ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เมื่อลูกพูดช้า จะทำอย่างไร

เมื่อลูกพูดช้า จะทำอย่างไร
 
 


คุณพ่อคุณแม่หลายคนค่อนข้างที่จะหนักใจในการที่ลูกพูดช้า ในขณะที่เด็กคนอื่นที่อายุใกล้เคียงกัน หรือเท่ากันกับลูก พูดไปได้มากแล้ว พ่อแม่ที่ประสบปัญหานี้ก็มักจะปรึกษากับเพื่อน ญาติพี่น้อง ว่าเด็กเป็น “เด็กปากหนัก” จะมีผลเสียอย่างไรแล้วจะทำอย่างไรดี

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าใจกับพัฒนาการทางภาษาของเด็ก เราไม่สามารถระบุเจาะจงอายุของเด็กที่แน่นอนว่าเด็กควรพูดได้เมื่ออายุเท่าใด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะพบวาเด็กที่พูดช้าบางคนอาจอยู่ในกลุ่ม “ปากหนัก” แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะสังเกต

ปัจจัยที่บ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านภาษาดังนี้

1 การใช้ภาษาท่าทาง เช่น การชี้บอกความต้องการ การพยักหน้า ส่ายหน้า การชูแขนสองข้างขึ้นเพื่อให้อุ้ม จากการศึกษาพบว่า เด็กที่ยังไม่พูดแต่สามารถสื่อสารโดยใช้ภาษาท่าทางจะสามารถพัฒนาภาษาพูดได้ทันเพื่อนในวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่พูดช้าและได้รับการสอนให้สื่อสารโดยไม่ใช้คำพูดสามารถมีพัฒนาการของการพูดได้ดี

2 อายุที่ได้รับการวินิจฉัย ในรายที่มารับการตรวจวินิจฉัยและบำบัดรักษา เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีพัฒนาการที่ดีน้อยกว่าเด็กที่มาตั้งแต่อายุยังน้อย รวมทั้งเด็กในช่วงอายุ 2 ปี – 2 ปี 6 เดือน ที่มีอัตราการเพิ่มของพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าเด็กอื่นพบว่าจะมีพัฒนาการตามหลังเพื่อนในวัยเดียวกัน

3 ความเข้าใจภาษา การที่เด็กแสดงลักษณะที่ว่าเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด เช่นการทำตามคำสั่งได้ การชี้อวัยวะเมื่อถูกถาม การเข้าใจเมื่อถูกห้าม การหันหาเสียงเรียกชื่อ โดยส่วนใหญ่แล้วเด็กควรเข้าใจภาษาก่อนที่จะพูด และสื่อสารกับผู้อื่นได้ ซึ่งมีการศึกษาติดตามเด็กที่ “ปากหนัก” พบว่า เมื่อติดตามเด็กจะมีความเข้าใจภาษาอยู่ในเกณฑ์ปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีปัญหาล่าช้าในการพัฒนาทางด้านภาษา

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำเมื่อพบว่าลูกมีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคาดเดาเอาว่าลูกเหมือนเด็กคนอื่นและจะพูดได้ในที่สุด แต่ควรไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น กุมารแพทย์ด้านพัฒนาการพฤติกรรม เพื่อได้รับการประเมินด้านพัฒนาความเข้าใจภาษาและการพูด และหากมีข้อบ่งชี้ลูกอาจต้องได้รับการประเมินการได้ยิน เมื่อได้ผลต่างๆเรียบร้อยแล้ว กุมารแพทย์จะวินิจฉัยและวางแผนให้การช่วยเหลือซึ่งแตกต่างกันตามความรุนแรงของปัญหา

1 ในรายที่ไม่รุนแรง กุมารแพทย์อาจให้คุณแม่เป็นผู้ฝึกกระตุ้นพัฒนาการแก่ลูกเอง โดยมีคู่มือแนะนำประกอบ และนัดมาตรวจติดตามเป็นระยะๆ

2 ในรายที่รุนแรงปานกลาง กุมารแพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมกับอรรถบำบัด เพื่อให้ประเมินเพิ่มเติมกับรับแผนการบำบัดนำกลับไปฝึกที่บ้านร่วมกับการฝึกกับนักอรรถบำบัด และนัดมาตรวจติดตามเป็นระยะๆ

3 ในรายที่รุนแรง หรือมีปัญหาอื่นรวมด้วย กุมารแพทย์จะส่งลูกไปฝึกกับนักอรรถบำบัด รวมทั้งอาจต้องพบนักวิชาชีพอื่นตามความต้องการของเด็กแต่ละคน และนัดตรวจติดตามพัฒนาการเป็นระยะๆ

 

หากคุณพ่อคุณแม่คนใดเมื่อประสบปัญหาลูกพูดช้า คงพอทราบแนวทางในการดูแลลูกแทนที่จะรอจนลูกพูดได้ หรือเมื่อลูกพูดไม่ได้แล้วค่อยมาปรึกษากุมารแพทย์ซึ่งอาจจะล่าช้าเกินไป



ขอบคุณ : thaieditorial.com




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน