ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




มหันตภัยโรคติดเชื้อกลายพันธุ์!! ร้าย...รุนแรง เร่งพัฒนาวิธีป้องกัน article

 

มหันตภัยโรคติดเชื้อกลายพันธุ์!! ร้าย...รุนแรง เร่งพัฒนาวิธีป้องกัน

วันอาทิตย์ ที่ 25 กันยายน 2554 เวลา 0:00 น. เดลินิวส์

 

 

 

ปัจจุบันการเกิดโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน หรือโรคร้ายแรงชนิดเดิมดื้อยา

กลับมาแพร่ระบาดและก่อให้เกิดโรคต่อมนุษย์รุนแรงและเรื้อรังมากขึ้น ทำให้การรับมือกับโรค

ต่าง ๆ ต้องมีประสิทธิภาพด้านการสาธารณสุข การป้องกันและรักษาด้วยผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญ

ต้องเร่งพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ครอบคลุมหลายมิติ
   
ศ.ดร.ศกรณ์ มงคลสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหัวหน้าหน่วยวิจัยด้าน

โรคติดเชื้ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำจากแบคทีเรีย เปิดเผยว่า สาเหตุของโรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตมนุษย์

เกิดจากเชื้อปรสิต จุลชีพ เชื้อรา แบคทีเรีย หรือไวรัส ก่อให้เกิดโรคติดเชื้ออุบัติใหม่หรือโรคติด

เชื้ออุบัติซ้ำ โดยมีตัวช่วยนำโรคหรือพาหะ เช่น ยุง แมลง เห็บ ไร ริ้น ซึ่งมีการปรับตัวผันแปรเปลี่ยน

ไปตามบรรยากาศของโลกที่ผันผวน โดยโรคหลัก ๆ ได้แก่ โรคมาลาเรีย โรคไข้เลือดออก วัณโรค

และโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล 
   
“โรคติดเชื้อในโรงพยาบาล” นับเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียเป็น

เชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายในโรงพยาบาลโดยบุคลากร อุปกรณ์แพทย์ น้ำยาฆ่าเชื้อ และอาหาร

เมื่อผู้ป่วยที่พักรักษาตัวมีภาวะป่วยรุนแรงและมีภูมิคุ้มกันต่ำทำให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายได้

หลายระบบ เช่น เกิดโรคปอดบวมและภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ปัจจัยที่ทำให้รุนแรงคือเชื้อนี้มี

ความสามารถในการเกาะยึดติดกับเยื่อบุผิว มีการสร้างโปรตีนจำเพาะที่มาทำลายเนื้อเยื่อ อีกทั้ง

ยังสร้างส่วนที่ทำหน้าที่เหมือนเกราะป้องกันผิวชั้นนอกของเชื้อ และมีคุณสมบัติดื้อต่อยาปฏิชีวนะ

การรักษาด้วยการให้ยาอาจไม่ได้ผลหรือบางกรณีต้องผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อส่วนที่ติดเชื้อออก งานวิจัย

จึงมุ่งศึกษาไปถึงกลไกการดื้อยาของเชื้อดังกล่าว ซึ่งพยายามใช้เทคนิคและความรู้ทางอณูพันธุ

ศาสตร์โมเลกุลและชีววิทยาการแพทย์มาช่วย เพื่อนำไปสู่ การออกแบบยาปฏิชีวนะใช้สำหรับเชื้อ

ที่มีการดื้อยา เป้าหมายในอนาคตคือใช้ยาอย่างจำเพาะเจาะจง และมีประสิทธิภาพ
   
“โรคมาลาเรีย” หรือไข้จับสั่น เกิดจากเชื้อปรสิตที่มีชื่อว่า “พลาสโมเดียม” รศ.ดร.จิรันดร ยูวะนิยม

นักวิจัยจากศูนย์วิจัยโครงสร้างและการทำงานของโปรตีน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมมือกับกลุ่มวิจัยหลายกลุ่ม มีหัวหน้าโครงการคือ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ ที่ BIOTEC  เปิดเผยว่า

เชื้อมาลาเรียมีเอนไซม์ตัวหนึ่ง คือเอนไซม์ไดไฮโดรโฟเลต-รีดัคเตส หรือเรียกย่อ ๆ ว่า

“ดีเอชเอฟอาร์” (DHFR) การรักษาใช้ยาประเภทแอนติโฟเลต ซึ่งมีศักยภาพในการยับยั้ง

เอนไซม์นี้ แต่ปัจจุบันพบว่าเชื้อพลาสโมเดียมดื้อต่อยา โดยกลไกการดื้อยาเกิดจากการกลาย

พันธุ์ของยีนที่ทำหน้าที่สร้างเอนไซม์ดีเอชเอฟอาร์ การศึกษาวิจัยโครงสร้างสามมิติของผลึก

เอนไซม์ดีเอชเอฟอาร์ และการเปลี่ยนแปลงบริเวณที่ยาจับกับเอนไซม์ของเชื้อดื้อยานี้จึงมี

ความสำคัญ เพราะสามารถนำไปใช้ในการออกแบบยาหรือสารยับยั้งตัวใหม่เพื่อใช้เป็นยาต้าน

มาลาเรียชนิดดื้อยาที่มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิม ปัจจุบันทางคณะฯ ได้สังเคราะห์สารยับยั้งได้

หลายชนิดแล้วและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปเป็นยาตัวใหม่ได้ 
    
“โรคไข้เลือดออก” มีงานวิจัยเกี่ยวกับการหาสารป้องกันไวรัสไข้เลือดออกจากเชื้อแบคทีเรียใน

เซลล์ยุงลาย เป็นนวัตกรรมใหม่ในการป้องกันและรักษาโรคไม่ต้องพึ่งสารสังเคราะห์

รศ.ดร.ปัทมาภาณ์ กฤตยพงษ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศพาหะและโรคที่นำโดยพาหะ

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ทีมวิจัยได้ตั้งสมมุติฐานว่า แบคทีเรียโวบาเกีย

ที่อยู่ร่วมกับเซลล์ของยุงลายบางชนิดจะผลิตและหลั่งสารบางอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรค

เข้าสู่เซลล์ของยุงเอง โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างยุงที่มีแบคทีเรียโวบาเกียและยุงที่ไม่มี

แบคทีเรียนี้ หลังการใส่เชื้อไวรัสไข้เลือดออกเข้าไป พบว่ายุงที่มีแบคทีเรียในเซลล์มีอัตราการ

ติดเชื้อต่ำมาก ความคาดหวังต่อไปคือจะสามารถหาสารที่มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อไวรัส

ไข้เลือดออก การศึกษาวิจัยนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและรักษาโรคไข้เลือดออก

เพราะมีความพยายามทำวัคซีนไข้เลือดออกกันมากว่า 20 ปี

แต่ก็ยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผลดี เนื่องจากไวรัสไข้เลือดออกมีถึง 4 สายพันธุ์ ดังนั้นวัคซีนที่ดีต้องป้องกัน

ได้ทุกสายพันธุ์ จึงต้องใช้เวลาในการพัฒนา ส่วนแนวทางใหม่ในการบำบัดรักษายังรวมถึงงาน

วิจัยเรื่องภูมิคุ้มกันบำบัดของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออกโดย

ดร.พญ.พรพรรณ มาตังคสมบัติ-ชูพงศ์ จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
    
“เชื้อวัณโรค” หรือ “มัยโคแบคทีเรีย ทูเบอร์คูโลซิส” แบคทีเรียที่เป็นปัญหาวิกฤติทางสาธารณสุข

องค์การอนามัยโลกจัดให้ประเทศไทยอยู่อันดับ 17 จาก 200 ของกลุ่มประเทศที่มีปัญหาวัณโรค

แพร่ระบาด ประมาณการว่าผู้ติดเชื้อ 1 คนสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้ถึง 15 คน มีการติดเชื้อง่าย

และรุนแรงยิ่งขึ้นในกลุ่มเสี่ยงที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง โดยจำนวนผู้เสียชีวิตจากวัณโรคทั่วโลกสูงถึง

2 ล้านคนต่อปีและกำลังเพิ่มขึ้น 
   
การตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพ แม่นยำและรวดเร็วจึงสำคัญ เพราะหลังจากติดเชื้อแล้วระยะพัก

ตัวในผู้ติดเชื้อก่อนแสดงอาการมีตั้งแต่เป็นเดือนถึงเป็นปี ผู้ป่วยอาจมีอาการไม่มากแต่แพร่เชื้อได้

มากผ่านทางเสมหะที่กระจายในอากาศ จึงสามารถแพร่ไปยังประชากรหลายกลุ่มโดยไม่จำกัดเพศ

อายุ อาชีพ จึงน่าวิตกอย่างมาก รศ.ดร.อังคณา ฉายประเสริฐ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

และ รศ.นพ. ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันวิจัยและ

พัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยแบบทราบผลเร็วได้สำเร็จ สามารถตรวจหาดีเอ็นเอของเชื้อวัณโรคในสิ่ง

ส่งตรวจที่ทำให้สามารถจำแนกเชื้อมัยโคแบคทีเรียแต่ละชนิดอย่างแม่นยำรวดเร็ว แต่ปัญหาที่

สำคัญของวัณโรคคือ การดื้อยา ซึ่งเชื้อวัณโรคมีการดื้อยาทั้งชนิดดื้อยาบางขนานและชนิดดื้อ

ยารุนแรงหลายขนาน และมีผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น ภาวะที่น่าเป็นห่วงคือหากเกิดการดื้อยา

แล้วจะไม่มียาตัวไหนสามารถรักษาได้ นอกจากการวินิจฉัยแบบทราบผลเร็วเพื่อจำแนกเชื้อ

อย่างรวดเร็วแล้วจำเป็นต้องมีการคิดค้นพัฒนายาต้านวัณโรคชนิดดื้อยารุนแรงด้วย
   
อย่างไรก็ตามการจัดการกับภาวะเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคต่าง ๆ ต้องเน้นการ

บูรณาการทั้งด้านสาธารณสุขการแพทย์เพื่อการจำแนกและรักษาและการค้นคว้าด้านวิทยาศาสตร์

เพื่อหากลไกในการรับมือและหาคำตอบในการป้องกันโรคร้ายที่สร้างปัญหาให้มนุษย์ โดยใน

วันที่ 10-12 ตุลาคม 2554 นี้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับ

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ ในการจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 37 (วทท.37) ขึ้นที่โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เพื่อเสนอผลความก้าว

หน้างานวิจัย ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยหลากหลาย

สาขาได้โดยตรง ขณะเดียวกัน พวกเราเองก็ควรหมั่นดูแลสุขภาพรักษาความสะอาดให้ถูก

หลักอนามัยเพราะเชื้อโรคต่าง ๆ เกิดจากความสกปรกและความไม่รู้เท่าทันโรคทั้งสิ้น..!!.




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน