ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




แก้ได้น่ะสมุนไพรฝาง

ประโยชน์ฝางมากมาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Caesalpinia sappan Linn.

ชื่อสามัญ : Sappan

ชื่อวงศ์ : CAESALPINIACEAE

ชื่อสมุนไพรอื่น ๆ : ฝางเสน (กลาง), ฝางส้ม (กาญจนบุรี), ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่),โซปั้ก (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :

ต้น : สมุนไพรฝางเป็นพรรณไม้ยืนต้นที่มีขนาดกลาง ตามลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนาม ซึ่งโคนหนามนี้พองคล้ายกับฐานนม

ใบ : เป็นไม้ใบรวม ลักษณะการเรียงใบคล้ายกับใบหางนกยูงไทย มีสีเขียว

ดอก : ฝางออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ดอกมีสีเหลืองกลางดอกเป็นสีแดง

ผล : เป็นฝักรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ ฝักของฝางนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือชนิดแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม” และ แก่นสีแดงเข้มเรียกว่า “ฝางเสน” ตรงปลายฝักนี้จะยาวแหลมยื่นออกมาเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่เจริญงอกงามได้ดีในดินที่ร่วนซุยสามารถให้ร่มเงาแก่เราได้ แต่ก็เป็นต้นไม้ที่ให้ร่มเงาขนาดเล็ก ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ

ฝาง สมุนไพร ฝักสมุนไพรฝางลักษณะรูปสี่เหลี่ยม แข็ง สีน้ำตาลเข้ม และที่ผิวฝักจะมีลายจุด ๆ แต้มอยู่ ซึ่งรูปร่างนั้นจะคล้ายกับถั่วแปบ

ส่วนที่ใช้ : แก่น (เลือกที่มีสีแดงเข้มที่สุด)

สารประกอบทางเคมี:

แก่นฝางพบสารกลุ่ม flavonoid ชนิด 7-hydroxy-3-(4’-hydroxybenzylidene)-chroman-4-one, 3,7-

dihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-chroman-4-one, 3,4,7-trihydroxy-3-(4’-hydroxybenzyl)-

chroman, 4,4’-dihydroxy-2’-methoxychalcone, 8-methoxybouducellin, quercetin, rhamnetin

และ ombuin (Namikoshi et al., 1987) สารกลุ่ม sterols ชนิด beta-sitosterol 69.9%, campesterol

11.2% และ stigmasterol 18.9% (Oh et al., 1998) brazilin, brazilein, protosappanin E และ

taraxerol

สรรพคุณของสมุนไพร :

เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด  ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน  ยาบำรุงโลหิตสตรี  ขับประจำเดือน  แก้ปอดพิการ  ขับหนอง  แก้โลหิตออกทางทวารหนักและเบา  รักษาน้ำกัดเท้า  แก้คุดทะราด  แก้เสมหะ  แก้เลือดกำเดา

ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ  แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ

ฝาง สมุนไพร เนื้อไม้และแก่นฝาง รสขื่นขนหวานฝาด ใช้แก้ปวดท้องร่วง แก้ธาตุพิการ แก้ร้อน ยาบำรุงโลหิตสตรี ขับประจำเดือน ฯลฯ

วิธีใช้เป็นยาขับประจำเดือน ใช้แก่น  5-15  กรัม  ต้มกันน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เติมเนื้อมะขามเปียกที่ติดรกอยู่ (แกะเมล็ดออกแล้ว)  ประมาณ  4-5  ฝัก  เคี่ยวให้เหลือ  1 แก้ว  รับประทานเช้า – เย็น

วิธีใช้เป็นยารักษาน้ำกัดเท้า ใช้แก่น  2  ชิ้น  ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ ทาบริเวณน้ำกัดเท้า (ในแก่นฝางมีตัวยา ฝาดสมาน)

วิธีใช้แก้ท้องร่วง ท้องเดิน ใช้แก่น  3-9  กรัม  ต้มกับน้ำ  2  ถ้วยแก้ว  เคี้ยวให้เหลือ  1 ถ้วยแก้ว  รับประทานครั้ง ละครึ่งถ้วยแก้ว  หรือใช้ฝาง  1  ส่วนน้ำ  20  ส่วน  ต้มเคี่ยว  15  นาที  รับประทานครั้งละ  2-4  ช้อนโต๊ะ  หรือ   4-8  ช้อนแกง

การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ ทำสีย้อม ฝางมี  2  ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้มเรียกว่า ” ฝางเสน”  อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลืองเรียกว่า “ฝางส้ม”  นำมาต้มสกัดสาร Haematexylin  ใช้ย้อมสี  Nuclei ของเซลล์  หรือต้มให้สีแดงที่ เรียกว่า sappanin  ซึ่งเป็นสารให้สีประเภท  Brazilin  ใช้ทำน้ำยาอุทัยผสมน้ำดื่ม  สีผสมอาหาร  ใช้แต่งสีขนม เช่น ขนมชั้น ขนมขี้หนู ข้าวเหนียวแก้ว ฯลฯ และชาวบ้านนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้ายและผ้าขนสัตว์

ฤทธิ์ทางชีวภาพหรือผลการรักษาเชิงคลินิก

  1. ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย สารสกัดเนื้อไม้ด้วยเอธานอล 70% สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella flexneri, Staphylococcus aureus, Vibrio cholerae และ Vibrio parahaemolyticus ที่ความเข้มข้น 5 ม.ก. (Gritsanapan and Chulasiri, 1983) สารสกัดเนื้อไม้ด้วยเอธานอล 95% สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella dysenteriae และ Escherichia coli ได้ ที่ความเข้มข้น 100 ม.ก.
  2. ฤทธิ์ต้านการอักเสบ สาร brazilin ซึ่งเป็นสารที่แยกได้จากสารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล มีฤทธิ์ต้านการอักเสบในหนู rat ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เท้าบวมโดยการฉีด carrageenin ในขนาดใช้ 10 ก.ต่อน้ำหนักตัว 1 ก.ก.
  3. ฤทธิ์ขยายหลอดเลือด สารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดของหลอดเลือด aorta ที่ตัดมาจากช่องอกของหนู rat ที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 10 ม.ค.ก./ม.ล.
  4. ฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนเซลล์ สารสกัดแก่นฝางด้วยเมธานอล, เมธานอล-น้ำ (1:1) และน้ำ สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ human HT-1080 fibrosarcoma cell โดยให้ค่า EC50 เท่ากับ 15.8 , 13.8 และ 17.8 ม.ค.ก./ม.ล ตามลำดับ
  5. ฤทธิ์ยับยั้งการสะสมของไขมันบริเวณหลอดเลือด สาร hematein ซึ่งแยกได้จากแก่นฝางสามารถลดการสะสมของไขมันบริเวณผนังหลอดเลือดของกระต่าย ได้



แพทย์ทางเลือก ฝังเข็ม นวดกดจุด สมุนไพร อาหารเพื่อสุขภาพ

ชะพลู ผลวิจัยเผยสรรพคุณสุดเจ๋ง..!!! รักษาอาการโรคเบาหวาน และทำให้สุขภาพดีขึ้นแบบนี้..| Nava DIY
น้ำขิงมะนาว จิบเดียวประโยขน์มหาศาล article
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร บรรยายเรื่อง ป่าเฮ่วหมอง article
7 ประโยชน์ขั้นเทพของ “กระเจี๊ยบเขียว” ที่คุณอาจไม่รู้
ขมิ้นชัน
5 ผักพื้นบ้าน ต้านมะเร็ง
สะระแหน่ ปลูกง่ายโตเร็ว สรรพคุณเพียบ article
จัดการกรดไหลย้อนให้หายขาด
กินผลไม้อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด article
"ต้นป่าช้าเหงา"สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก article
ก้อนอึ 12 ประเภท ที่จะบ่งบอกได้ว่าสุขภาพของคุณเป็นอย่างไร article
17 อาหารช่วยเผาผลาญไขมัน และช่วยล้างพิษ article
ของดี 9 อย่าง ช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด article
กินกล้วยอย่างไร ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด article
ฟักข้าว ประโยชน์ของพืชพื้นบ้านลูกจิ๋ว สรรพคุณแจ๋ว
8 สุดยอด ธัญพืช
อินทผลัม อัศจรรย์ผลไม้กลางทะเลทราย สรรพคุณมากมายเกินคาดคิด !!
หวานซ่อน ร้าย
8 วิธีง่ายๆ ป้องกันมะเร้ง
9 อาหาร ที่ควรกินทุกวัน สุขภาพดีห่างไกลหมอ
10 สุดยอดอาหารบำรุงคนท้อง เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์
5 ผลไม้บำรุงเลือด
13 ผักผลไม้และสมุนไพรบำรุงตับ
น้ำใบบัวบก
รู้หรือไม่ พืชชนิดนี้ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในเวลาเพียง 16 ชั่วโมง รู้เเล้วไปหามากินป้องกันไว้ได้เลย
วิธีเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
นวดแก้อาการ-รักษา 31 โรค แก้อาการทุกชนิดแบบเอื้ออาทร
กรมแพทย์แผนไทย เตือน 6โรคห้ามนวดถึงตาย
อันตรายจาก "สมุนไพร" ที่เรา(อาจ)คาดไม่ถึง!
การนวดกดจุดสะท้อนเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ชาวพังงาหรรษานอนแช่บ่อน้ำพุร้อนปลายพู่-ต้มไข่กิน เชื่อมีแร่ธาตุบำบัดโรค
ต้องอ่านนะค่ะ ของดี ถ้ายังรักตัวเอง โดย อาจารย์ ไกร มาศพิมล (นักโภชนาการบำบัด) http://youtu.be/TkreU-jK-EU
พังแหร สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพังแหรใหญ่ 19 ข้อ
'น้ำเต้าญี่ปุ่น' ขับปัสสาวะ
'ข่อยหยอง' ขับปัสสาวะ
"ตาเสือ’"เปลือกต้นเป็นยาขับโลหิต
“กำยาน”บำรุงหัวใจ คลายเครียด
29 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคว่ำตายหงายเป็น
"สาบเสือ"ใบสดตำพอกปากแผลห้ามเลือด
พิชิตโรคภัย ด้วยดอกไม้ 5 ชนิด ประโยชน์ดีๆที่ไม่ควรมองข้าม



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน