ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




 

ทำไมต้องฝากครรภ์ ?

  

ทำไมต้องฝากครรภ์ ? article

 
   
 
การตั้งครรภ์ และการคลอดเป็นสภาวะเสี่ยงทางสุขภาพอย่างหนึ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา อัตราการตายของแม่และทารกจะสูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วค่อนข้างมาก ซึ่งสาเหตุประการหนึ่งคือขาดการดูแลครรภ์อย่างถูกวิธี ดังนั้นการใช้เวลาไม่มากนักไปฝากครรภ์และได้รับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า
เพื่อให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดีจนกระทั่งคลอดและได้ทารกที่มีสุขภาพสมบูรณ์ หญิงมีครรภ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ ทั้งนี้เพราะความผิดปกติบางอย่างของแม่และทารก เช่น ความผิดปกติของรกหรือความพิการของเด็ก อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตและการมีชีวิตของทารกในครรภ์ โรคบางอย่างของแม่สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ไปสู่ลูก โรคบางอย่างถ่ายทอดทางกระแสเลือด โรคบางอย่างทำให้แม่มีอันตรายเมื่อมีการตั้งครรภ์ และโรคหรือสภาวะบางอย่างมีผลต่อการคลอด เช่น ทำให้คลอดลำบาก หรือเกิดการติดเชื้อระหว่างคลอด

การทราบล่วงหน้าว่ามารดาหรือทารกมีความเสี่ยงด้านสุขภาพจะทำให้แพทย์สามารถแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม เช่น การดูแลครรภ์อย่างใกล้ชิด กำหนดวิธีคลอด และระยะเวลาที่จะคลอด รวมทั้งการดูแลหลังคลอด ตัวอย่างแม่ที่อายุมาก มีโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ก็อาจต้องตรวจหาความผิดปกติของทารก ถ้าทารกมีขนาดใหญ่มากหรือแม่มีเชิงกรานแคบ อาจต้องวางแผนทำการผ่าตัดคลอด ถ้าเลือดแม่กับลูกเข้ากันไม่ได้ ก็ต้องเตรียมการถ่ายเลือดภายหลังคลอด เป็นต้น

หญิงมีครรภ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนด้านโภชนาการ การใช้ยาต่างๆ เพศสัมพันธ์ การเตรียมตัวสำหรับการคลอด และการให้นมบุตร รวมทั้งการวางแผนครอบครัวหลังจากคลอดบุตรแล้ว นอกจากนั้นยังต้องรู้จักสังเกตความผิดปกติของการตั้งครรภ์และอาการเจ็บครรภ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หญิงมีครรภ์จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลเมื่อมาฝากครรภ์


การตรวจสุขภาพของมารดาและทารกเมื่อได้รับการฝากครรภ์

เมื่อหญิงมีครรภ์มาฝากครรภ์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น แพทย์จะซักประวัติการขาดประจำเดือน โรคประจำตัวต่างๆ การตั้งครรภ์และการคลอดในอดีตตลอดจนสภาวะของทารกในครรภ์ก่อนๆ เพื่อวินิจฉัยว่ามีการตั้งครรภ์และค้นหาสภาวะที่ต้องระวังสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งนี้

การตรวจร่างกายโดยละเอียดจะทำให้แพทย์ทราบถึงสุขภาพของหญิงมีครรภ์ การตรวจขนาดของมดลูกจะสามารถบอกสภาวะของเด็ก เช่น ถ้ามดลูกเล็กกว่าที่ควรอาจเป็นเพราะเด็กไม่สมบูรณ์หรือพิการ แต่ถ้ามดลูกใหญ่อาจเป็นเพราะเด็กตัวใหญ่เกินไป เป็นเด็กแฝด หรือมีปริมาณน้ำคร่ำมากผิดปกติ

นอกจากนั้นการตรวจครรภ์ยังสามารถบอกท่าของเด็กที่อยู่ในครรภ์ และการฟังเสียงหัวใจเด็ก ซึ่งจะช่วยบอกว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่หรือไม่

การตรวจทางห้องปฏิบัติการบางอย่างจำเป็นต้องทำเมื่อมีการตั้งครรภ์ เช่น การตรวจปัสสาวะเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ตรวจความเข้มข้นของเลือด เพราะทารกต้องใช้ธาตุเหล็กจากแม่เพื่อการสร้างเลือด จึงอาจทำให้แม่มีสภาวะโลหิตจางได้ และการตรวจปริมาณโปรตีน ที่เรียกว่า อัลบูมิน (Albumin) ในปัสสาวะเพื่อค้นหาความผิดปกติของไตหรือสภาวะครรภ์เป็นพิษ (pre-eclampsia)

การตรวจน้ำเหลืองเพื่อดูภูมิคุ้มกันต่อเชื้อซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และเอชไอวี ก็มีความจำเป็น ซึ่งถ้าเป็นบวกแพทย์จะต้องวางแผนป้องกันการถ่ายทอดโรคจากมารดาไปสู่ทารก

บางกรณีอาจต้องมีการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัตราซาวนด์) เพื่อดูอายุครรภ์ที่แน่นอน ดูความผิดปกติของทารก เช่น ความพิการต่างๆ รวมทั้งการเต้นของหัวใจ


การเฝ้าติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์

การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์สามารถประเมินได้จากขนาดของมดลูกที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับอายุครรภ์และน้ำหนักของแม่ที่เพิ่มขึ้น

สามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ มดลูกจะอยู่ในอุ้งเชิงกราน เมื่ออายุครรภ์ครบห้าเดือน ยอดมดลูกอยู่ที่ระดับสะดือ และอยู่เกือบถึงลิ้นปี่เมื่อครรภ์ครบกำหนด ส่วนน้ำหนักของแม่ในสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เพราะหญิงมีครรภ์มักมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและรับประทานอาหารได้น้อย หลังจากนั้นน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับประมาณเดือนละ 1-1.5 กิโลกรัม โดยตลอด

การตั้งครรภ์ น้ำหนักของแม่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม ทั้งนี้เป็นส่วนของเด็ก รก และน้ำคร่ำประมาณ 5 กิโลกรัม เป็นส่วนของมดลูกและส่วนอื่นของแม่อีก 7 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหนักของแม่เพิ่มน้อย หยุดเพิ่ม หรือน้ำหนักลดลง รวมทั้งยอดมดลูกไม่สูงขึ้น อาจแสดงถึงความผิดปกติของทารกในครรภ์ เช่น เด็กโตช้าหรือเด็กเสียชีวิตในครรภ์ ซึ่งจะต้องมีการตรวจและเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ส่วนกรณีตรงกันข้ามอาจเกิดจากครรภ์แฝด น้ำคร่ำมากผิดปกติ หรือมีเนื้องอกของมดลูกและรังไข่ ซึ่งจำเป็นต้องวินิจฉัยสาเหตุที่แน่นอนเช่นกัน


สิ่งที่หญิงมีครรภ์ควรสังเกตและระมัดระวัง

  • ยา หลายชนิดมีอันตรายต่อทารกในครรภ์ ทำให้เกิดความพิการชนิดต่างๆ การเจริญเติบโตช้า หรือสมองเสื่อม ดังนั้นการใช้ยาขณะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนแรกควรปรึกษาแพทย์ก่อน


  • บุหรี่ ทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อย แม่จึงควรหยุดสูบบุหรี่เมื่อตั้งครรภ์ สุรา ก็ทำให้เด็กซึมและดิ้นน้อยลง จึงอาจมองข้ามความผิดปกติอย่างอื่นของเด็ก


  • การดิ้น แสดงถึงความแข็งแรงของทารก ถ้าทารกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น ต้องรีบไปพบแพทย์


  • การบวม โดยเฉพาะการบวมทั้งตัว มักแสดงถึงพยาธิสภาพของไตหรือภาวะครรภ์เป็นพิษ จึงควรมารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด ถ้ามีสภาวะครรภ์เป็นพิษต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ


  • น้ำเดิน เกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตก ซึ่งควรจะมีลักษณะเป็นน้ำใสๆ ไม่ใช่มูก ถ้ามีน้ำเดินและยังไม่มีการเจ็บครรภ์ภายใน 24 ชั่วโมง ควรพบแพทย์เพื่อดูแลรักษาในโรงพยาบาล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อในแม่และทารก หรือทารกเสียชีวิตได้


  • อาการเลือดออกเล็กน้อย โดยเฉพาะที่มีมูกปน มักเป็นอาการนำของการเจ็บครรภ์คลอด แต่ถ้าเลือดออกมาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงครรภ์ก่อนครบกำหนดหรือครบกำหนดแล้ว และจะร่วมกับการเจ็บครรภ์หรือไม่ก็ตาม ต้องรีบมาพบแพทย์เพราะอาการดังกล่าวอาจเกิดจากสภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด ซึ่งเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตของแม่และทารก
ในเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ หญิงบางคนจะมีอาการเจ็บครรภ์เพราะมดลูกรัดตัว แต่ไม่สม่ำเสมอ และอาการปวดมักจะอยู่บริเวณท้องน้อยหรือขาหนีบ อาการเจ็บครรภ์แบบนี้เรียกว่าเจ็บเตือน ซึ่งจะหายไปเมื่อได้หลับพักผ่อน แต่ถ้าอาการเจ็บเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบไปโรงพยาบาล เพราะกระบวนการคลอดได้เริ่มขึ้นแล้ว




« Back


แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน