ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เกี่ยวกับเท้า จะสักกี่คน ที่เฝ้าระวังว่าเท้าเราป่วย

   การที่คนเราดำเนินกิจวัตรประจำวัน 
แต่จะมีสักกี่คนที่เฝ้าระวังว่าเท้าเราป่วยหรือยัง  ???
                                                        

โดยเฉพาะผู้ที่ต้องประกอบอาชีพหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ที่ทำให้เท้านั้นถูกใช้งานมากเกินไปรวมทั้งใส่รองเท้าที่มีลักษณะที่อาจทำให้โครงสร้างเท้านั้นผิดปกติและผิดรูปไป
โรคที่เกี่ยวกับเท้า

1.) โรค Hallux varus คือ การที่นิ้วหัวแม่เท้าผิดรูป เนื่องจากการถูกเบียดเป็นเวลานาน คนไข้บางราย อาจมีอาการปวดอย่างรุนแรง และไม่สามารถเดินหรือวิ่งได้ตามปกติ


วิธีการรักษา 

  1.  ผ่าตัด  เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง และผลจากการผ่าตัดนั้นอาจไม่ช่วยให้โครงสร้างของนิ้วหัวแม่เท้า กลับเข้าสู่สภาพปกติ

  2. การใช้วัสดุเข้าเฝือก  เป็นวิธีที่มีความปลอดภัย และคนไข้สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ

วิธีการป้องกัน

  1. ควรเลือกใส่รองเท้าที่ไม่คับหรือแน่นจนเกินไป โดยเฉพาะรองเท้าแฟชั่นหัวแหลม

  2. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายและประกอบกิจกรรม ที่เสี่ยงให้นิ้วหัวแม่เท้าสัมผัสกับรองเท้า มากจนเกินไป

 2.)  โรค Flat foot , Lap foot ( Pes planus )  คือ  ความผิดปกติของฝ่าเท้าที่แบนราบเป็นกรรมพันธุ์  ซึ่งเด็กและวัยรุ่นสมัยนี้จะเป็นกันมาก เพราะชอบใส่รองเท้าแตะเป็นเวลานานๆ  ทำให้เสียสมดุลของร่างกาย , เหนื่อยง่าย , มีอาการปวดข้อเท้าบ่อยๆ ซึ่งทำให้เกิดโรคข้อเท้าเสื่อม ( Rheuma – tioid Arthritis )

วิธีการรักษา

  1.  ใส่ฟื้นรองฝ่าเท้าซึ่งอาจเป็นวัสดุซิลิโคน หรือตัดพื้นรองเท้าให้ถูกตามลักษณะที่จะช่วยพยุงอุ้งเท้า

  2. ไม่มีการผ่าตัดเพราะไม่จำเป็น

3.) โรคตาปลา  (Corn) คือ  การที่ผิวหนังด้านหนาและแข็งเนื่องจากแรงเสียดสีและแรงกด ตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ บริเวณฝ่าเท้าและนิ้วเท้า เนื่องจากการที่ใส่รองเท้าคบแน่นจนเกินไป  และการที่ผิวหนังบริเวณเท้าแห้ง และขาดความชุ่มชื่นก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง

วิธีการรักษา

  1. ปรับสภาพผิวบริเวณที่เป็นตาปลาโดยใช้มีดโกนขูดออก , ใช้เครื่องกรอ

  2. หากมีรากตาปลาที่ลึกมากอาจใช้ Duofilm (ดูโอฟิล์ม) ทาบริเวณนั้น หรือใช้แก๊สไนโตรเจนเหลวฉีดพ่นบริเวณที่เป็นตาปลา ที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเชียส จะทำให้รากของตาปลาตาย

วิธีการป้องกัน

  1. ดูแล หมั่นทำให้เท้าไม่แห้ง  ทาครีมบำรุงอย่างสม่ำเสมอ

  2. อย่าให้เท้าเสียดสีหรือเกิดแรงกดกับรองเท้า

4.)  หูด ( Wart )
เกิดจากเชื้อไวรัส ชนิด เอชพีวี (HPV) เมื่อเชื้อไวรัสแทรกซึม เข้าสู่ใต้ชั้นเซลล์ผิวหนัง ก็จะเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว กลายเป็นหูดงอก ออกจากผิวหนังส่วนนอก

หูดชนิดทั่วไป (Common warts)  จะมีลักษณะเป็นตุ่มแข็งนูนสีเหลืองหรือน้ำตาล ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-10 มิลลิเมตร                                                                                                                                                       
หูดชนิดเป็นติ่ง (Filiform warts)  จะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้องอกแล้วแต่ตามขนาดใหญ่-เล็ก

วิธีการรักษา

  1.   ปรับสภาพผิวหนังโดยให้หัวกรอ ขจัดเซลล์บริเวณนั้นออกและใช้โฟมส่วนผสมยูเรีย 5% ทาบริเวณนั้นอย่างสม่ำเสมอ

  2.  การผ่าตัดเล็ก เพื่อกำจัดหูดที่มีขนาดใหญ่ออกและใช้ไนโตรเจนเหลวจี้บริเวณหูด

วิธีการป้องกัน

  1. อย่าเกาบริเวณที่เป็นหูด

  2. ทำให้ผิวหนังบริเวณเท้าชุ่มชื่นไม่แห้งกร้าน

5.)  ส้นเท้าแตก ( Craeked Heels )เป็นโรคที่คนไทยส่วนใหญ่มากกว่า 50% มีปัญหามากเหตุเพราะเท้าแห้ง (xerosis) และเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย บางรายอาจมีอาการอักเสบรุนแรง หรือความยาวของขาทั้งสองข้าง ไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงกดมากบริเวณส้นเท้า

วิธีการรักษา
1.)   ทำการปรับสภาพผิวหนังบริเวณส้นเท้าที่แตก โดยอาจใช้มีดโกนขูดออกจากนั้นใช้เครื่อง Podolog  กรอบริเวณผิวหนังให้ผิวเรียบ ขจัดเซลล์บริเวณนั้นออกและใช้โฟมส่วนผสมยูเรีย 5% ทาบริเวณนั้นอย่างสม่ำเสมอ
2.)   เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังโดยใช้ครีมโฟมที่มีส่วนผสมของยูเรีย 5% ถึง 9%

6.)  เล็บขบ  (Unguis Incarnatus) คือเกิดจากเล็บที่งอกลึกลงไปในชั้นผิวหนังบริเวณรอบๆ เล็บเท้า สามารถทำให้มีอาการปวดอย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอาการอักเสบ  เป็นหนอง  หรือมีอาการติดเชื้อ

  1. เกิดจากการที่เราใส่รองเท้าและถุงเท้าที่รัดเกินไปจนกระดูกนิ้วเท้าเบียดซ้อนเกยกัน

  2. เกิดจากการตัดเล็บที่ไม่ถูกต้อง หรือลึกจนเกินไป

  3. เกิดจากการที่นิ้วเท้ามาซ้อนเกยหรือเบียดกัน

  4. เกิดจากการที่ปลายนิ้วเท้าไปชนหรือกระแทกของแข็งอย่างแรง หรือจากการเล่นกีฬา เทนนิส แบตมินตัน ฟุตบอล บาสเตบอล กีฬาเหล่านี้จะถำให้กระดูกนิ้วทำทำงานหนัก

วิธีการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญด้านโพโดจิสต์จะมีกรรไกรตัดเล็บชนิดพิเศษ ที่ทำมุมองศาในการตัดเอาเล็บขบออกได้  และมีเครื่องเซาะเล็บไฟฟ้า  โดยจะไม่ใช้วิธีถอดเล็บซึ่งจะทำให้เจ็บมากและแผลอาจจะติดเชื้อได้ง่าย ทำให้เล็บที่งอกออกมาใหม่ไม่สวยงาม  จากนั้นจะใช้วิธีจัดเล็บโดยใช้วัสดุยกแผ่นเล็บขึ้นเพื่อแก้ปัญหาแบบถาวร
วิธีการป้องกัน

  1. ควรตัดเล็บให้ถูกวิธีทางโครงสร้าง คือ ตัดในแนวตรงและด้านบนตัดแบบจอบ

  2. ใส่รองเท้าที่มีขนาดพอดี ใส่สบายไม่คับแน่นเกินไป

  3. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสียดสีหรือ การชนกระแทก

                คุณรู้หรือไม่ว่าความเครียดส่งผลต่อสุขภาพเล็บและทำให้เล็บผิดปกติ (Nail Psoriasis)  ความเครียดนอกจากจะส่งผลกระทบต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน เช่น หลอดเลือด , คลอเลสเตอรอล , หัวใจ  ฯลฯ  ซึ่งจากการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญชาวเยอรมัน พบว่าความเครียดส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตและโครงสร้างของเล็บมือ , เล็บเท้า

ลักษณะอาการที่สังเกต
คือคุณไม่ได้ทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเป็นเชื้อราที่เล็บ แต่ทำไมเล็บคุณถึงได้ผิดปกติ เช่น เปื่อย  เป็นคลื่นลอน  เล็บแตก  ถ้าโดยผิวเผินจะมีลักษณะเหมือนเชื้อรา ดังนั้นการทาครีมป้องกันเชื้อรา หรือการทายาจึงจะไม่ได้ผลในการรักษา

วิธีการรักษา

  1. ทำการแก้ไขบริเวณเล็บที่ผิดปกติ โดยโพโดโลจิสต์ จะมีความเชี่ยวชาญในการปรับสภาพเล็บโดยใช้เครื่องมือที่ทันสมัย

  2. การลดความเครียด , พักผ่อนให้เพียงพอ

  3. การทานวิตามินและอาหารที่ช่วยบำรุงเล็บจำพวกโปรตีน(เคราตีน) ธาตุเหล็ก  แคลเชียม  สังกะสีซึ่งพบมากใน ถั่ว  นม  พืชผัก  เนื้อสัตว์

7).โรคเล็บกระเบื้อง Gryposis คือการที่เล็บได้รับการเสียดสี หรือ กระแทกจากการทำกิจกรรมเสี่ยง ทำให้อากาศเข้าไปแทรกตัวในชั้นเซลล์เล็บ ทำให้เล็บสร้างตัวเป็นชั้นหนาๆ ทำให้เชื้อโรคเช่นแบคทีเรีย ไปแทรกตามชั้นเล็บ สีเล็บจะเข้มและหนามาก หากไม่รักษาจะทำให้เล็บเสีย

วิธีการรักษา
1).ทำการกรอเล็บให้บางที่สุดจน ถึงชั้นปกติ
2).ทำการพ่นไฮโดรเจ้น  เปอร์ออกไซด์ 3 เปอร์เซ็นต์เพื่อทำความสะอาดเล็บและฆ่าเชื้อโรค
3).ตัดแต่งเล็บให้ถูกต้องตามลักษณะทางโครงสร้าง
4.)ใช้น้ำมันบำรุงเล็บทาสม่ำเสมอ

8).เล็บเหลืองจากการทาเล็บเป็นเวลานาน การที่สุภาพสตรีทาเล็บเป็นเวลานาน จะทำให้เล็บขาดการแลกเปลี่ยนออกซิเจน ที่จะช่วยในการเจริญเติบโตของเล็บ และผลัดเซลล์เล็บ ทำให้เล็บเป็นสีเหลือง หรือ สีเข้ม    ดังนั้นไม่ควรที่จะทาเล็บติดต่อกันเป็นเวลานาน และหมั่นทำความสะอาดเล็บโดยใช้แปรงอ่อนขัด ถู ก็จะช่วยให้เล็บไม่เหลืองได้

วิธีการรักษา
1). ทำการกรอชั้นเล็บที่เหลืองออกโดยใช้หัวกรอแบบละเอียด
2).พ่นสเปรย์รักษาเล็บและตัดแต่งให้สวยงาม
3.)ใช้น้ำมันบำรุงเล็บทาสม่ำเสมอ
เล็บเป็นอวัยวะส่วนที่ปกป้องและส่วนที่ทำให้นิ้วมือและเท้ามีความมั่นคง ซึ่งเล็บทั้งสิบนิ้วนี้เองที่เป็นส่วนให้ความสวยงามแก่นิ้วมือและนิ้วเท้า เมื่อเราเป็นเด็กการเจริญเติบโตของเล็บก็จะสมบูรณ์และไวกว่าผู้สูงอายุ  รวมทั้งความหนาของเล็บด้วย ซึ่งทางการแพทย์เยอรมันได้จำแนกความผิดปกติของเล็บไว้ดังนี้

9.) โรคเล็บพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว (Onych oschisis) เกิดจากการที่เล็บงอกไม่สมบูรณ์ ทำให้เล็บบริเวณขอบเล็บ และแผ่นเล็บไม่สัมผัสกัน , หรืออีกสาเหตุเกิดจากการทำงานที่ต้องได้รับความเปียกชื้น อยู่ตลอดเวลา เช่น การล้างมือ , ล้างจาน , การทำงานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่นช่างทำเล็บ ,ทำสีผม ฯลฯ
อาการเซลล์เล็บบริเวณขอบเล็บจะถูกทำลาย มีสีขาวซีดและจะลามไปจนถึงแผ่นเล็บและส่วนเล็บชั้นใน บางครั้งมีอาการแสบคัน

วิธีการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญจะทำการตัด ทำการตัดแต่งเล็บที่เสียออกและทำการบำรุงรักษาเล็บที่ดีไว้ ซึ่งคนไข้ต้องหลีกเลี่ยงการโดนน้ำ , น้ำสบู่ คือสารเคมี  ใส่ถุงมือเวลาทำกิจกรรมเสี่ยง

10.) โรคเล็บม้วน (Tubenail) คือความผิดปกติของเล็บที่เป็นมากโดยเฉพาะนิ้วโป้งเท้า  ส่วนมากจะเกิดกับสตรีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และเกิดจากความผิดปกติโดยกำเนิด
อาการคือแผ่นเล็บ จะม้วนตัวเข้าด้านข้างของผิวหนังบริเวณนิ้วเท้าทั้ง 2 ด้าน จะมีอาการปวดมากเพราะเล็บจะม้วนฝังเข้าไปในชั้นผิวหนัง บางรายอาจมีอาการอักเสบ  เป็นหนอง ติดเชื้อ

วิธีการรักษา
ผู้เชี่ยวชาญจะทำการจัดเล็บ และตัดแต่งเล็บเพื่อปรับโครงสร้างจากการเจริญของเล็บในองศาที่ถูกต้อง





แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน