ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เปิดทัศนะ "ดร.แดน" เลี้ยงลูกอย่างไรในยุคการแข่งขันสูง article

เปิดทัศนะ "ดร.แดน" เลี้ยงลูกอย่างไรในยุคการแข่งขันสูง

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
       เมื่อมีลูก พ่อแม่ทุกท่านต่างตั้งความหวังอยากให้ลูกเติบโตอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นจึงลงมือสร้างลูกให้เป็นไปตามหวัง ถูกบ้าง ผิดบ้าง ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ที่แต่ละท่านมี แต่ในยุคนี้ โจทย์การเลี้ยงลูกดูเหมือนจะเป็นเรื่องท้าท้ายพ่อแม่มือใหม่ไม่น้อย เพราะโลกซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
       
       เมื่อเป็นเช่นนี้ ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ หรือ ดร.แดน นักวิชาการอาวุโสประจำมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เผยว่า หากพ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจใหม่ ๆ ในการเลี้ยงลูก แนวโน้มที่เด็กรุ่นใหม่จะหลง และไหลไปตามกระแสทางที่ไม่ถูกต้องย่อมเกิดได้สูง
       
       "ทุกวันนี้เด็กเราน่าเป็นห่วง บางคนเติบโตในครอบครัวที่พ่อแม่บ้าคนรวย บ้าตำแหน่ง เขาจึงคาดหวังให้ลูกเรียนเก่ง เรียนดีเพื่อให้ได้งานที่ทำเงินสูง ๆ ถ้าคิดอย่างนี้ระวังครอบครัว และลูกจะพัง เพราะเขาจะซึมซับค่านิยมบ้าคนรวย และวิ่งใส่เงินจนลืมดูหน้าดูหลัง อะไรถูกอะไรผิด นำไปสู่การใส่ร้ายป้ายสี แทงคนข้างหลัง หรือทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ตำแหน่ง ในที่สุดสังคมจะยิ่งเสียหายหนัก" ดร.แดนให้ทัศนะ
       
       ยิ่งไปกว่านั้น พ่อแม่จำนวนไม่น้อยมองความสำเร็จของลูกแบบฉาบฉวย และละเลยเรื่องคุณลักษณะอื่น ๆ ที่จำเป็นในยุคของการแข่งขัน เช่น การมีจิตเพื่อส่วนรวม มีอุดมคติในใจ มีอุดมการณ์การใช้ชีวิตให้มีคุณค่า และการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
       
       "การที่ลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ มีงานทำดี ผมมองว่ายังไม่ใช่ความสำเร็จ เพราะเด็กต้องเติบโตเป็นคนดีที่เราแน่ใจได้ว่า เขาจะไม่ติดคุกติดตะราง ติดยาเสพติด หรือใช้ชีวิตบนความเดือดร้อนของผู้อื่น นี่คือสิ่งต้องสร้างให้เขา เพราะถ้าเก่ง มีงานดี แต่เป็นคนไม่ดี ถือว่าคุณล้มเหลวในการเลี้ยงลูก"
       
       ดังนั้น การเลี้ยงลูกให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นมิตรในยุคที่การแข่งขันสูง ดร.แดนบอกว่า ต้นแบบที่จะกระตุ้นให้เด็กอยากเป็นคนดี มีน้ำใจ คือคนใกล้ตัวอย่างคุณพ่อคุณแม่นั่นเอง
       
       "พ่อแม่เป็นต้นเหตุความสำเร็จของลูก อะไรที่ดี ๆ เราก็ใส่ไปที่ลูก ส่วนอะไรที่ไม่ดีเราก็ใส่ไปเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งเราไม่รู้ตัวหรอก บอกลูกไม่ให้ทำ แต่พ่อแม่เผลอทำให้เห็น เช่น นั่งวิจารณ์เจ้านายในรถ ลูกก็นั่งฟังอยู่ข้าง ๆ ตั้งแต่เล็ก พอโตขึ้นก็บอกลูกให้มีทัศนคติที่ดี คิดในแง่บวกนะลูก ลูกที่ไหนจะเชื่อครับ"

       ส่วนอีกเรื่องที่ควรให้ความสำคัญไม่แพ้กันก็คือ การตำหนิลูกแบบไม่สมเหตุสมผล นับเป็นวิธีการลงโทษที่ทำให้ลูกบาดเจ็บ และเกิดแผลในใจขึ้นได้
       
       "พ่อแม่บางคนไม่รู้ตัว อารมณ์ดีก็ดีใจหาย อารมณ์ร้ายก็ซัดลูกเข้าไปเต็มเหนี่ยว ทั้งมือทั้งไม้ และที่แรงไปกว่านั้นคือการซัดด้วยคำพูดจนหัวใจลูกเหวอะหวะไปหมด ตรงนี้อันตรายมาก เพราะคุณกำลังทำให้ลูกรู้สึกไม่มีค่า และไม่มีกำลังใจ อีกอย่างผมไม่เชื่อเรื่องการบังคับคน แต่ผมเชื่อในเรื่องของการจูงใจคนด้วยเหตุผล ชวนให้เขาคิดตาม ถามคำถามได้ โต้แย้งได้ คำสั่งเอาไว้ใช้ในยามวิกฤติดีกว่า เช่น ถ้าไม่สั่งตอนนี้เดี๋ยวลูกตกเหว หรือเกิดอันตรายถึงชีวิต" ดร.แดนเผย
       
       แต่คงต้องยอมรับว่า โลกอนาคตคาดหวังต่อคนรุ่นใหม่สูง และซับซ้อนกว่าคนรุ่นพ่อแม่มากมายนัก ดังนั้น ทางออกในเรื่องนี้ ดร.แดน เสนอว่า รัฐบาลต้องสนับสนุนให้มีห้องเรียนพ่อแม่อย่างจริงจัง โดยให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการหรือเทคนิคในการเลี้ยงลูกอย่างมีหลักการ และมีเป้าหมาย เพื่อพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นคนที่พร้อมสำหรับอนาคต

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       อย่างไรก็ดี หากจะพัฒนาเด็กให้เติบโตเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งความสำเร็จควบคู่ไปกับความดีงาม นอกจากครอบครัวแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบการศึกษาให้ดี โดยเน้นการสร้างคนให้เป็นคน ไม่ใช่ยัดเยียดความรู้ให้เด็ก
       
       "ทุกวันนี้การศึกษาบ้านเราเน้นปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ ดูได้ง่าย ๆ จากสิ่งที่สังคมให้ความสนใจไปที่การสอบเข้าได้ หรือไม่ได้ แต่ไม่สนใจที่ตัวผลลัพธ์ทางการศึกษา เด็กจึงไม่ค่อยมีคุณภาพ อย่างการผลักคะแนนให้เด็กประถม หรือมัธยมสอบผ่านทั้งที่จริง ๆ แล้ว คุณภาพยังไม่ได้ ปัญหาคือ เด็กจบออกมามีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และที่แย่ไปกว่านั้น คือ รัฐออกนโยบายหวือหวาเอาใจการศึกษาเพื่อให้ผลประโยชน์ทางการเมืองเกิด มากกว่าที่จะสนใจว่าเราสร้างกำลังคนในชาติตามที่ต้องการได้จริง ๆ หรือไม่" ดร.แดนสะท้อน
       
       ฉะนั้น การได้มีโอกาสไปเป็นนักวิชาการอาวุโสประจำที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก และมหาวิทยาลัยชั้นนำอีกหลายแห่ง ทำให้ดร.แดนหันกลับมามองการศึกษาในประเทศไทยว่ายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องพัฒนาเพื่อเตรียมเด็กให้พร้อมกับโลกอนาคต
       
       "การเรียนของฮาร์วาร์ดมีการใช้ความคิดในการถกแถลงร่วมกันบ่อยมาก มีการวิเคราะห์มากกว่าการพรรณนา แต่ของเราจำแต่ข้อมูลเอาไปใช้สอบ และการสอบก็เป็นแค่เพียงพิธีรีตอง ไม่ได้มุ่งผลสัมฤทธิ์ผู้เรียนอย่างแท้จริง ซึ่งผมไม่ค่อยกลัวในการให้เด็กเอาหนังสือเข้าห้องสอบหรอก แต่ออกข้อสอบให้มันดีต่างหากเด็กถึงจะได้ใช้ความคิด"
       
       ท้ายนี้ ดร.แดน ฝากถึงพ่อแม่ว่า การแข่งขันจำเป็นต้องมี เพราะถ้าไม่มีก็คัดคนไม่ได้ แต่ไม่ใช่แข่งขันแบบบ้าระห่ำโดยไม่นึกถึงเรื่องอื่น ๆ ซึ่งมากกว่าการมีไอคิวที่ดี มีอีคิวที่สูง ดังนั้น ทักษะการสร้างลูก ต้องสร้างอย่างขั้นเทพ นั่นคือ รอบด้าน เพราะถ้าเด็กถูกฝึกให้เข้มแข็ง กล้าคิด ผิดแล้วแก้ไข เห็นความเป็นมนุษย์ทั้งในตนเอง และในผู้อื่น เขาก็จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่งดงามทั้งความคิด และการกระทำ




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน