ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วิธีรักษาฟันคุด

ฟันคุด

อาการของการเป็นฟันคุด 

     ลักษณะอาการของการเป็นฟันคุด คือ การปวดฟันกรามด้านล่าง ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้  เป็นฟันที่เกิดจากฟันซี่อื่นหรอืมีกระดูกขัดขวางการขึ้นของฟันทำให้ขึ้นไม่ได้จึงเรียกกันว่า ฟันคุด สาเหตุของการเกิดฟันคุดมาจาก แท้จริงแล้วยังไม่มีการศึกษาสาเหตุที่แน่นอนแท้จริงของฟันคุด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน 

 

    ถ้าลักษณะขิงขากรรไกรเล็กแต่ฟันมีขนาดใหญ่จึงทำให้ฟันไม่สามารถมาขึ้นได้ในช่องปากจึงกลายเป็นฟันคุดได้  แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะต้องเป็นฟันคุดเพราะบางคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องขนาดของฟัน  หรือขากรรไกรก็จะไม่มีปัญหาเรื่องฟันคุดแต่เป็นฟันที่ขึ้นปกติธรรมดาเท่านั้น ฟันคุดต้องเอาออกในช่วงอายุ 16-25 ปีที่สามารถเอาฟันคุดออกแล้วไม่มีปัญหาและผลเสียอื่นๆตามมา  ซึ่งเป็นช่วงที่รากฟันของฟันคุดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระดูกขากรรไกรยังไม่หนาทำให้แผลหายได้ง่ายกว่า

 

 ฟันคุด

สาเหตุของการเกิดฟันคุด

 

 ผลเสียของการไม่เอาฟันคุดออก

 

1.อาจทำให้เกิดเหงือกอักเสบซ้ำได้ อาจทำให้เหงือกเราอักเสบบวมและเป็นซ้ำๆไม่หาย สามารถกลับมาเป็นอีกเรื่อยๆ

 2.อาจทำให้ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดผุได้

 3.กระดูกขากรรไกรอาจหักได้ง่าย บริเวณฟันคุดขากรรไกรจะบางทำให้เกิดการหักของกระดูกขากรรไกรได้ง่าย

     การรักษาฟันคุดทำได้โดยการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการฉีดยาชาจนชาเต็มที่ หลังจากนั้นหมอจะเปิดเหงือกเฉพาะส่วนที่คลุมฟันคุดอยู่ออก  แบ่งฟันออกเป็นชิ้นส่วนเล็กและค่อยๆเอาออกที่ส่วนเล็กนั้นจนกว่าจะหมด  จากนั้นล้างด้วยน้ำล้างแผลให้สะอาดขั้นตอนสุดท้ายก็เย็บปิดแผล

 ฟันคุด

ขั้นตอนของการผ่าฟันคุด 

วิธีการดูแลหลังผ่าฟันคุด

 1.กัดผ้าเอาไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถ้าหลังจาก 2 ชั่วโมงที่กัดผ้ายังมีเลือดไหลอยู่ก็ให้กัดต่อจนกว่าเลือดจะหยุดไหล

 

2.ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบไว้ 1 วัน หลังจากกลับไปบ้านให้ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบด้านนอกปาก จากบริเวณหน้าหูถึงใต้คาง

 

3.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆ ประคบไว้อีกวันหนึ่ง วันที่ 2  หลังจากผ่าฟันคุดให้ใช้น้ำอุ่นประคบในบริเวณเดิมที่ประคบ

 

4.ทานยาแก้ปวด ทานอาหารอ่อนๆ  อาจมีอาการปวดบวมได้เพราะเกิดจากผลข้างเคียง

 

5.ให้ทันตแพทย์ตัดไหมออกวันที่ 7  ระหว่างนี้สามารถแปรงฟันได้ปกติ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณที่ผ่าตัดฟันคุดเท่านั้น

 

เมื่อมีอาการหรือสังเกตว่าตนเองอาจมีปัญหาเกี่ยวกับฟุนคุดแนะนำให้รีบไปพบหรือปรึกษาทันตแพทย์เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี








เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน