ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




มาปกป้องลูกจากภัย "ยาเสพติด" กับ นพ.วศิน บำรุงชีพ article

มาปกป้องลูกจากภัย "ยาเสพติด" กันเถอะ

นพ.วศิน บำรุงชีพ
       เมื่อพูดถึงปัญหายาเสพติด ถึงแม้จะมีข่าวการปราบปรามให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ถี่ขึ้น แต่ก็ใช่ว่าปัญหานี้จะหมดไปจากสังคมไทย เพราะมีผลสำรวจออกมาให้พ่อแม่หลาย ๆ ท่านวิตกกังวลใจเป็นระยะ ๆ ว่า ยาเสพติดยังคงพัวพันกับเด็กอยู่ไม่น้อย
       
       ล่าสุดมีผลสำรวจที่น่าตกใจจากเอแบคโพลล์พบว่า เด็กอายุเพียง 7 ขวบก็เริ่มเสพยากันแล้ว และที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือ เด็กที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่เสพยาหรือทดลองใช้สารเสพติดมากถึง 5 เท่า ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะพ่อแม่จะมาอ้างว่าเป็นเรื่องไกลตัวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
       
       นพ.วศิน บำรุงชีพ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านยาเสพติด โรงพยาบาลมนารมย์ สะท้อนมุมมองจากประสบการณ์ในการทำงานด้านการบำบัดผู้ที่ติดสารเสพติดว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็ก และเยาวชนไทยเริ่มใช้สารเสพติดเร็วขึ้น เป็นเพราะสารเสพติดประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ และเครื่องดื่มชูกำลัง ถือเป็นสิ่งเสพติดที่ถูกกฎหมาย และได้รับอนุญาตในการโฆษณาประชาสัมพันธ์กันอย่างเปิดเผย ทำให้เด็กเกิดการทดลอง และนำไปสู่การใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ ได้ง่าย ซึ่งหากใช้นาน ๆ ก็อาจทำให้ติดและเกิดภาวะสมองติดยาได้
       
       "เมื่อใช้ยาเสพติดบ่อยๆ ก็จะทำให้สมองส่วนคิดถูกทำลาย การใช้ความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลจะเสียไป แล้วสมองส่วนอยากจะอยู่เหนือสมองส่วนคิด จนทำอะไรตามใจตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล เรียกง่ายๆว่าความเป็นคนหายไป เหลือแต่สัญชาติญาณ ซึ่งไม่ต่างอะไรกับสัตว์ ทำให้ผู้ที่ใช้ยามักแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีอารมณ์ก้าวร้าว หงุดหงิด ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การปล้น จี้เด็กเป็นตัวประกัน ลักขโมย หรือก่อเรื่องที่ผิดศีลธรรมผิดกฎหมายขึ้น เพื่อที่จะหาทางเสพยาเสพติด จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นในสังคม" นพ.วศินกล่าว
       
       ดังนั้น นพ.วศิน จึงได้แนะนำข้อควรปฏิบัติ และวิธีที่จะช่วยให้เด็กหลุดพ้นจากภัยยาเสพติดง่าย ๆ โดยใช้คาถาป้องกันยาเสพติด 3 ข้อดังต่อไปนี้
       
       1. เกลียด
       
       พ่อแม่ควรเน้นย้ำถึงพิษภัยของยาเสพติดให้เข้าไปอยู่ในจิตใจลูก ทำให้เขารู้สึกเกลียดยาเสพติด เพราะยาเสพติดเป็นภัยต่อตัวเอง ผู้อื่น สังคม และประเทศชาติ พยายามปรับทัศนคติให้เด็กไม่ชอบ และไม่ใช้ เช่น ยกตัวอย่างให้เห็นภาพจากข่าว หรือสื่อต่าง ๆ

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       2. กลัว
       
       ควรสอนให้ลูกรู้ว่า การใช้ยาเสพติดนอกจากจะเป็นผลเสียต่อร่างกาย และอวัยวะส่วนต่าง ๆ แล้ว ยังไปทำลายสมอง และทำให้สมองส่วนคิดวิเคราะห์เหตุผลเสียไป ส่งผลให้การเรียน การงาน และหน้าที่ความรับผิดชอบด้อยลง ซึ่งจะต้องช่วยกันให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เด็ก และทำให้เด็กกลัวการใช้ยาเสพติด เช่น ทำให้เป็นมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง โรคจิตเภท ติดเชื้อเอชไอวี ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย เป็นต้น โดยอาจจะพาเด็กไปเห็นตัวอย่างคนที่ป่วยด้วยโรคที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด เช่น ญาติพี่น้องที่ป่วย หรือที่โรงพยาบาล เป็นต้น
       
       3. หนี
       
       คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงสังคมที่มียาเสพติด เพราะถ้าไม่พาออกจากสิ่งแวดล้อมตรงนั้น อาจมีความเสี่ยงที่ลูกจะถูกชักชวนจากเพื่อนในกลุ่มได้ง่าย ซึ่งนอกจากกลุ่มเพื่อนแล้ว สถานที่ และสิ่งแวดล้อมอาจจะต้องบอกลูกให้ระวัง และหลีกเลี่ยงด้วย เพราะอาจมียาเสพติดปะปนอยู่ เช่น ผับ บาร์ และสถานที่เที่ยวกลางคืนทั้งหลาย
       
       "หลายคนบอกทำไมต้องหนี ก็แค่สอนลูกสิ แต่ปัจจุบันยาเสพติด ไม่ใช่แค่ว่าจะเสพหรือไม่เสพ แต่เด็กอาจถูกเชื้อเชิญยัดเยียดให้เสพ เพราะคนขายมักจะมีวิธีชักชวน ยั่วยวน ยั่วยุ ข่มขู่ คุกคาม ดูถูก จนทำให้เด็กต้องใช้ยาเสพติด
       
       ฉะนั้นเมื่อก่อนอาจจะบอกว่าเด็กมีจิตใจเข้มแข็งเห็นเพื่อน ๆ ใช้แต่ตัวเองไม่ใช้ แต่ปัจจุบันไม่ได้แล้ว เพราะฉะนั้นต้องหนีสังคมแบบนี้ให้ได้ ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างสังคมใหม่ ๆ ให้กับเด็ก ปรับวิถีชีวิตที่ไม่สุ่มเสี่ยงกับยาเสพติด เช่น พาไปออกกำลังกาย เล่นดนตรี เข้าฟิตเนส แบดมินตัน เทนนิส หรือกิจกรรมสร้างสรรค์กับครอบครัว อ่านหนังสือ ดูต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น"
นพ.วศินอธิบายให้เห็นภาพ
       
       ตราบใดที่สังคมยังหละหลวมไม่มีมาตรการจัดการและป้องกันแก้ไขอย่างเด็ดขาด และตราบใดที่พ่อแม่ยังอ้างว่าไม่มีเวลาจนละเลย และใส่ใจการเลี้ยงลูก ยาเสพติดอาจกลายเป็นเพื่อนพึ่งพายามเหงาของเด็กก็เป็นได้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน