ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ฟลูออไรด์คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์ article

ฟลูออไรด์คืออะไร ทำไมถึงมีประโยชน์
 
 

คุณรู้หรือไม่ว่า ฟลูออไรด์สำคัญมากๆและจัดเป็นองค์ประกอบ 1 ใน 5 ที่สำคัญของงานทันตกรรมป้องกัน ได้แก่ การทำความสะอาดฟันและช่องปากโดยการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี การเคลือบหลุมร่องฟัน การปรับพฤติกรรมการบริโภค การใช้ฟลูออไรด์ การตรวจสอบสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอทุก 6 เดือน

ฟลูออไรด์เป็นเกลือของธาตุฟลูออรีน พบได้ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีทั่วไปในดิน น้ำ อากาศ หินแร่ ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารทะเลและในพืชผักบางชนิดตลอดจนมีการผลิตขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ

ร่างกายรับฟลูออไรด์ได้จากการรับประทานอาหารและน้ำดื่ม ฟลูออไรด์ที่ถูกดูดซึมในร่างกายส่วนใหญ่ ร่างกายจะนำไปสร้างกระดูกและฟัน ทางการแพทย์ใช้เป็นยารักษาโรคกระดูกผุและโรคกระดูกอื่นๆ บางชนิด ทางทันตกรรมนั้น ใช้ในการป้องกันฟันผุ

- ฟลูออไรด์มีผลในการป้องกันฟันผุ ใน 2 ลักษณะ คือ โดยการรับประทาน และการสัมผัสกับผิวเคลือบฟัน

- ฟลูออไรด์ที่ใช้รับประทานส่วนใหญ่อยู่ในรูปยาเม็ดฟลูออไรด์ ยาน้ำ วิตามิน ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มหรือนมฟลูออไรด์ การรับประทานยาเม็ดฟลูออไรด์ จะให้ผลดีกับฟันที่กำลัง

            
- สร้างตัวอยู่ในขากรรไกรและการรับประทานฟลูออไรด์ที่ได้ประโยชน์ ต้องใช้กับวัยเด็กตั้งแต่ 6 เดือน ถีง 12 ปี และการกินยาเม็ด และยาน้ำฟลูออไรด์นี้ควรปรึกษาทันตแพทย์เสียก่อน เพื่อที่จะได้กำหนดปริมาณการกินที่ถูกต้องได้
            
- ส่วนของฟันที่ขึ้นมาในช่องปากแล้ว จะใช้ฟลูออไรด์ในลักษณะให้สารฟลูออไรด์ได้สัมผัสกับผิวเคลือบฟัน เช่น การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ การใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ จะทำให้สภาพช่องปากได้รับฟลูออไรด์ในความเข้มข้นต่ำๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไปเพิ่มความแข็งแรงให้กับฟันอย่างได้ผลดี

ฟลูออไรด์ในช่องปากสามารถป้องกันฟันผุ โดย
            
- ช่วยชะลอการย่อยสลายของแร่ธาตุ และเสริมกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุบนผิวเคลือบฟัน ทำให้ยับยั้งการผุของผิวเคลือบฟันในระยะแรกๆ
            
- ช่วยเพิ่มความต้านทานต่อกรดให้ผิวเคลือบฟัน ถ้าได้รับฟลูออไรด์ โดยการรับประทานในช่วงที่มีการสร้างฟัน ทำให้ฟันมีโอกาสผุยากขึ้น

ควรระมัดระวังในการใช้ฟลูออไรด์
            
ไม่ควรใช้ฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป เช่น การกินยาเม็ด ยาน้ำฟลูออไรด์ต้องกินในปริมาณที่กำหนด หรือการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ต้องระวังการกลืนยาสีฟัน โดยใช้ปริมาณยาสีฟันแค่พอเพียงประมาณขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวก็พอ






ขอขอบคุณข้อมูลจาก กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน