ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 วันเข้าพรรษา วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

 

วันเข้าพรรษา กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา

        1. ปุริมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาต้น ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม

        2. ปัจฉิมพรรษา คือ วันเข้าพรรษาหลัง สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง หรือราวเดือนกรกฎาคม และจะออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ราวเดือนตุลาคม ความหมายของวันเข้าพรรษา คือ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนมีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า "จำพรรษา"

        "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์

        เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา 

        การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตน ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส

       ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลาน ของตนโดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

       กิจกรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา

      ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา

      ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร

      ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล

      ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ

      ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

      1. เป็นช่วงที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา หากภิกษุสงฆ์เดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ อาจไปเหยียบต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้ได้รับความเสียหายล้มตาย

      2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน พระภิกษุสงฆ์จะได้หยุดพักผ่อน

      3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน เมื่อถึงวันออกพรรษา

      4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

      5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตรหล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา




พุทธองค์ แสดงธรรม 84000 ข้อ พระธรรม คือคำสั่งสอนพุทธองค์ พระสงค์นำหลักธรรม เผยแพร่ต่อมวลมนุษย์

รวมคติธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า article
คน10ประเภทนี้เจอเมื่อไหร่หนีให้ไกล ไม่ควรแม้แต่จะรู้จัก article
อยากมีสุขภาพจิตที่ดี สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง.. article
เคยสงสัยไหมว่าเราเกิดมาทำไม...อยู่ไปเพื่ออะไร article
นั่งสมาธิเเล้วเกิดการเจ็บปวด มันมาจากไหนควรเเก้อย่างไร article
ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อได มันจึงรู้เท่าสิ่งทั้งปวงในโลกอันนี้ article
ผู้ใดมีสัจมีศีล..ได้ชื่อว่าเป็นผู้หมดกรรมหมดเวร article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่2] article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่1] article
ข้อดีของความทุกข์..เวลามีเรื่องไม่ดี มักมีข้อดีซ่อนอยู่ article
ปาฏิหาริย์เกิดได้ทุกนาที สิ่งเดียวนั่น คือการตื่นรู้ทุกลมหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอนให้ปกติ article
ความโลภไม่อาจนำพามนุษย์ ไปสู่ความสำเร็จ article
คนมีสติ เหมือนมีสิ่งนำโชค ให้พบเจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต article
ถ้าเราทุกข์เพราะความรักก็ต้องมาแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ หรือตัวปัญหานั้น คือฉัน หรือ เรา article
ธรรมโอวาท ของ พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร article
การทำจิตให้สงบ โดย หลวงปู่ชา สุภัทโท article
สัจธรรมของความจริง article
ขันธ์ทั้ง 5 คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวง article
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (แก่นธรรม) article
นิพพานของพระพุทธเจ้า article
ทางพ้นทุกข์ จิตเห็นผิดเป็นถูกไปเพราะกรรมบังจิต จิตเห็นผิดเป็นถูกก็จะทำความดีได้ยาก article
มีรักและมีชังมันจึงทุกข์ article
ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ใครยึดใครถือไว้ก็หนัก article
การบวชที่ทดแทนคุณบุพการีได้จริง article
เผลอทำผิดศีลเข้า ถ้าไม่ตั้งใจจะผิดศีลไหม article
ทางโลก กับ ทางธรรม นำชีวิตเราไปคนละทางจริงหรือ? article
สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” article
อะไรคือบุญ การละบาปได้นั่นแหละเป็นบุญ article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 1 article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 2 article
เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม article
ให้แสงแห่งธรรมนำทางชีวิต สู่ความสงบสุข article
ศีลบารมี พระธรรมเทศนา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร article
ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ โดย หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร article
ละความเห็นแก่ตัว article
ความสวยงามที่ไม่สวยงาม ไม่มีอะไรคงอยู่ไปตลอด article
ความสงบมีคุณมาก โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี article
ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการตกผลึกของความรู้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น"หยุดกรรม"ได้จริง article
ธรรมะ คำคม จรรโลงใจ ธรรมะสอนตัวเองระวังตัวเอง ธรรมะไม่ใช่ของขลัง แต่เป็นแนวทางที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ article
คนเราทำบุญเพื่ออะไร ทำไมต้องมีการสะสมแต้มบุญ วิธีสะสมบุญเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 1 article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 2 article
มนุษย์เรามันก็รักสุขเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน1 article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน2 article
เตือนสติได้ดีแท้ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า article
ใจนั้นสำคัญไฉน ทำไมพระธรรมทุกบททุกบาทจึงชี้มาที่ใจ article
เเก้ความทุกข์ที่ปลายเหตุ แก้เท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด article
การสอนคนให้เป็นคนดี (ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า) article
ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจที่เกิดจากความพอต่างหาก article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน