ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




รู้จักดีแล้วหรอ

 เซลล์เนื้องอกHER2 บวก

แม้จะป่วยเป็นโรคเดียวกัน แต่เมื่อโรคนั้นเป็นในอีกคน ก็ถือว่ามีความแตกต่างกัน ตอบสนองต่อการรักษาไม่เหมือนกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม ที่มีผลตรวจ HER2 เป็นบวก

ในงานแถลงข่าว "นวัตกรรมล่าสุดในการตรวจวินิจฉัยเพิ่มโอกาสการหายให้ผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทย" นั้น ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ วรรณไกรโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย เผยว่า...

"HER2 (Human epidermal growth receptor 2) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง พบได้บนพื้นผิวของเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเติบโตของเซลล์ และการแบ่งเซลล์ เมื่อเซลล์ผลิต HER2 มากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดการเติบโตของเนื้องอกที่รวดเร็วและผิดปกติ"

อีกนัยหนึ่ง แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่มีผล HER2 เป็นบวก จะมีการเติบโตของเนื้องอกที่รวดเร็วกว่าปกติและแพร่กระจายได้มากกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่มีผล HER2 เป็นลบ อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งที่มีผล HER2 เป็นบวกยังไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ฮอร์โมน แต่จะตอบสนองต่อการรักษาที่ใช้ยา Trastuzumab ซึ่งเป็นยาที่มุ่งเน้นไปที่ตัวรับ HER2

ด้าน โรช ไดแอกโนสติกส์ (ประเทศไทย) ระบุว่า ร้อยละ 25-30 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และราวร้อยละ 20 ของผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร มีปริมาณโปรตีน HER2 มากเป็นพิเศษบนพื้นผิวของเซลล์เนื้องอก

อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยของแพทย์ว่า ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมีผล HER2 เป็นบวกหรือไม่ ต้องอาศัยผลการตรวจพิเศษ คือ การนำชิ้นเนื้อบริเวณที่สงสัยไปย้อมน้ำยาตรวจเฉพาะ หรือการย้อมสีด้วยมือ แล้วดูผ่านกล้องไมโครสโคป ซึ่งต้องให้นักพยาธิวิทยาเป็นผู้ทำการตรวจ กินระยะเวลานานถึง 36 ชั่วโมง จึงทราบผลตรวจ และเสี่ยงการปนเปื้อน ส่งให้เกิดความผิดพลาดในผลตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อได้

ล่าสุด ศ.นพ. โธมัส โกรแกน ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านพยาธิวิทยา มหาวิทยาลัยแอริโซนา (สหรัฐอเมริกา) และผู้บุกเบิกด้านการตรวจวิเคราะห์ชิ้นเนื้อ เผยว่า มีนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อแบบอัตโนมัติ ในรูปแบบของเครื่องย้อมสีชิ้นเนื้ออัตโนมัติ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และให้ผลตรวจได้ภายใน 12 ชั่วโมง จึงถือว่าแม่นยำและรวดเร็วกว่าการทำโดยมนุษย์

ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ กล่าวเพิ่มว่า “อยากสนับสนุนให้ประเทศไทยได้ใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการตรวจชิ้นเนื้ออย่างเต็มที่ เพื่อให้การรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายมีความเหมาะสมและดีที่สุด นอกจากนั้น ขอแนะนำให้ผู้หญิงไทยตรวจเต้านมตนเองเป็นประจำ และไปพบแพทย์เมื่อพบว่ามีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น เพื่อป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านม”

ทั้งนี้ ศ.นพ.พงษ์ศักดิ์ ยังเผยถึงเรื่องราวของ HER2 เพิ่มเติมไว้ในคลิปวิดีโอ นอกจากนี้ ‘มุมสุขภาพ’ ยังพาดูรูปลักษณ์และการทำงานของเครื่องตรวจวินิจฉัยชิ้นเนื้อแบบอัตโนมัติด้วย.




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน