ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ประวัติความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี

ประวัติความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี

 
                                                               จังหวัดกาญจนบุรี
คำขวัญประจำจังหวัด :  แคว้นโบราณ  ด้านเจดีย์  มณีเมืองกาญจ์  สะพานข้ามแม่น้ำแคว้น  
                                       เหมืองแร่น้ำตก
ประวัติความเป็นมาของจังหวัด :
                     ในอดีตกาญจนบุรี เป็นดินแดนที่อยู่ของมนุษย์ยุคหินเก่า จากหลักฐานที่พบทางด้านโบราณคดีมากมาย อาทิเช่น เครื่องมือหินกะเทาะ เครื่องมือสมัยหินใหม่ เครื่องมือสมัยโลหะ โครงกระดูกมนุษย์ ภาชนะดินเผา เครื่องประดับ ภาพเขียนสีที่ผนังถ้ำ โลงศพ ฯลฯ ตามถ้ำเพิงผา และตามลำน้ำแควน้อย ลำน้ำแควใหญ่ รวมถึงลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาเมื่อชาวอินเดียได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเผยแพร่พุทธศาสนายังแคว้นสุวรรณภูมิ ซึ่งตรงกับพุทธศตวรรษที่ 11-16  ได้พบหลักฐานศิลปะอินเดีย สมัยคุปตะในสมัยทวาราวดี ตามลำน้ำแควน้อย แควใหญ่ และแม่กลอง บริเวณบ้านวังปะโท่ บ้านท่าหวี บ้านวังตะเคียน โบราณวัตถุสถานที่พบ อันประกอบด้วย ซากเจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป พระพิมพ์ เสมาธรรมจักร ระฆังหิน เครื่องประดับ ภาชนะดินเผาและยังพบตะเกียงโรมันสำริด ที่มีอายุราว พ.ศ.600 นับเป็นโบราณวัตถุที่เก่าแก่ที่สุดของไทย  จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุด ที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า  กาญจนบุรี เป็นเมืองของพญากง พระบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากง  สร้างขึ้นราว พ.ศ.1350  ต่อมา ขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายาน เข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลง  ต่อมาในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรี ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญ คอยป้องกันทัพพม่าที่ยกมา ทางด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ (แควน้อยเขตอำเภอไทรโยค) พระมหาอุปราชา ได้กรีฑาทัพผ่านมาทางด่านเจดีย์สามองค์ และได้เข้ามาทำยุทธหัตถี กับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ตำบลดอนเจดีย์ พระมหาอุปราชาถูกพระแสงง้าวสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้ ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีกรุงศรีอยุธยา จนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี (พระเจ้าตากสินมหาราช) ในสมัยนั้นเกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง 
 


                  ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กษัตริย์ของพม่า คือพระเจ้าปดุง ต้องการยึดครองประเทศใกล้เคียง โดยการยกทัพเข้ามาตีไทย ทางด่านเจดีย์สามองค์ และทางด่านต่างๆ รวม 9 ทัพ จึงเรียกสงครามครั้งนั้นว่า  สงคราม 9 ทัพ ”การสู้รบระหว่างไทยกับพม่า ณ ทุ่งลาดหญ้า (ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมือง) เป็นอดีตประวัติศาสตร์สำคัญครั้งหนึ่ง ของกาญจนบุรี ซึ่งเดิมทีเดียว ทุ่งลาดหญ้านี้เป็นเมืองกาญจนบุรีมาก่อน อยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ใกล้เขาชนไก่ เป็นเมืองที่เป็นทั้งสนามรบ และทางผ่านของกองทัพไทยและพม่า ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเรื่อยมา เมื่อเกิดการสู้รบบ่อยครั้ง ราษฏรจึงอพยพมาอยู่ที่ตำบลปากแพรก อย่างหนาแน่น ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำ 2 สาย คือแม่น้ำแควน้อย กับแม่น้ำแควใหญ่ กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง กลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น มีการคมนาคมสะดวก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงเห็นว่าเป็นชัยภูมิที่เหมาะ จึงโปรดฯ ให้ตั้งเมืองกาญจนบุรีขึ้นใหม่ ที่ตำบลปากแพรกนี้ ตอนฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำแม่กลอง ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้ก่อสร้างป้อมและกำแพงเมืองขึ้นใหม่ อย่างแข็งแรง ตรงฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ยังคงเหลือประตูเมือง และซากของกำแพงเมืองให้เห็น ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่ เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ปัจจุบันตัวเมืองที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ย้ายไปอยู่ที่บ้านบ่อ ห่างจากที่ตั้งเดิมไปทางใต้ 3 กิโลเมตร เนื่องจากตัวเมืองเดิมทรุดโทรม ในอดีตมีเหตุการณ์สำคัญคือในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  กองทัพญี่ปุ่นได้เดินทัพเข้ามาในประเทศไทย เพื่อจะผ่านไปพม่าและอินเดีย จึงได้สร้างทางรถไฟจากชุมชนหนองปลาดุก (จังหวัดราชบุรี) ผ่านแม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย ไปยังด่านพระเจดีย์สามองค์ เข้าสู่ประเทศพม่า ที่เมืองตันบีบูซายัด โดยใช้เชลยศึกที่จับมาได้บังคับและทรมาน เพื่อเร่งสร้างทางรถไฟให้เสร็จภายใน  1 ปี แต่ถูกฝ่ายตรงข้ามทิ้งระเบิดทำลาย ทำให้เชลยศึกต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ทางรถไฟสายนี้จึงถูกขนานนามว่า     " ทางรถไฟสายมรณะ







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน