ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




คนไทยในมาเลเซียกับสิทธิความเป็นพลเมือง article

 

คนไทยในมาเลเซียกับสิทธิความเป็นพลเมือง

วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554 เวลา 20:00:00 น. มติชน

 

โดย สุดารัตน์ แสงศรี

 

(ที่มา หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 22 กันยายน 2554 ผู้เขียนเป็นอาจารย์

ประจำสาขาภูมิภาคศึกษา สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

 


เมื่อกล่าวถึงคำว่า "ชนกลุ่มน้อย" ซึ่งเป็นคำที่มีความหมาย

กว้างมากนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการนิยามของแต่ละกลุ่มผู้ใช้ แต่สำหรับ

ในประเทศไทยแล้ว หากจะกล่าวถึงคำว่า ชนกลุ่มน้อย คนส่วนใหญ่

ก็จะจินตนาการเห็นภาพผู้คนอยู่อาศัยบนดอยสูงทางภาคเหนือ

ของประเทศซึ่งมีมากมายหลายกลุ่มด้วยกันอาจตั้งถิ่นฐานพักพึง

อยู่อย่างถาวร หรืออพยพเร่ร่อนไปตามลักษณะของชนกลุ่มนั้นๆ

มีภาษา วัฒนธรรม การแต่งกาย ความเชื่อ ประเพณีเฉพาะที่แตก

ต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคมไทย และที่สำคัญคือยังมีความล้าหลัง

ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างมาเลเซียก็ประกอบไปด้วยชนกลุ่มน้อยมากมาย

หนึ่งในนั้นคือ "คนไทย"

เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีอัตลักษณ์หลายอย่างที่เหมือนกับอัตลักษณ์ของคนไทยในภาคใต้ของ

ประเทศไทย ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า คนไทยเหล่านั้นมีชีวิตความ

เป็นอยู่อย่างไร โดยเฉพาะในด้านการมีสิทธิความเป็นพลเมืองของประเทศมาเลเซีย

คนไทยในมาเลเซียอาศัยอยู่พื้นที่แถบเขตตอนเหนือของประเทศมาเลเซียในปัจจุบันมาช้า

นานเป็นชนกลุ่มหนึ่งในรัฐไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ทางตอนเหนือของรัฐเประ และมีจำนวนหนึ่ง

อาศัยในปีนังโดยบางส่วนได้ผสมกลมกลืนกับชนพื้นเมืองแถบนี้ด้วย

ภายหลังสยามเสียดินแดนส่วนนี้แก่อังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวไทยกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่อยู่

ในประเทศมาเลเซียจนถึงปัจจุบัน โดยชาวไทยในหัวเมืองมลายูทั้ง 4 เมือง ยังคงตั้งหลักปักฐาน

อยู่ที่นั่นนับตั้งแต่อังกฤษยึดครองมลายูจนกระทั่งมาได้รับเอกราชเป็นมาเลเซียในปัจจุบัน

โดยเฉพาะใน เกตะห์มี 11 เขต 27 หมู่บ้าน มีวัด 50 วัดมีชาวไทยไม่ต่ำกว่า 50,000 คน

โดยชาวไทยในประเทศมาเลเซียนี้ก็ยังรักษาประเพณีวัฒนธรรมของไทยไว้ได้อย่างดีรวมถึง

ภาษา ความเชื่อ และศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกับชาวมลายู

สำหรับประเด็นเรื่องของสิทธิความเป็นพลเมืองของคนไทยในมาเลเซีย น่าจะเริ่มมอง

กันที่ประเด็นการขอมีสถานภาพเป็นภูมิบุตร (Bumi putra) ถือว่าสำคัญที่สุด

ตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียถือว่า บุคคลที่สืบเชื้อสายเป็นชาวมลายูหรือสืบเชื้อสายเป็น

ชาวซาบาห์หรือชาวซาราวักในมาเลเซียเท่านั้นที่เป็นภูมิบุตรา นอกจากนั้นจะไม่ใช่ภูมิบุตรา

ฉะนั้นจะมีกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นภูมิบุตราเพียงสองกลุ่มเท่านั้น คือกลุ่มชาติพันธุ์มลายูและกลุ่ม

ชาติพันธุ์กาดาซันจากรัฐซาราวักและซาบาห์ ส่วนลูกหลานที่เป็นภูมิบุตรา ก็จะต้องมีบิดาหรือ

มารดาที่สืบเชื้อสายมลายูหรือชาวซาบาห์หรือซาราวักเท่านั้น

ผู้ที่ถือสิทธิเป็นภูมิบุตราจะถือว่าเป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง จะมีสิทธิพิเศษมากมายนับว่าเหนือกว่า

กลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ ในมาเลเซีย

ทุกกลุ่มชาติพันธุ์จึงต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้สถานภาพภูมิบุตราซึ่งนั้นหมายถึงความเป็นพลเมือง

ของประเทศมาเลเซียโดยสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม จากการต่อสู้ทางสายกลางของชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้นนับว่าประสบความสำเร็จ

อย่างมาก เพราะว่าชาวพุทธเชื้อสายไทยถึงแม้ว่าไม่มีสถานภาพเป็นภูมิบุตรา แต่สิทธิต่างๆ

หมายถึงสิทธิด้านการเมืองเศรษฐกิจและสังคม จะเหมือนกับภูมิบุตราที่เป็นชาวมลายูทุกประการ

ปัจจุบันนี้ชาวพุทธเชื้อสายไทยจึงมีสถานภาพพิเศษซึ่งถือว่าเป็นสถานภาพที่สูง

กว่าชาวจีนและชาวอินเดียในมาเลเซีย

ก่อนมาเลเซียได้รับเอกราช ชาวไทยเหล่านั้นมีหลักฐานแสดงสถานภาพความเป็นชนกลุ่มน้อย

คือสูติบัตรแสดงความเป็นไทยเชื้อสายไทย ทะเบียนสำมะโนครัวแสดงสัญชาติมาเลเซีย

เริ่มทำบัตรประชาชนตั้งแต่อายุ 12 ปี และทำใหม่อีกครั้งเมื่ออายุ 18 ปี เมื่อหลังจากได้รับ

เอกราชแล้ว ชาวไทยมีหลักฐานการแสดงสถานภาพเหมือนเดิม แต่จะไม่มีการทำทะเบียน

สำมะโนครัวแสดงสัญชาติมาเลเซียแต่จะมีบัตรประชาชนแสดงสัญชาติมาเลเซียแทน

นอกจากชาวไทยมีที่ดินเป็นของตนเองได้ มีสิทธิขายที่ดินให้แก่ผู้อื่นได้แต่ผู้ซื้อต้องเป็นชาว

มาเลเซีย ชาวไทยด้วยกันไม่มีสิทธิซื้อขายที่ดินไม่ว่าเป็นของชาวไทยหรือของชาวมาเลเซีย

อีกประการหนึ่งเจ้าของที่ดินต้องเป็นเกษตรกรชาวไทยและมีบัตรแสดงการเป็นเกษตรกรชาวไทย

ทางการมาเลเซียจึงยอมรับว่าชาวไทยเป็นเกษตรกรเจ้าของที่ดินและไม่ประสงค์กลับเข้าไป

อยู่ในประเทศไทย

สำหรับการขอแก้ไขให้มีการระบุชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวไทยในแบบฟอร์มการขอเข้ามหาวิทยาลัย

ของรัฐ ประเด็นนี้ก็ถือว่าสำคัญ เพราะว่าหากไม่มีการระบุกลุ่มชาติพันธุ์ที่ชัดเจน จะทำให้ลูกหลาน

ชาวพุทธเชื้อสายไทยหมดสิทธิในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันของรัฐ เพราะการเข้าสถาบัน

การศึกษาของรัฐในมาเลเซียนั้นมีการจัดการเข้าศึกษาตามระบบ ซึ่งเป็นอัตราส่วนตามจำนวน

กลุ่มชาติพันธุ์

ด้านการเมืองเรื่องของการขอมีสิทธิเป็นสมาชิกของพรรคอัมโน (umno-United Malays

National Organization) ประเด็นนี้ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญมาก เพราะว่าพรรคอัมโนเป็น

พรรคการเมืองของชาวมลายู เป็นพรรคการเมืองที่ผูกขาดการบริหารปกครองประเทศโดยตลอดมา

ผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคอัมโนจะได้รับผลประโยชน์และสิทธิต่างๆ อย่างเช่นการขอเงินงบ

ประมาณในการพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง การขออนุญาตในการจัดกิจกรรมของท้องถิ่น

อาจจะง่ายขึ้นมากกว่าพรรคอื่นๆ

สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น นับตั้งแต่ที่เคยมีการต่อสู้การเรียกร้องสิทธิทางการเมืองที่

แตกต่างกันในการดำเนินนโยบายที่มีต่อชนกลุ่มน้อยชาวพุทธเชื้อสายไทยนั้น รัฐบาลมาเลเซีย

ได้ตอบสนองด้วยการให้มีการจัดตั้งองค์กรกลุ่มชาติพันธุ์ชาวพุทธเชื้อสายไทยที่ถูกต้อง

ตามกฎหมาย จึงเกิดสมาคมสยามมาเลเซียและสมาคมไทยกลันตันที่ทำการต่อสู้เพื่อปกป้อง

สิทธิผลประโยชน์ของกลุ่มชาติพันธุ์

รัฐบาลมาเลเซียมีการให้คำมั่นแก่ชาวพุทธเชื้อสายไทยถึงการสงวนสิทธิในตำแหน่ง

สภานิติบัญญัติไว้สำหรับชาวพุทธเชื้อสายไทยหนึ่งที่นั่งตามประชากรจำนวนประมาณ

60,000 คน

ในปัจจุบันชาวไทยที่มีถิ่นฐานอาศัยอยู่ในแถบรัฐทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย ยังคงมี

ความรู้สึกผูกพันอย่างเหนียวแน่นกับประเทศไทยโดยเฉพาะในวิถีการดำเนินชีวิต แม้แต่ศาสนา

และวัฒนธรรม

แต่อย่างไรก็ตาม คนไทยกลุ่มนี้กลับมิได้เรียกร้องหรือต้องการมีสัญชาติไทยเหมือนอย่างกลุ่ม

คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า ทั้งที่กลุ่มคนพลัดถิ่นทั้งสองกลุ่มนี้อยู่ในสถานะ

ที่คล้ายคลึงกัน คือการถูกเส้นเขตแดนบังคับความเป็นพลเมืองของประเทศใดประเทศหนึ่ง การขีด

เส้นเขตแดนเกิดขึ้นหลังการตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลังการเกิดขึ้นของรัฐชาติ หรือความเป็นประเทศ

ในปัจจุบันนั้นนับเป็นปัญหาที่ต้องตกอยู่กับตัวของประชาชนหากไม่ได้รับการดูแลจากรัฐบาลของ

ประเทศนั้นๆ อย่างที่คนไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่าออกมาเรียกร้อง

แต่สำหรับคนไทยพลัดถิ่นในมาเลเซียหรืออย่างที่พวกเขาเรียกตัวเองว่า "คนไทยติดถิ่น"

นั้นน่าจะถูกต้องกว่า เพราะเป็นคนในพื้นที่นั้นเดิมไม่ได้เกิดจากการอพยพเข้าไป คนกลุ่มนี้ต่าง

กับกลุ่มคนไทยในเขตตะนาวศรีเนื่องจากพวกเขาพอใจกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน เพราะประเทศ

มาเลเซียมีการดูแลชนกลุ่มน้อยที่มีประสิทธิภาพมากกว่า จนชาวไทยมีชีวิตความเป็นอยู่

ที่น่าพึงพอใจ

ทั้งนี้ รัฐบาลมาเลเซียมองว่ากลุ่มคนไทยกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นภัยและส่งผลกระทบใดๆ

ต่อประเทศ จึงไม่ได้เข้าไปแทรกแซงในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่มากนัก

ยิ่งกว่านั้นยังมีการอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนาได้อย่างเสรีทั้งที่คนส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

สถานะความเป็นพลเมืองก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจมีสิทธิในเรื่องของสาธารณูปโภคที่ครบถ้วน

แต่อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างนั้นอาจไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เพราะด้วยข้อจำกัดที่เป็นเพียงชนกลุ่มน้อย

ของสังคม ก็จำต้องคล้อยตามความเป็นไปของคนส่วนใหญ่ของสังคมซึ่งอาจไม่ตรงกับความ

ต้องการของชนกลุ่มน้อยไปทั้งหมด

ทั้งนี้ ความเป็นอยู่ของคนไทยในมาเลเซียอยู่ที่ดีในระดับหนึ่งปัจจุบันนั้น อีกเหตุผลที่อาจเป็น

ไปได้คือประเทศมาเลเซียและประเทศไทยค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาช้านาน และเป็น

ประเทศเพื่อนบ้านที่พึ่งพาอาศัยกันอยู่บ่อยครั้ง และมาเลเซียก็เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเส้นทาง

ของความเป็นประชาธิปไตยในเรื่องของสิทธิความเป็นพลเมืองของชนกลุ่มน้อยที่มี

ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้าน

เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยที่ประกอบให้ชนกลุ่มน้อยชาวไทยในมาเลเซียมีสิทธิความ

เป็นพลเมืองเป็นที่พอใจเฉกเช่นเดียวกับชนส่วนใหญ่ของประเทศ

 




ข้อคิดมุมมอง เชื่อหรือไม่ สาระน่ารู้ เรื่องจริง หรือหลอกลวง (พุทธวจน การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก)

ข้อควรระวังในการซื้อของออนไลน์ article
ซื้อของออนไลน์โปรดระวัง article
5 สุดยอด SELF-TRANSFORM เปลี่ยนตัวเองให้ตื่นเช้า เป็นที่รัก ตัดสินใจเด็ดขาด article
‘กฎ 20 วินาที’ ใช้ความขี้เกียจให้เป็นประโยชน์ article
ไม่ต้องฉลาดกว่าใคร เอาแค่ ‘ฉลาดกว่าตัวเอง’ ก็พอ article
เกิดมาต้นทุนต่ำ ก็รวยได้ ทำแบบนี้ article
อาชีพ ที่ทำรายได้สูงสุด ในปี2021 article
ใครเป็นคน ลิขิตชีวิตคุณ article
4 คุณสมบัติที่บ่งชี้ว่าคุณมี "วุฒิภาวะ" article
4 วิธี "ดึงดูดเงินเข้ามาในชีวิต" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
เหตุผลที่ทำให้คุณเป็นคนไม่มั่นใจ article
ทำตัวยังไง ? ให้มีเสน่ห์ article
27 ข้อคิด ในชีวิต 27 ปี article
จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต article
กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังผูกชีวิตติดกับคนอื่น? จัดการความรู้สึกเมื่อถูกทักว่าอ้วน? article
ถ้าสมองสั่งให้รักเงิน จะทำให้อย่างไรมีความสุขนอกจากการใช้เงินบ้าง article
วิธีแก้ท้อที่ดีที่สุด article
5 soft skills ที่เป็นที่ต้องการที่สุดในยุคนี้ article
วิธีเด็ดสลัดอารมณ์หรือความคิดที่เราไม่ชอบ article
คิดจะ “ฆ่าตัวตาย” มีทางออกที่ง่ายกว่านั้นเยอะ article
เลิกกันแล้วยังเกลียดชัง~ระวังลูกจะมีปัญหา!!! article
สังคมเลว...เพราะคนดีท้อแท้!!! article
เปลี่ยนคำพูดธรรมดาให้มีคุณค่าทางใจ article
บอกข้อผิดพลาดโดยไม่ยั่วโมโหอีกฝ่าย article
การโน้มน้าวใจแบบไม่กดดัน สบายใจทั้งเขาและเรา article
เคล็ดลับความมั่นใจคือ "เห็นคุณค่าในตัวเอง" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
5 สิ่ง "ทรงคุณค่าที่คนธรรมดาก็ทำได้" article
20 อย่างที่แสดงว่าคุณเติบโตแล้ว และกำลังมีชีวิตที่ดี article
คำถามสำคัญคือ “จะลงมือเมื่อไรดี” article
เอาชนะตัวเอง article
ถ้าอยากมีความสุขขึ้น อย่าพูดแบบนี้ article
ใครติดโซเชียลจนไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ..แก้ได้ article
คนแบบนี้ยังไงก็มีความสุข article
ทำดีเอาหน้า อย่างนี้ก็ได้หรอ ! article
ถ้าฝึกนิสัยนี้ ยังไงก็ไม่ ล้มเหลว article
เด็กรุ่นใหม่ ไม่มีสมาธิ จริงหรือ ? article
ความรัก article
อิสระภาพกับการตามใจ article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน