ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ใครไม่อยาก "กระดูกพรุน" ก่อนวัย โปรดอ่านทางนี้! article

ใครไม่อยาก "กระดูกพรุน" ก่อนวัย โปรดอ่านทางนี้!

นพ.บุญวัฒน์ จะโนภาษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา
       เป็นอีกหนึ่งเรื่องสุขภาพที่หลาย ๆ บ้านไม่ควรมองข้าม นั่นก็คือ "โรคกระดูกพรุน" ซึ่งปัจจุบันพบว่า ผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปมีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น และที่สำคัญมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว
       
       ความน่าเป็นห่วงนี้ นพ.บุญวัฒน์ จะโนภาษ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิก ศูนย์แพทย์พัฒนา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ไม่เคยรู้ตัวเองเลยว่าป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนมาก่อน แต่เมื่อเกิดการหักของกระดูก หรือกระดูกยุบตัวจากอุบัติเหตุจึงได้รู้ความจริง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ซึ่งการรักษาอาจทำได้ยากถึงแม้จะมีหลายวิธี แต่ก็ไม่หายขาดเหมือนเก่า โดยวิธีการรักษามีทั้งการรับยา การทานยาแคลเซียมเพื่อเสริมความแข็งแรงของกระดูก การเข้าเฝือก การดามเหล็ก หรือการฉีดซีเมนต์เมื่อมีอาการกระดูกแตกหรือหักหรือยุบตัว
       
       สำหรับบุคคลในบ้านที่มีความเสี่ยงต่อโรคดังกล่าว คุณหมอบอกว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน และชายที่มีอายุมากกว่า 60 ปี นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคนที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ทำงานโดยไม่ได้รับแสงแดด หรือเลือกรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ และอาจเกิดขึ้นได้เช่นกันกับคนที่รับประทานทานยาขับปัสสาวะ ยาสเตียรอยด์ และยารักษาไทรอยด์ อันเป็นยาที่เพิ่มการสลายแคลเซียม รวมทั้งโรคไต ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมเสียไป
       
       "ผู้หญิงที่มีสิทธิ์เป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่าย โดยมีข้อบ่งชี้ว่า จะต้องหมดประจำเดือนก่อนอายุ 40 ปี ถูกตัดรังไข่ 2 ข้างก่อนอายุ 45 ปี เกิดภาวะเอสโตรเจนต่ำก่อนหมดประจำเดือน มีภาวะเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการขาดฮอร์โมน ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุนก่อนอายุ 60 ปี ดังนั้นการป้องกันดีกว่าการรักษา เพื่อที่จะไม่เกิดเหตุการณ์กระดูกหักเอาง่าย ๆ ครับ" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้ออธิบายเสริม
       
       ดังนั้น การป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ เป็นสิ่งที่ทุกบ้านควรให้ความสำคัญ ซึ่งบางทีด้วยอายุ หรือปัจจัยอื่น ๆไม่สามารถไปปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ แต่อย่างไรก็ตามก็มีปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่สามารถเข้าไปปรับปรุงหรือลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อท่านนี้ให้คำแนะนำเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
       
       1. ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กะปิ กุ้งแห้ง ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว รวมถึงนมเป็นประจำ
       
       2. ออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่อร่างกายเบา ๆ เช่น การวิ่ง ยกน้ำหนัก รำกระบอง อย่างน้อย 20 นาทีต่อวันและการออกกำลังกายที่ช่วยการทรงตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการล้ม
       
       3. การโดนแสงแดดอ่อน ๆ มากกว่า 15 นาทีต่อวัน ช่วยให้ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้
       
       4. เมื่อสงสัยว่าตัวเองหรือสมาชิกในบ้านมีภาวะกระดูกพรุน ควรป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม เช่นการจัดบ้านให้เรียบร้อย แสงสว่างพอเพียง ใช้พื้นที่ไม่ลื่น ระวังเรื่องน้ำที่หกบนพื้น มีราวจับช่วยการเดิน นอกจากนี้ต้องระมัดระวังการมีสัตว์เลี้ยงและเด็ก ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้บ่อยเช่นกัน อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักในผู้สูงอายุ

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ท
       "เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์อาจพิจารณาให้เอ็กซเรย์ หรือการวัดความหนาแน่นของกระดูก (BMD) โดยทั่วไปให้ทำในหญิงอายุมากกว่า 65 ปีและชายมากกว่า 70 ปี นอกจากมีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นดังที่กล่าวมาแล้ว ซึ่งถ้าค่า BMD นี้น้อยกว่า -1 ถือว่ามีภาวะกระดูกบาง และถ้าต่ำกว่า -2.5 ถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ควรทำการรักษาโดยการใช้ยาลดการทำลายและเพิ่มการสร้างของกระดูก" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อให้แนวทาง
       
       ส่วนถ้าใคร หรือครอบครัวใดมีคนในบ้านเป็นโรคกระดูกพรุนอยู่แล้ว แพทย์อาจจ่ายยาที่ช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้ด้วย ซึ่งยาเหล่านี้ คุณหมอบอกว่า ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในการดูแลของแพทย์ หากไม่ได้รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ประสิทธิผลของยาในการลดการหักของกระดูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร แต่ยังมียาอีกชนิดหนึ่งเป็นยาชนิดฉีด เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน ใช้ฉีดปีละ 1 ครั้งทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร หรือมีปัญหารับประทานยาไม่สม่ำเสมอ และผู้ป่วยที่ลำบากในการเดินทางมาตรวจกับแพทย์
       
       อย่างไรก็ดี ในช่วงวิกฤตน้ำท่วมแบบนี้ คุณหมอบอกว่า บ้านไหนที่มีผู้สูงอายุ ควรระวังอุบัติเหตุที่อาจทำให้กระดูกหัก หรือแตกได้ง่าย
       
       "ในช่วงภาวะน้ำท่วม ขณะนี้มีผู้สูงอายุ ได้รับอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น บางคนถึงกับเกิดกระดูกสันหลังยุบตัว เพราะไปช่วยคนในครอบครัว ยกของหนัก เพื่อหนีน้ำ นำของขึ้นที่สูง บางคนเดินไปสะดุดล้ม หรือลื่นหกล้ม ซึ่งไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคนไข้ที่กระดูกมือกระดูกเท้าหักและมีคนไข้ที่กระดูกหลังยุบ เนื่องจากไปช่วยลูกหลานของตัวเองยกของ ซึ่งภายในไม่กี่วันที่ผ่านมามีคนไข้ ผู้สูงอายุเพิ่มจำนวนสูงขึ้น และส่วนใหญ่เป็นโรคกระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัวและไม่แสดงอาการ
       
       นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่น่าห่วงผู้สูงอายุในขณะนี้ก็คือควรระมัดระวัง เรื่องของการดูแลเด็กเล็กและสัตว์เลี้ยง เนื่องจากบางทีเด็กเล็กมักจะเล่นกับคุณยาย คุณย่าแรงเกินไป หรือไปอุ้มผิดท่าผิดจังหวะ อาจทำให้บาดเจ็บ และเกิดอาการกระดูกสันหลังยุบตัว หรือข้อมือข้อเท้าหักได้ หรือบางครั้งผู้สูงอายุชอบเลี้ยงสัตว์ เช่น สุนัข เวลาจูงออกไปเดินเล่นอาจเกิดลื่นหรือหกล้ม ทำให้เกิดกระดูกหักได้" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อเผย
       
       ดังนั้น เมื่อกระดูกซึ่งเป็นโครงสร้างของร่างกายไม่แข็งแรง หรือมีความโปร่งบางและตัวเนื้อกระดูกก็ไม่แข็งแรงเท่าเดิม แม้สะดุดล้มเบา ๆ ก็อาจเกิดกระดูกหักได้โดยง่าย ทางที่ดีเราควรเรียนรู้ และรู้ทันภาวะกระดูกพรุนก่อนที่จะสายเกินไปกันดีกว่าครับ




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน