ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู (The Art of War)

ตำราพิชัยสงคราม ซุนวู (The Art of War)

บทที่ 1 การวางแผน

อันการสงครามนั้น เป็นเรื่องใหญ่ของรัฐ คือวิถีแห่งการคงอยู่หรือล่มสลายของประเทศชาติ เกี่ยวพันถึงชีวิตของไพร่พลและราษฎร จะไม่พินิจพิเคราะห์หาได้ไม่ เพราะฉะนั้น เราต้องคำนึงถึงปัญหาพื้นฐานห้าประการเป็นปฐม แล้วเปรียบเทียบสภาพของเรากับข้าศึก เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะในสงคราม ปัญหาพื้นฐานห้าประการ ได้แก่ หนึ่ง มรรค (เต้า), สอง ฟ้า (เทียน), สาม ดิน (ตี้), สี่ แม่ทัพ (เจียง), ห้า กฎ (ฝ่า)

  • มรรค หมายถึง ความเป็นธรรม สิ่งที่ทำให้ราษฎรมีเจตนารมณ์ตรงกับฝ่ายปกครอง ยินดีร่วมเป็นร่วมตายกับฝ่ายปกครองโดยไม่หวั่นเกรงภยันตรายใดๆ
  • ฟ้า หมายถึง ภูมิอากาศ กลางวันกลางคืน ฤดูและความผันแปร
  • ดิน หมายถึง ภูมิประเทศสูงหรือต่ำ ใกล้หรือไกล คับขันหรือราบเรียบ กว้างใหญ่หรือคับแคบ และปิดหรือเปิด (เซิงสื่อ)
  • แม่ทัพ หมายถึง ผู้นำเหล่าทัพซึ่งเปี่ยมด้วยสติปัญญา รักษาสัจจะวาจา มีเมตตาธรรม มีความกล้าหาญ และเคร่งครัดเที่ยงธรรม
  • กฎ หมายถึง ระเบียบวินัยของกองทัพ

ระบบการจัดอัตรากำลังพล และระบบจัดสรรหาอาวุธยุทโธปกรณ์ ปัญหาห้าประการนี้ แม่ทัพนายกองจะมีผู้ใดมิรู้ก็หาไม่ ทว่าผู้แจ้งรู้เท่านั้นจึงจะชนะ ผู้มิรู้แจ้งย่อมแพ้พ่าย จากนั้นจึงเปรียบเทียบสภาพของเรากับข้าศึก เพื่อคาดคะเนผลแพ้ชนะในสงคราม ซึ่งได้แก่

  • ประมุขฝ่ายใดปกครองอย่างเป็นธรรม
  • แม่ทัพฝ่ายใดมีสติปัญญาความสามารถ
  • ดินฟ้าอากาศเอื้อประโยชน์แก่ฝ่ายใด
  • กองทัพฝ่ายใดเคร่งครัดระเบียบวินัย
  • กองทัพฝ่ายใดกล้าแข็ง
  • ไพร่พลฝ่ายใดได้รับการอบรมได้รับการฝึกอบรมที่ดี
  • และกองทัพฝ่ายใดตกรางวัลและลงโทษอย่างเที่ยงธรรม

จากสภาพเหล่านี้ ข้าพเจ้าพอจะคาดได้แล้วว่าฝ่ายใดจักปราชัยหรืออัปราชัยในศึกสงคราม หากแม่ทัพเชื่อฟังข้าพเจ้า วางแผนบนพื้นฐานที่ได้คำนึงถึงปัญหายุทธศาสตร์ข้างต้นแล้ว ย่อมเป็นฝ่ายชนะในศึกสงคราม ก็จงรับไว้ มิเช่นนั้นย่อมจะเป็นฝ่ายแพ้พ่าย ก็จงปลดออก เมื่อมียุทธศาสตร์ที่เหนือกว่า อีกทั้งวางแผนโดยเชื่อฟังข้าพเจ้า ก็จงสร้างภาวการณ์ต้องกุมความเป็นฝ่ายกระทำ พลิกแพลงโดยคำนึงถึงความได้เปรียบเป็นหลัก การทำสงครามคือวิถีแห่งกุศโลบาย มีขีดความสามารถ พึงแสดงว่าไร้ความสามารถ

  • จะทำสงคราม พึงแสดงว่าไม่คิดทำสงคราม
  • จะตีใกล้ พึงแสดงว่าจะตีไกล
  • ข้าศึกละโมบ พึงล่อหลอกด้วยผลประโยชน์
  • ข้าศึกปั่นป่วน พึงตีหัก
  • ข้าศึกมีกำลังมาก พึงเตรียมพร้อมเสมอ
  • ข้าศึกเข้มแข็ง พึงหลีกเลี่ยง
  • ข้าศึกฮึกหาญ พึงทำลายขวัญสู้รบ
  • ข้าศึกสุขุมเยือกเย็น พึงยั่วให้ขาดสติ
  • ข้าศึกสุขสบาย พึงรังควาญให้อ่อนเปลี้ย
  • ข้าศึกสามัคคีกัน พึงยุแยก
  • พึงโจมตีในขณะที่ข้าศึกไม่ได้เตรียมพร้อม และจู่โจมในขณะที่ข้าศึกไม่คาดฝัน

ทั้งหมดนี้ คือ เคล็ดลับแห่งชัยชนะของนักพิชัยสงครามซึ่งสุดวิสัยที่จะสาธยายให้แจ้งชัดเจนล่วงหน้า หากชนะก่อนรบ แสดงว่าได้วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว หากไม่ชนะก่อนรบ แสดงว่ามิได้วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบเท่าที่ควร

วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ ย่อมชนะ ไม่วางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ ย่อมแพ้พ่าย ไยต้องกล่าวถึงการไม่วางแผนอีกเล่า ข้าพเจ้าพิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ เหล่านี้ก็ประจักษ์แจ้งถึงความปราชัย และอัปราชัยล่วงหน้า




นานาสารคดี

สงครามโลกครั้งที่ ๒
สารคดี สงคราม เวียดนาม1
15 นาทีสารคดีโลก บันไดเลื่อน
สามก๊ก ฉบับนักบริหาร
สุดยอด ประหารสายลับเยอรมัน
สงคราม นานกิง ( Nanking ) ญี่ปุ่น ฆ่า ล้างเผ่าพันธ์ชาวจีน และ เกาหลี 3
สงครามกลางเมืองลาว
ถกกลยุทธ์ซุนวู รู้ทันเกมธูรกิจ (1/6)
พม่า แดนแห่งความกลัว 1/6
เจียงไคเชค 1/5
ปฏิวัติฝรั่งเศส 1/10
ข้อคิดคำคม จาก ขงเบ้ง
สามก๊ก article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน