ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




พุทธอนาคิสต์

พุทธอนาคิสต์

 

แกรี่ สไนเดอร์ เขียน, วิจักขณ์ พานิช แปล

 

 

 

หมายเหตุ บทความชิ้นนี้เขียนโดย แกรี่ สไนเดอร์ กวีชาวอเมริกัน ในปี ค.ศ. 1961 และถูกกล่าวถึงในฐานะงานเขียนชิ้นแรกๆ ที่แสดงออกซึ่งแนวคิดที่ต่อมาได้พัฒนาเป็น "Engaged Buddhism" ("พุทธผูกพัน" หรือ "พุทธไม่ลอยนวล")


คำสอนพุทธศาสนาโอบอุ้มสรรพสิ่งในสากลจักรวาล และสรรพชีวิตในนั้นต่างก็มีธรรมชาติภายในอันสมบูรณ์ด้วยปัญญา ความรัก และความกรุณา โต้ตอบสัมพันธ์ และพึ่งพาอาศัยกันตามธรรมชาติ  อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นของพุทธศาสนา การตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่ว่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อ และถูกทำให้มีขึ้นด้วย "ตัวเรา"  ไม่มีทางที่เราจะเข้าถึงธรรมชาตินั้นได้อย่างแท้จริงเลย ตราบใดที่เรายังไม่เรียนรู้ที่จะปล่อยวางจากตัวตน


ในทัศนะของพุทธศาสนา สิ่งที่กั้นขวางการเผยของธรรมชาติที่ว่านี้ คือ อวิชชา (ความไม่รู้) ซึ่งแสดงออกมาในรูปความกลัว และความอยากอันไม่มีที่สิ้นสุด  ในทางประวัติศาสตร์ นักพุทธปรัชญาไม่อาจวิเคราะห์ถึงขีดขั้นที่อวิชชาหรือทุกข์ถูกทำให้เกิดขึ้นหรือถูกส่งเสริมโดยปัจจัยทางสังคมได้ ด้วยเหตุที่ว่าความกลัวหรือความอยากนั้นถือเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วๆ ไปของความเป็นมนุษย์  นั่นได้ทำให้พุทธปรัชญามักมุ่งความสนใจไปที่ ญาณวิทยา และ "จิตวิทยา" โดยปราศจากการให้ความสนใจไปที่ปมปัญหาทางประวัติศาสตร์หรือทางสังคมแต่อย่างใด  แม้ว่าพุทธศาสนามหายานจะมีวิสัยทัศน์ที่กว้างออกไปสู่การปลดปล่อยสรรพสัตว์ทั้งมวล ทว่าความสำเร็จจริงๆของพุทธศาสนาคือพัฒนาการของระบบการปฏิบัติภาวนา อันนำไปสู่เป้าหมายของการปลดปล่อยปัจเจกบุคคลเพียงหยิบมือที่พร้อมจะอุทิศตนฝึกฝนปฏิบัติจนหลุดพ้นเป็นอิสระจากบ่วงรัดรึงทางจิตหรือเงื่อนไขทางวัฒนธรรมต่างๆ เท่านั้น   ส่วนพุทธศาสนาแบบสถาบันนั้นกลับพร้อมที่จะยอมรับหรือปฏิเสธความเหลื่อมล้ำและอำนาจกดขี่ของระบบการเมืองใดๆ ก็ตามที่มีอยู่ในวัฒนธรรมนั้น   นี่อาจหมายถึงความตายที่ใกล้พุทธศาสนาเข้ามาแล้วทุกทีท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมสมัยใหม่ นับเป็นความตายต่อการทำหน้าที่อันเปี่ยมความหมายของความกรุณา ซึ่งปัญญาโดยปราศจากกรุณานั้นไม่อาจรู้สึกถึงความทุกข์ใดๆได้


ทุกวันนี้ไม่มีใครสามารถจะแสร้งทำเป็นไร้เดียงสา หรือปิดตัวเองอยู่ในความไม่รู้ต่อความเป็นไปของอำนาจรัฐ การเมือง และกรอบศีลธรรมทางสังคมได้อีกต่อไป  ระบบการเมืองท่ามกลางกระแสโลกสมัยใหม่รักษาการมีอยู่ของมันได้ ก็ด้วยการส่งเสริมความอยากและความกลัว อันเปรียบได้กับกลไกป้องกันตัวเองอันมหึมา  "โลกอิสระ" กลับกลายเป็นต้องพึ่งพิงทางเศรษฐกิจบนระบบดูดีที่ถูกกระตุ้นด้วยความโลภที่ไม่มีวันพอ ความต้องการทางเพศที่ไม่มีวันถึงจุดที่พอใจ และความเกลียดชังที่ไม่มีที่ทางให้ปลดปล่อย เว้นจะกระทำต่อตัวเอง ต่อคนใกล้ชิดที่เราควรจะให้ความรัก หรือต่อประเทศหรือกลุ่มคนที่กำลังต่อสู้เพื่อเรียกร้องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมที่เท่าเทียม


สภาวการณ์ของสงครามเย็นได้เปลี่ยนแปลงสังคมสมัยใหม่ทั้งหมด (รวมถึงสังคมคอมมิวนิสต์ด้วย) ไปสู่ความเป็นผู้บิดเบือนที่ชั่วร้ายต่อศักยภาพของมนุษย์ที่แท้จริง  มันได้สร้างประชากร "เปรต" มากมาย  ภูตผีที่หิวโหย พุงกาง และปากเท่ารูเข็ม  ผืนดิน ป่าไม้ และสัตว์น้อยใหญ่ถูกกลืนหายไปกับของสะสมก่อมะเร็งทั้งหลาย  อากาศและน้ำของดาวดวงนี้กำลังถูกทำให้ปนเปื้อนโดยสิ่งต่างๆเหล่านั้น  ไม่มีสิ่งใดในธรรมชาติของมนุษย์หรือองค์กรทางสังคมของมนุษย์ ที่โดยตัวมันเองต้องอาศัยเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่ขัดแย้ง กดขี่ และก่อความรุนแรง  งานวิจัยทางมานุษยวิทยาและจิตวิทยาได้มอบหลักฐานที่เด่นชัดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และเราสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวเราเอง จากการค่อยๆมองไปยังธรรมชาติของตัวเราผ่านการภาวนา  ครั้นเราบ่มเพาะศรัทธาและปัญญาในธรรมชาติดังกล่าวมากขึ้น การภาวนาก็จะนำเราให้ลงลึกสู่การตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างถึงราก


การสละสันโดษอย่างเต็มใจและเบิกบานของพุทธศาสนาสรรค์สร้างพลังด้านบวก  ศีลห้ากับการปฏิเสธที่จะทำร้ายหรือพรากชีวิตในทุกรูปแบบสามารถส่งผลสะเทือนต่อประเทศชาติได้  การปฏิบัติภาวนา ซึ่งเราต้องการแค่ "พื้นที่ให้หยัดยืน" ได้ปัดเป่าภูเขาขยะที่ถูกยัดใส่จิตใจโดยสื่อสารมวลชนและมหาวิทยาลัยซูเปอร์มาร์เก็ต  ศรัทธาในมนุษยธรรมที่เอื้อเฟื้อและสงบเย็นด้วยความปรารถนาแห่งรักอันเป็นธรรมชาติ ได้ทำลายอุดมการณ์ซึ่งคอยปิดหู ปิดตา และปิดปากเราอยู่ตลอดเวลา ทั้งยังชี้บอกหนทางสู่รูปแบบของการอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ซึ่งจะทำให้เหล่า "นักศีลธรรม" ทั้งหลายประหลาดใจ และเปลี่ยนแปลงกองทัพแห่งมนุษย์ผู้เลือกที่จะเป็นผู้ฟาดฟัน เพียงเพราะเขาไม่รู้จะเป็นผู้รักหรือผู้ให้ได้อย่างไร


อวตังศกะ (คีกอน) คือพุทธปรัชญาแขนงหนึ่งที่มองโลกในฐานะข่ายแหอันผูกโยง ที่ซึ่งสรรพสิ่งและสรรพชีวิตมีความจำเป็นต่อกันและเปี่ยมความสำคัญในตัวมันเอง  จากมุมหนึ่ง อำนาจรัฐ สงคราม และสิ่งทั้งหลายที่เรามองว่า "ชั่วร้าย" ต่างก็ถูกรวมอยู่ในโลกภาพกว้างทั้งหมดนี้อย่างไม่ประนีประนอมเช่นกัน  เหยี่ยว-การโฉบ-และกระต่ายป่า เป็นหนึ่งเดียวกัน   จากจุดยืนของ "มนุษย์" เราไม่อาจวางใจในโลกทัศน์เช่นนั้นได้ นอกเสียจากสรรพชีวิตจะมองด้วยสายตาอันรู้แจ้งเหมือนๆ กันทั้งหมด  โพธิสัตว์มีชีวิตอยู่โดยอาศัยสายตาของผู้ทนทุกข์ จึงสามารถช่วยเหลือผู้ทนทุกข์เหล่านั้นได้


เมตตาธรรมในโลกตะวันตกอยู่ในรูปของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงทางสังคม ส่วนเมตตาธรรมในโลกตะวันออกอยู่ในรูปของสติปัญญาในปัจเจกบุคคลที่มีต่อตัวตนหรือความว่างพื้นฐาน เราต้องการทั้งสองอย่าง เพราะทั้งสองต่างก็แสดงถึงสามแง่มุมสำคัญของเส้นทางธรรม อันได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา  ปัญญาคือความรู้แจ้งโดยสัญชาตญาณของจิตแห่งความรักและความชัดเจน ซึ่งดำรงอยู่ภายใต้ความสับสนและความก้าวร้าวที่ถูกขับเคลื่อนโดยอัตตา  การภาวนาจะทำให้เราเข้าไปในจิตใจเพื่อมองเห็นสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง ครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งสัญชาตญาณพื้นฐานของจิตใจอันกระจ่างชัดเยี่ยงนั้นคือที่ที่เราจะวางใจอยู่ได้  ศีลจะนำเรากลับมาสู่หนทาง ผ่านแบบอย่างการปฏิบัติและความรับผิดชอบในการกระทำ ซึ่งสูงสุดคือเพื่อชุมชนอันแท้จริง อันหมายถึงสังฆะแห่ง "สรรพชีวิต"


จากแง่มุมสุดท้ายนี้ สำหรับฉันแล้ว หมายถึง การสนับสนุนการปฏิวัติทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมใดๆ ก็ตาม ที่กำลังจะเคลื่อนสังคมไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกอันเป็นอิสระ เชื่อมต่อประสานกัน และเท่าเทียมกันอย่างไร้ชนชั้นวรรณะ มันหมายถึงการใช้วิถีทางอันหลากหลายที่สุด ไม่ว่าจะเป็น อารยะขัดขืน การวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างเปิดเผย การชุมนุมประท้วง สันติวิธี การเป็นอยู่อย่างพอเพียง (ด้วยความพอใจ) หรือแม้กระทั่งการใช้ความรุนแรงที่นุ่มนวล หากนั่นเป็นเรื่องของการระงับยับยั้งพวกหัวรุนแรงที่ไร้เหตุไร้ผล  นั่นหมายถึงการให้พื้นที่อย่างเปิดกว้างที่สุดต่อความหลากหลายของพฤติกรรมปัจเจกบุคคลที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อื่น เช่น ปกป้องสิทธิของปัจเจกบุคคลที่จะสูบกัญชา กินเพโยเต้ มีคู่นอนหลายคน หรือรักร่วมเพศ เพราะนั่นคือโลกอันหลากหลายแห่งพฤติกรรมและวิถีปฏิบัติที่ถูกทำให้เป็นเรื่องต้องห้ามโดยจารีตตะวันตกแบบยิว-ทุนนิยม-คริสเตียน-มาร์กซิสต์  อาจกล่าวได้ว่ามันคือการเคารพในสติปัญญาและการเรียนรู้ของคน แต่ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนความโลภหรือหนทางอันนำไปสู่การสั่งสมอำนาจอย่างเห็นแก่ตัว  มันคือหนทางของการเรียนรู้บนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อตนเอง ทว่ายังเต็มใจที่จะทำงานร่วมกับผู้คนด้วยเช่นกัน อาจเรียกได้ว่า "ก่อร่างสังคมใหม่ภายในเปลือกของสังคมเก่า" อันเป็นคำขวัญของสหภาพแรงงานโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว


วัฒนธรรมแบบจารีตนิยมกำลังมาถึงวาระสุดท้ายในทุกกรณี และกำลังยื้อชีวิตตัวมันเองด้วยการพยายามเกาะกุมอยู่กับภาพ "ความดี" ในอดีตอย่างสิ้นหวัง  แต่พึงจำไว้ว่า อะไรก็ตามที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและเคยเป็นอดีตของวัฒนธรรมใดๆ สามารถถูกก่อร่างสร้างใหม่ขึ้นได้จากการสัมพันธ์กับจิตใต้สำนึกผ่านการปฏิบัติภาวนา  ในมุมมองของฉันการปฏิวัติทางสังคมที่กำลังมาถึงจะตีวงและเชื่อมเราทุกคนในหลายๆ ทาง สู่แง่มุมอันสร้างสรรค์ที่สุดตั้งแต่ครั้งบรรพกาล  หากเราโชคดี เราอาจบรรลุถึง "วัฒนธรรมโลก" ในที่สุด จากการสืบสกุลทางมารดา อิสระจากการแต่งงาน เศรษฐกิจแบบสินเชื่อชุมชนตามธรรมชาติ ลดความสำคัญของอุตสาหกรรม จำนวนประชากรที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพื้นที่ป่าชุมชน สวนสาธารณะ และอุทยานแห่งชาติที่เพิ่มมากขึ้น





พุทธองค์ แสดงธรรม 84000 ข้อ พระธรรม คือคำสั่งสอนพุทธองค์ พระสงค์นำหลักธรรม เผยแพร่ต่อมวลมนุษย์

รวมคติธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า article
คน10ประเภทนี้เจอเมื่อไหร่หนีให้ไกล ไม่ควรแม้แต่จะรู้จัก article
อยากมีสุขภาพจิตที่ดี สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง.. article
เคยสงสัยไหมว่าเราเกิดมาทำไม...อยู่ไปเพื่ออะไร article
นั่งสมาธิเเล้วเกิดการเจ็บปวด มันมาจากไหนควรเเก้อย่างไร article
ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อได มันจึงรู้เท่าสิ่งทั้งปวงในโลกอันนี้ article
ผู้ใดมีสัจมีศีล..ได้ชื่อว่าเป็นผู้หมดกรรมหมดเวร article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่2] article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่1] article
ข้อดีของความทุกข์..เวลามีเรื่องไม่ดี มักมีข้อดีซ่อนอยู่ article
ปาฏิหาริย์เกิดได้ทุกนาที สิ่งเดียวนั่น คือการตื่นรู้ทุกลมหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอนให้ปกติ article
ความโลภไม่อาจนำพามนุษย์ ไปสู่ความสำเร็จ article
คนมีสติ เหมือนมีสิ่งนำโชค ให้พบเจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต article
ถ้าเราทุกข์เพราะความรักก็ต้องมาแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ หรือตัวปัญหานั้น คือฉัน หรือ เรา article
ธรรมโอวาท ของ พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร article
การทำจิตให้สงบ โดย หลวงปู่ชา สุภัทโท article
สัจธรรมของความจริง article
ขันธ์ทั้ง 5 คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวง article
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (แก่นธรรม) article
นิพพานของพระพุทธเจ้า article
ทางพ้นทุกข์ จิตเห็นผิดเป็นถูกไปเพราะกรรมบังจิต จิตเห็นผิดเป็นถูกก็จะทำความดีได้ยาก article
มีรักและมีชังมันจึงทุกข์ article
ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ใครยึดใครถือไว้ก็หนัก article
การบวชที่ทดแทนคุณบุพการีได้จริง article
เผลอทำผิดศีลเข้า ถ้าไม่ตั้งใจจะผิดศีลไหม article
ทางโลก กับ ทางธรรม นำชีวิตเราไปคนละทางจริงหรือ? article
สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” article
อะไรคือบุญ การละบาปได้นั่นแหละเป็นบุญ article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 1 article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 2 article
เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม article
ให้แสงแห่งธรรมนำทางชีวิต สู่ความสงบสุข article
ศีลบารมี พระธรรมเทศนา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร article
ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ โดย หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร article
ละความเห็นแก่ตัว article
ความสวยงามที่ไม่สวยงาม ไม่มีอะไรคงอยู่ไปตลอด article
ความสงบมีคุณมาก โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี article
ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการตกผลึกของความรู้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น"หยุดกรรม"ได้จริง article
ธรรมะ คำคม จรรโลงใจ ธรรมะสอนตัวเองระวังตัวเอง ธรรมะไม่ใช่ของขลัง แต่เป็นแนวทางที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ article
คนเราทำบุญเพื่ออะไร ทำไมต้องมีการสะสมแต้มบุญ วิธีสะสมบุญเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 1 article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 2 article
มนุษย์เรามันก็รักสุขเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน1 article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน2 article
เตือนสติได้ดีแท้ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า article
ใจนั้นสำคัญไฉน ทำไมพระธรรมทุกบททุกบาทจึงชี้มาที่ใจ article
เเก้ความทุกข์ที่ปลายเหตุ แก้เท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด article
การสอนคนให้เป็นคนดี (ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า) article
ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจที่เกิดจากความพอต่างหาก article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน