ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
 

อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการซื้อเครื่องจักร ที่มีประสิทธิภาพรวมทั้งเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย ทำให้มีผู้ประกอบการจำนวนไม่มากเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในประเทศไทยจัดเป็นตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีอิทธิพลในการกำหนดทิศทางของตลาด อุตสาหกรรมเครื่องดื่มเป็นอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า จึงมีตลาดส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดการจ้างงานโดยตรงรวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกเป็นจำนวนมาก

โครงสร้างอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม

 

ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานเครื่องดื่มที่จดทะเบียนไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรมประมาณ 168 โรง แบ่งเป็นโรงงานเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 99 โรง หรือร้อยละ 59 และที่เหลืออีก 69 โรง หรือร้อยละ 41 เป็นโรงงานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งโรงงานส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดเล็กคิดเป็นร้อยละ 72 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด รองลงมาเป็นโรงงานขนาดกลางร้อยละ 20 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 8 เป็นโรงงานขนาดใหญ่ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มมีการจ้างงานที่แจ้งไว้ขณะจดทะเบียนโรงงานกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ สิ้นปี 2551 ประมาณ 20,000 คน โดยแรงงานเหล่านี้กระจายอยู่ใน 3 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมเบียร์ สุรากลั่น และน้ำอัดลม ในสัดส่วนใกล้เคียงกันประมาณร้อยละ 25 หรืออุตสาหกรรมละ 5,000 คน และแรงงานที่เหลือกระจายอยู่ในอุตสาหกรรมน้ำดื่มชูกำลัง ไวน์หรือสุราแช่ น้ำหวาน และอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอื่นๆ ในสัดส่วนร้อยละ 5, 3, 2 และ 17 ตามลำดับ

โครงสร้างอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไทย ณ สิ้นปี 2551

 

ที่มา : กรมโรงงาน

สินค้าเครื่องดื่มโดยทั่วไปมักแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สำคัญของไทย อาทิ การผลิตเบียร์ สุรากลั่น ไวน์ สุราจากผลไม้ รวมทั้งเครื่องดื่มสุราผสมพร้อมดื่ม (RTD) ซึ่งเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กำลังมาแรง เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ที่สำคัญของไทย เช่น น้ำอัดลม โซดา น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มเกลือแร่ เป็นต้น







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน