ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




จับตา 5 กลุ่มเตรียมรณรงค์ให้ความรู้ ปชช.โรคเฝ้าระวังปี 55 article

จับตา 5 กลุ่มโรคเฝ้าระวังปี 55 เตรียมรณรงค์ให้ความรู้ ปชช.

3 มกราคม 2555 10:39 น.

นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ
       คร.เผยโรค 5 กลุ่ม ต้องจับตาเฝ้าระวังในปี 55 เตรียมรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันสุขภาพเชิงบูรณาการ หลังพบสารพัดโรครุมเร้าปี 54 ทั้งทางเดินหายใจ -ทางเดินอาหารและโรคจากสัตว์ จากแมลง
       
       นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ กล่าวถึงสถานการณ์การป้องกันและรับมือเกี่ยวกับโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นใน ปี 2555 ว่า เนื่องจากสถานการณ์สุขภาพในปัจจุบันเริ่มเปลี่ยนไป ทั้งจากการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมอาหาร และการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและเกิดภัยพิบัติธรรมชาติ ดังนั้นโอกาสที่ประชาชนจะเสี่ยงต่อการเผชิญโรคภัยก็ต้องมีมากขึ้นด้วย โดยกลุ่มโรคที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งทางกรมฯ ต้องเฝ้าระวังและรณรงค์ให้ประชาชนมีการป้องกันตัวเองอย่างบูรณาการมีทั้งหมด 5 กลุ่มโรค คือ 1 .โรคระบบทางเดินหายใจ อันได้แก่โรคไข้หวัดใหญ่ 2.โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ได้แก่ ไข้ฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซิส และไข้หวัดนก 3 .โรคหูดับ 4.โรคระบบทางเดินอาหารและน้ำ และ 5.โรคติดต่อนำโดยแมลง ได้แก่ โรคไข้เลือดออกทั้งแบบธรรมดาและแบบรุนแรง โรคมาลาเรีย จึงอยากให้ประชาชนได้มีการติดตามสถานการณ์การรายงานของกรมฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ปฏิบัติตาคำแนะนำอย่างถูกต้อง

       นพ.ภาสกร อัครเสวี ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา กล่าวว่า อุบัติการณ์ของโรคไข้หวัดในปี 2554 (1 ม.ค. -16 ธ.ค. )พบผู้ป่วย 50,000 รายจากเดิมที่เคยมีถึง 100,000 ราย เสียชีวิต 7 ราย มีอัตราป่วยลดลงกว่าครึ่ง ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดี แต่ที่ต้องเฝ้าระวังต่อเนื่อง เพราะโรคนี้เกิดขึ้นในกลุ่มประชากรเคลื่อนย้ายที่มักพบในกลุ่มแรงงานทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือที่มีอากาศหนาวจัด และเกิดการระบาดมากที่สุดโดยมีอัตราป่วยเฉลี่ยอยู่ที่ 135 รายต่อแสนประชากร สำหรับโรคระบบทางเดินอาหารที่พบในประเทศไทยส่วนมากเป็นอาหารเป็นพิษ โดยในปี 2554 (1 ม.ค.-14 พ.ย. )พบผู้ป่วยทั่วประเทศ 85,712 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 134 รายต่อแสนประชากร เสียชีวิต 3 ราย พื้นที่ที่พบป่วยมากที่สุดได้แก่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเฉลี่ย 206 รายต่อแสนประชากร และพบน้อยที่สุดในภาคใต้มีอัตราป่วยเฉลี่ย 42 ราย ต่อแสนประชากร ซึ่งทาง สธ.ต้องเฝ้าระวังการรับประทานอาหารที่ปรุงไม่สะอาดของประชาชน ใช้ภาชนะที่สกปรก ดังนั้นต้องรณรงค์เรื่องของการบริโภคให้พิถีพิถันมากขึ้น ขณะที่สถานการณ์โรคไข้หวัดนกนั้นแม้ไทยไม่พบการระบาดแต่ เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีการระบาดอยู่จึงต้องเฝ้าระวังด้วย ส่วนโรคไข้ฉี่หนู ถือว่ายังต้องพัฒนาแผนการเฝ้าระวังให้มากขึ้น โดยปี 2554 (1 ม.ค.-14 ธ.ค.)พบระบาดอยู่ที่ 3,699 ราย เสียชีวิต 66 ราย คิดเป็นอัตราป่วยเฉลี่ย 5 รายต่อแสนประชากร พบมากที่สุดคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบป่วยเฉลี่ย 11 รายต่อแสนประชากร และภากลางพบป่วยน้อยสุด คือ มีอัตราป่วยเฉลี่ย 0.67 ราย ซึ่งกรมฯ ต้องเร่งดำเนินการณรงค์ให้ประชาชนมีการป้องกันอย่างถูกต้อง
       
       นพ.ภาสกร กล่าวต่อว่า สำหรับอัตราการป่วยโรคหูดับหรือ โรคติดเชื้อสเตปโตค็อกคัส ซูอิส นั้นสถิติล่าสุดเป็นปี 2553 พบผู้ป่วย 185 ราย เสียชีวิต 12 ราย โดยพบมากในช่วงฤดูร้อน และที่น่าห่วงคือ โรคนี้เกิดขึ้นแบบฉับพลันหากติดเชื้อรุนแรงก็เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ภายใน 1 สัปดาห์ โดยโรคหูดับเกิดจากการบริโภคอาหารดิบแล้วติดเชื้อ เช่น ลาบ ลู่ หรือหมูกระทะที่ปิ้งย่างไม่สุก ซึ่งมีเชื้อแบคทีเรีย สเตปโตค๊อกคัสฯ ที่สามารถเข้าไปทำลายเยื่อหุ้มสมอง หรืออาจเกิดติดเชื้อในกระแสโลหิตจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด ทั้งนี้ เชื่อว่า ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ตกรายงานจากภาคท้องถิ่นอยู่มาก เพราะอาจเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุและแพทย์อาจไม่ได้วินิจฉัย
       
       “สำหรับโรคติดต่อนำโดยแมลง นั้นได้แก่ ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ซึ่งมีพาหะจากยุง โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกนั้นมี 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคไข้เลือดออกทั่วไปมีรายงานผู้ป่วยระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-13 ธ.ค. 2554 พบผู้ป่วย 63,971 ราย เสียชีวิต 59 ราย และไข้เลือดออกชนิดรุนแรง พบป่วย 1,214 ราย เสียชีวิต 43 ราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ ขณะที่สถานการณ์ไข้มาลาเรียพบป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ (1 ม.ค.-19 ธ.ค. 2554 ) จำนวน 19,524 ราย ซึ่ง ในปี 2555 คงต้องเน้นเรื่องการกำจัดพาหะของโรค นั่นคือ ยุงลายและยุงก้นปล่อง” นพ.ภาสกร กล่าว

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน