ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ลูกติดไวรัสโรต้า...เสี่ยงกระทบพัฒนาการ article

ลูกติดไวรัสโรต้า...เสี่ยงกระทบพัฒนาการ

 นับตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่อย่างเราก็ต้องระวังรักษาสุขภาพกันเป็นพิเศษ และเมื่อถึงเวลาที่เค้าจะลืมตาดูโลก สุขภาพของเจ้าตัวเล็กยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคงไม่มีคุณแม่คนไหนสบายใจไปได้หากลูกน้อยมีสุขภาพกายที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เอาเป็นว่าวันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเชื้อไวรัสร้ายที่อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อยที่น่ารักของคุณแม่กันได้ค่ะ
       
       เมื่อลูกน้อยเข้าสู่วัยซุกซนมือไม้ไม่อยู่นิ่ง เค้าก็มักจะหยิบสิ่งของหรือของเล่นเข้าปาก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้คือพาหะตัวร้ายที่นำเชื้อไวรัสโรต้าเข้าสู่ร่างกายของเด็ก ๆ ค่ะ เจ้าวายร้ายโรต้าสามารถทำให้เยื่อบุผนังลำไส้ฝ่อตัวจนไม่สามารถดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ได้ตามปกติค่ะ ผลที่ตามมาน่ะเหรอ เด็กจะมีอาการอาเจียน เป็นไข้ และท้องร่วงได้ ซึ่งทราบไหมคะว่าอาการท้องร่วงน่ะอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียวหากร่างกายของเด็กขาดน้ำอย่างเฉียบพลัน และเมื่อกระบวนการดูดซึมอาหารของเจ้าตัวเล็กบกพร่อง เค้าอาจจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติที่อยู่ในวัยเดียวกันค่ะ
       
       ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุไว้ว่า เด็กที่มีอาการท้องร่วงจนกระทบต่อกระบวนการดูดซึมอาหารนั้นจะมีร่างกายที่เตี้ยกว่าเด็กทั่วไปในวัยต่ำกว่า 7 ปี ราว 8.2 ซม. อีกทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีที่มีอาการท้องร่วงซ้ำบ่อย ๆ จะมี IQ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกัน 10 จุด เชียวนะคะ ทราบอย่างนี้แล้ว ประมาทไม่ได้เชียว
       
       ทำไมเด็ก ๆ ในช่วงวัย 1-2 ปีถึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรต้าน่ะเหรอคะ ก็เพราะเด็กในวัยนี้กำลังซุกซน ห้ามยังไงก็ไม่ฟัง ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ และที่สำคัญ เด็กในช่วงวัยนี้น่ะ ร่างกายของเค้ากำลังอยู่ในช่วงที่สมอง ระบบประสาทและร่างกายกำลังเจริญเติบโต การติดเชื้อวายร้ายอย่างโรต้าจะมีผลให้การเจริญเติบโตเหล่านั้นหยุดชะงัก และไวรัสโรต้าเป็นเชื้อที่ทนทานและป้องกันได้ยาก ดังนั้น วิธีการป้องกันไวรัสโรต้าที่ดีที่สุดก็คงไม่พ้นการป้องกันด้วยวัคซีนค่ะ พาเด็ก ๆ ไปปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับวัคซีนเสียตั้งแต่วันนี้แล้วคุณแม่จะอุ่นใจ เพราะยิ่งป้องกันได้เร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งมั่นใจได้มากขึ้นเท่านั้น
       
       ปัจจุบันวัคซีนมี 2 ชนิด คือชนิดที่กิน 2 ครั้งและชนิดที่กิน 3 ครั้ง โดยวัคซีนที่กิน 3 ครั้งจะให้กินเมื่อเด็กอายุ 2, 4, 6 เดือน ซึ่งจะให้การป้องกันหลัง 6 เดือน แต่สำหรับวัคซีนที่กิน 2 ครั้งจะให้เมื่อเด็กอายุ 2, 4 เดือน ซึ่งจะทำให้ได้รับการป้องกันตั้งแต่ 4 เดือน โรคนี้ ยิ่งป้องกันได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งปลอดภัยเร็วเท่านั้นค่ะ
       
       ข้อมูลอ้างอิง
       

       1. Petri WA Jr, Miller M, Binder HJ, et al. Enteric infections, diarrhea, and their impact on function and development. J Clin Invest. 2008 ;118:1277-90.
       2. Schorling JB, Guerrant RL. Diarrhoea and catch-up growth. Lancet. 1990;335:599-600.
       
       ข่าวประชาสัมพันธ์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน