ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เชียงของ-ห้วยทราย 'สะพานไทย-ลาว 4' ประตูเชื่อมจีนกับอาเซียน

 เชียงของ-ห้วยทราย 'สะพานไทย-ลาว 4' ประตูเชื่อมจีนกับอาเซียน

วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2555
 

 
          โครงการ สะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) จังหวัดเชียงราย เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมขนส่งของไทย ลาว และจีน เข้าด้วยกัน ….

          โครงการ นี้มีการผลักดันตั้งแต่ พ.ศ.2544 โดยไทยและลาวได้เสนอให้จีนพิจารณาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเส้นทาง R3 เชียงราย-คุนหมิง ในการประชุมหารือ 4 ฝ่าย ประกอบด้วย ไทย ลาว จีน และธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ระหว่างวันที่ 12-13 มี.ค.2550

          โดย จีนและไทยได้ตกลงร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโครงการ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งลาวและไทยจะเป็นผู้รับภาระ ประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ 1,600 ล้านบาท

         ทั้งนี้ การออกแบบรายละเอียดของโครงการ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยกรมทางหลวง ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดทางด้านวิศวกรรมและ สถาปัตยกรรมของสะพานข้ามแม่น้ำโขง ทางหลวงต่อเชื่อม จุดสลับทิศทางการจราจร และด่านพรมแดน พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภค รวมถึงส่วนประกอบอื่นๆที่จำเป็นให้เป็นไปตามข้อกำหนดและมาตรฐานสากล


ตัวสะพานมีความยาว 1.2 กม. กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 6 ช่องจราจร พร้อมไหล่ทางกว้างข้างละ 2 เมตร และทางเท้าข้างละ 1.25 เมตร มีความยาวช่วงข้ามแม่น้ำโขง 480 เมตร ก่อสร้างเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงรูปกล่อง (Segment Concrete Box Girder) ก่อสร้างโดยวิธี Balanced Cantilever

          ความยาวช่วงละ 110 เมตร 3 ช่วง และช่วงริม 75 เมตร 2 ช่วง โดยจะมีเชิงลาดสะพานยาว 150 เมตร ความยาวช่วงสะพาน 30 เมตร 5 ช่วง มีความยาวโดยรวม 630 เมตร ล่าสุดขณะนี้การก่อสร้างภาพรวมคืบหน้าประมาณ 80% กำหนดแล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้งานเดือน มิ.ย. 2556!!!!

          สะพานแห่งนี้ เปรียบเสมือนประตูเปิดสู่กลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกที่ถือว่ามีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคโดยเฉพาะ โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคทั้งทางบก น้ำ และอากาศ อีกทั้งมีตำแหน่งอยู่ใจกลางกลุ่มประเทศอาเซียน

           ส่วนลาวเป็น อีกหนึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีศักยภาพสูง เพราะมีเขตแดนเชื่อมต่อกับจีนและหลายประเทศในภูมิภาค มีทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งแร่ธาตุ ป่าไม้ หรือพลังงาน มีความพร้อมที่จะเป็นแบตเตอรี่แห่งเอเชีย อีกทั้งประชากรไม่มากนัก และมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ จึงมีโอกาสพัฒนาประเทศได้มากในทุกๆด้าน

          เมื่อไทย-ลาวร่วมมือกันจะ ยิ่งมีศักยภาพทั้งในเชิงภูมิศาสตร์จากการมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ถึง 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า จีน เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย ที่สำคัญทั้ง 2 ประเทศอยู่ในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor) เชื่อมโยงไทย จีน พม่า และลาว และแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor) เชื่อมโยงพม่า ไทย ลาว และเวียดนาม

           ภายใต้กรอบ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subregion:GMS) ระหว่าง 6 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีนตอนใต้ (ยูนนาน) ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ซึ่งเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การค้าการลงทุน การบริหาร และการเป็นประตูการค้าของอาเซียนเชื่อมโยงสู่จีนและอินเดีย

           นอกจาก นี้ ไทย-ลาว ยังมีนโยบายพัฒนาพื้นที่และกิจกรรมทางเศรษฐกิจชายแดนร่วมกันในลักษณะของ เมืองคู่แฝดภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิ รวดี-เจ้าพระยา-โขง ระหว่างประเทศในภูมิภาค คือ กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ซึ่งการรวมตัวกันอย่างใกล้ชิดผนวกกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยง โครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านคมนาคมขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงสาธารณูปโภคต่างๆ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความพร้อมของไทยและลาวให้มากยิ่งขึ้น.






เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน