใส่คอนแทกเลนส์จะปลอดภัยกว่า และถ้าคอนแทกเลนส์หล่นลงพื้นอย่านำมาใช้อีก เพราะเสี่ยงกับการติดเชื้อได้

การดูแลรักษาความสะอาดเลนส์เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เช่นเดียวกับการใส่ ควรศึกษารายละเอียดและปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์อย่างเคร่งครัด มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนจากการใส่คอนแทกเลนส์ได้ ฉะนั้นก่อนตัดสินใจใส่คอนแทกเลนส์ จะต้องให้จักษุแพทย์ตรวจตาให้ละเอียด เพื่อหาความผิดปกติหรือความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยให้เลือกชนิดและขนาดของคอนแทกเลนส์ได้เหมาะกับดวงตา

เมื่อคิดจะใส่คอนแทกเลนส์ ก็ต้องรู้วิธีที่จะดูแลรักษาคอนแทกเลนส์ ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด ก่อนทำความสะอาดคอนแทกเลนส์ด้วยน้ำยาล้างคอนแทกเลนส์ และขัดถูคอนแทกเลนส์ทั้ง 2 ด้าน พร้อมขัดถูตลับแช่เลนส์ทุกครั้งก่อนแช่ และเปลี่ยนน้ำยาแช่เลนส์ทุกวัน รุ่งเช้าก่อนใส่คอนแทกเลนส์จะต้องล้างน้ำยาแช่คอนแทกเลนส์ออกด้วยน้ำเกลือสะอาดปราศจากเชื้อแบบขวดเล็กสุดให้หมดขวดในครั้งเดียว ซึ่งจะส่งผลดีกว่าการใช้น้ำเกลือขวดใหญ่แต่มีผลเสียจากเชื้อโรคในอากาศอาจเข้าไปเจริญเติบโตในขวดน้ำเกลือได้

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน