ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




“เอนค่า” ระบบแก้น้ำเน่าด่วนจี๋-ฝีมือนักวิจัยไทย

“เอนค่า” ระบบแก้น้ำเน่าด่วนจี๋-ฝีมือนักวิจัยไทย

22 ธันวาคม 2554 16:55 น.

นับเป็นผลงานวิจัยเร่งด่วนที่สร้างผลงานได้ทันกับสถานการณ์สำหรับ “เอนค่า” ระบบแก้น้ำเน่าที่เกิดจากความร่วมมือของนักวิจัยกรมวิทยาศาสตร์บริการและเอ็มเทค ซึ่งร่วมมือกันพัฒนาเมื่อปลาย ต.ค.และได้นำไปใช้งานจริงแล้ว นักวิจัยเผยอาศัยองค์ความรู้ด้านผลิตยางจากน้ำยางผสานหลักวิศวกรรมได้เป็นสารจับตะกอนและเครื่องเติมอากาศทำงานร่วมกันเพื่อเปลี่ยนน้ำดำเป็นน้ำใส
       
       ระบบเอ็นค่า (nCA) คือระบบที่ทำให้น้ำเน่าเสียกลายเป็นน้ำใสและมีออกซิเจนสูงขึ้น ซึ่งร่วมกันพัฒนาโดยนักวิจัยกว่า 10 คนจาก
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ซึ่งประกอบด้วยสารจับตะกอนน้ำเพื่อให้น้ำใสที่เรียกว่าเอ็น-เคลียร์ (nCLEAR) ซึ่งทำให้น้ำเน่าสีดำตกตะกอนใน 30 นาที และเครื่องเติมอากาศด้วยปั๊มที่เรียกว่าเอ็น-แอร์ (nAIR) โดยมีการทดสอบการใช้งานจริงในพื้นน้ำท่วมสูง 30-40 เซ็นติเมตรในหมู่บ้านทรงพล ชุมชนแถบคลอง 2 ลำลูกกา จ.ปทุมธานี และช่วยให้น้ำที่เน่าเหม็นในปริมาตร 8,800 ลูกบาศก์เมตร กลายเป็นน้ำใสและไม่เหม็น
       
       ดร.วรรณี ฉินศิริกุล ผู้อำนวยการหน่วยวิจัยพอลิเมอร์ เอ็มเทค ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยพัฒนาระบบเอ็นค่า เผยแก่ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ว่า จากปัญหาน้ำเน่าที่เกิดขึ้นระหว่างอุทกภัยนั้นได้ชวนเพื่อนๆ นักวิจัยมารวมตัวกันคิดว่าจะช่วยแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งทางเอ็มเทคมีพื้นฐานความรู้เดิมที่ดีเกี่ยวกับสารจับตะกอนอยู่แล้ว และให้วิศวกรจาก วศ.ก็ช่วยออกแบบเครื่องเติมอากาศที่ชาวบ้านสามารถประยุกต์ทำเองได้
       
       “เราทำงานกันแทบทุกวันและได้นำระบบไปทดลองกับน้ำจากคลองแสนแสบ โดยเราได้ไปตั้งสถานีที่ทดสอบกับที่วัดใหม่ช่องลม เพื่อดูว่าระบบของเราทำงานได้จริงหรือไม่ จากนั้นได้ส่งตัวอย่างน้ำและตะกอนทดสอบที่ห้องปฏิบัติการเอกชน โดยค่าใช้จ่ายในการพัฒนาระบบที่คิดเป็นเงินหลักแสนบาทนั้นส่วนใหญ่ใช้เพื่อการทดสอบคุณภาพของน้ำและตะกอน ซึ่งแพงมาก” ดร.วรรณีกล่าว ส่วนระบบเอ็นค่านั้นมีต้นทุนการผลิตอยู่ในหลักพันบาท
       
       ด้าน ดร.สุรพิชญ ลอยกุลนันท์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการยาง เอ็มเทค ที่ร่วมในการวิจัยครั้งนี้กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ฯ ว่า นักวิจัยเอ็มเทคมีบทบาทในการพัฒนาระบบนี้ เพราะส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางด้านเคมี และส่วนตัวเขาทำงานวิจัยยาง ซึ่งน้ำยางนั้นมีลักษณะคล้ายน้ำขุ่นๆ มีอนุภาคเล็กๆ แขวนลอยในน้ำ และการจะเอายางมาใช้ได้ต้องหาสารจับตัวยางออกจากน้ำก่อน จึงมีความรู้ที่นำมาประยุกต์หาสารจับตะกอนได้
       
       ส่วนเครื่องเติมอากาศนั้นทาง ดร.กรธรรม สถิรกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ โครงการฟิสิกส์และวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่าปัญหาสำคัญของน้ำเสียคือออกซิเจนต่ำ ทำให้จุลินทรีย์ที่บำบัดน้ำทำงานได้น้อยลง จึงต้องหาทางเพิ่มออกซิเจนในน้ำ โดยหลังจากเติมสารตกตะกอนแล้ว จึงใช้เครื่องเติมออกซิเจน ซึ่งเครื่องเติมอากาศหรือออกซิเจนนี้มีหลายประเภท แต่ทีมวิจัยได้เลือกพัฒนาเครื่องที่ใช้เครื่องสูบน้ำขนาดเล็กหรือปั๊มไดโว่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ซื้อเตรียมไว้ป้องกันน้ำท่วมอยู่แล้ว แต่ในกรณีที่ป้องกันน้ำท่วมไม่ได้ก็สามารถนำมาปรับปรุงเป็นเครื่องเติมอากาศแก้ปัญหาน้ำเน่าได้
       
       “เครื่องเติมอากาศของเราจะผลิตฟองเล้กๆ ซึ่งเติมอากาศได้ดีกว่าฟองขนาดใหญ่ เพราะฟองเล็กๆ จะมีพ้นผที่สัมผัสในการแลกเปลี่ยนอากาศเยอะกว่าและอยู่ในน้ำได้นานกว่าฟองขนาดใหญ่ โดยฟองขนาดใหญ่จะลอยขึ้นเหนือผิวน้ำเร็วกว่าฟองขนาดเล็กและแลกเปลี่ยนอากาศได้น้อยกว่า” ดร.กรธรรมบอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ถึงคุณสมบัติของเครื่องเติมอากาศในระบบเอ็นค่า และบอกด้วยว่าความร่วมมือระหว่าง วศ.และเอ็มเทคครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก




การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก

บุกค้นโรงงานปุ๋ยเถื่อนเมืองกาญจน์ ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
เฟซบุ๊กทดสอบการปลดล็อก ID ด้วยวิธีสแกนใบหน้า
เปิดโรดแมพ5ปีนวัตกรรมชาติ ยกระดับ‘สมุนไพร-ยานไร้คนขับ’
เทคโนโลยี AR และ VR และ 360 องศา
อียูการันตี“แล็บไทย”มาตรฐานโลก
ลืม Wi-Fi ได้เลย และเตรียมพบกับอินเทอร์เน็ต Li-Fi
รถที่ถูกที่สุดในโลก “TATA NANO 2016” ถูกสุด 50,000 บาท
มีอะไรลึกลับบ้าง? เมื่อ 'เฟซบุ๊ก' ประกาศเปิดสำนักงานในไทย!
วิธีปิด OneDrive บน Windows 10 ป้องกันเปลืองเน็ต
′นิสสัน ลีฟ′ รถไฟฟ้าไร้มลพิษ 100% ′โอกาส-ตัวเลือก′ที่คนไทยจะได้ใช้รถรักษ์สวล.
สุดสร้างสรรค์, ทีมนักศึกษาชิลีร่วมสร้างจักรยานคันแรกของโลกที่ไม่สามารถขโมยได้ (คลิป)
ฮือฮา พบ "ปูอวกาศ" ในภาพถ่ายจากดาวอังคาร !!
รายได้ไตรมาส 2 กูเกิล เกินคาด
สุดอัศจรรย์..วันที่โลกต้องจารึก! ไกล 3 พันล้านไมล์ก็ไปถึง ยานนิว ฮอไรซันส์พิชิตดาวพลูโต
Microsoft คอนเฟิร์ม ผู้ที่ใช้งานตัว Preview จะได้รับ Windows 10 ของแท้ไปเลยฟรีๆ !!
สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รุ่นแรกของค่าย BlackBerry (โค้ดเนม Praque) จะเปิดตัวในเดือนสิงหาคม article
สุดเจ๋ง!! นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา “สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า” ได้แล้ว article
โทรศัพท์มือถือ เต็มไปด้วยเชื้อโรค article
′สสวท′ผุดเกมคณิตพิชิตเงินล้านสอน ป.5-6 ดาวน์โหลดได้เลย article
หิมะเทียม เร่งการเกิดสนิม article
แบตฯสำรองไฮเทค เล็กพริกขี้หนู article
ตู้เย็นนาโน article
วิธีใช้ wi-fi สาธารณะอย่างปลอดภัย article
Yahoo ยุติบริการ 'Yahoo Directory' จุดเริ่มต้นของบริษัท
มาทำความรู้จักกับ…..เห็ดโต่งฝนกันเถอะ
ขู่ปิดถนน ทั่วประเทศ 3ก.ย. ม็อบยางเดือด!
ทำความเข้าใจทีวีอนาคต จากจออนาล็อกสู่ดิจิตอล
ขั้วโลกดาวพุธ 'นาซา' พบ 'น้ำแข็ง-สารอินทรีย์'
เตาเผา กำจัดขยะรูปแบบใหม่...เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครั้งแรกในกรุง article
เผยไอโฟน5บางสุดขีด
Ubi-Camera ถ่ายรูปด้วยนิ้วมือ
ระบบดูแลผู้สูงอายุผ่านมือถือ
ไอซีทีเปิดแอพพลิเคชั่นรับสงกรานต์
VoiceTV ระงับให้บริการบน iOS ชั่วคราว
สมาร์ทโฟนหม้อหุงข้าว
เครื่องพิมพ์สแกน3มิติ
สวทช.เปิดศูนย์นวัตกรรมพิมพ์อัจฉริย
สำรวจโลกประหลาด
พลิกการศึกษา-พัฒนาแล้วนะจ๊ะ article
ฉลาดใช้ประฏิวัติแนะนำให้มีไว้ติดตัวจ้า!! article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน