ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ต่อมลูกหมากโต (ชนิดไม่เป็นมะเร็ง) และนวัตกรรมการรักษาสมัยใหม่ article

ต่อมลูกหมากโต (ชนิดไม่เป็นมะเร็ง) และนวัตกรรมการรักษาสมัยใหม่ 

เรียบเรียงโดย www.legendnews.net

 วันเสาร์ ที่ 13  มิถุนายน 2558 

 ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะภายในที่พบเฉพาะในผู้ชาย เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ต่อจากท่อกระเพาะปัสสาวะและหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นเอาไว้ เป็นอวัยวะที่เป็นตำแหน่งเชื่อมของระบบทางเดินปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์เพศชาย มีหน้าที่สร้างสารหล่อเลี้ยงตัวเชื้ออสุจิ เพื่อเก็บกักไว้ในท่อน้ำเชื้ออสุจิ เมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิ ก็จะหลั่งผ่านท่อในต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะออกมา โดยปกติต่อมลูกหมากมักไม่ก่อให้เกิดปัญหา แต่เมื่อเกิดมีการอักเสบหรือการเจริญของเซลล์ที่ผิดปกติทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น ก็จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติได้ ในส่วนของภาวะการโตผิดปกติของต่อมลูกหมากนั้น เกิดได้ 3 กรณีใหญ่ ๆ ได้แก่

1. ภาวะต่อมลูกหมากโตจากการอักเสบ ถ้ารักษาอาการอักเสบ ต่อมลูกหมากก็จะเล็กลงและกลับคืนมาเหมือนเดิม

2. ภาวะต่อมลูกหมากโตจากการเปลี่ยนแปลงของระบบฮอร์โมนที่มาหล่อเลี้ยงต่อมลูกหมาก ซึ่งเกิดในผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น ประมาณ 45 ปีขึ้นไป เรียกว่าเป็นต่อมลูกหมากโตชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง

3. ภาวะต่อมลูกหมากโตจากการเป็นมะเร็ง ข้อพึงระวังของภาวะการโตแบบมะเร็งนี้คือ ต่อมลูกหมากอาจจะไม่โตมากเหมือนต่อมลูกหมากโตในภาวะที่ 2 แล้วยังไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติของการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ แต่เซลล์ต่อมลูกหมากได้กลายเป็นเซลล์มะเร็งแล้ว

ดังนั้น ผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป จึงควรได้รับการวินิจฉัยแยกโรคแต่เนิ่น ๆ โดยแพทย์เฉพาะทางโดยแพทย์จะทำการตรวจภายในและตรวจเลือดค้นหาสารที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งต่อมลูกหมาก(PSA – Prostate Specific Antigen) ซึ่งถ้าพบว่าเป็นมะเร็ง การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะเริ่มต้น ผลการรักษาจะดีกว่าในระยะหลังค่อนข้างมาก บางคนสามารถรักษาให้หายขาดได้

สำหรับในครั้งนี้จะขอกล่าวเกี่ยวกับการรักษาต่อมลูกหมากโตชนิดที่ไม่เป็นมะเร็ง ในปัจจุบันมีการรักษาหลายวิธี ตั้งแต่การเฝ้าดูอาการในผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมลูกหมากโต แต่ไม่มีอาการในเรื่องของการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติออกมา เช่น ปัสสาวะขัด ต้องเบ่ง ไม่พุ่ง ไม่สุด กะปริดกะปรอย อั้นไม่ค่อยอยู่ หรือปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน หรือมีอาการแต่ไม่มาก ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ถ้ามีอาการผิดปกติจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาจรักษาโดยเริ่มตั้งแต่การใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ โดยในปัจจุบันมียาหลายกลุ่มที่ช่วยรักษาบรรเทาอาการ ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตมาก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการต่อมลูกหมากโต เช่น เกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือเกิดภาวะไตเสื่อม ไตวาย อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเพื่อลดขนาดของต่อมลูกหมาก ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัด ทำผ่านกล้องส่องทางเดินปัสสาวะ เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นจากภายนอก โดยการใช้เครื่องมือตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก(TURP – transurethral resection of the prostate) ออกมาทีละชิ้นเล็ก ๆ และทำการดูดออกมาผ่านทางเครื่องมือผ่าตัด ผู้ป่วยจะเกิดความเจ็บปวดไม่มากใช้ระยะพักฟื้นเร็ว ในผู้ป่วยที่สูงอายุมาก ๆ และมีภาวะโรคประจำตัว ก็สามารถผ่าตัดได้โดยการผ่าตัดด้วยขดลวดชนิดพิเศษ(Bipolar Saline TURP) หรือการใช้เลเซอร์ร่วมในการผ่าตัด(Transurethral laser prostatectomy) ซึ่งมีความปลอดภัยสูงขึ้น มีเลือดออกขณะผ่าตัดน้อย เกิดผลกระทบต่อร่างกายน้อย ฟื้นตัวเร็ว และมีอาการเจ็บหลังผ่าตัดน้อยมาก

 

สรุปแล้ว ต่อมลูกหมาก เป็นอวัยวะที่ก่อให้เกิดปัญหาตั้งแต่น้อยไปถึงมาก ถึงขั้นเป็นเนื้อร้าย คุณผู้ชายควรหมั่นสังเกตอาการขณะขับถ่ายปัสสาวะไว้บ้าง และผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แนะนำตรวจเช็กต่อมลูกหมาก โดยการตรวจภายในกับแพทย์เฉพาะทาง และ

 

 

ตรวจเลือดค้นหาความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก เพื่อเป็นการป้องกันในระยะเริ่มต้น

 

คำแนะนำในการดูแลตัวเอง

หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมันสูง และอาหารปิ้งย่างที่มีลักษณะไหม้เกรียม

หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่กระทบโดยตรงต่อต่อมลูกหมาก เช่น การขี่จักรยานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ (โดยเฉพาะการนั่งบนอานที่แข็ง)

ทานอาหารประเภทที่มีวิตามินสูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช

ดื่มน้ำมาก ๆ

ออกกำลังกายที่เหมาะสม.

นพ.ไพโรจน์ อภัยบัณฑิตกุล (ศัลยแพทย์เฉพาะทาง)

โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล อ้อมน้อย

โทร.1792 หรือ www.vichaivejomnoi.com

แหล่งข่าว เดลินิวส์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน