ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ควรตรวจสุขภาพตาเมื่อไร

 

 

นำเสนอโดยทีมงาน www.legendnews.net

ควรตรวจสุขภาพตาเมื่อไร

                ดวงตา 2 ข้างของเรา เริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา เจริญพัฒนาเพิ่มขึ้นหลังคลอด และสมบูรณ์เมื่ออายุ 6 – 7 ปี หลังจากนั้นคนส่วนใหญ่จะมีดวงตาปกติจนอายุ 40 ปี จึงเริ่มมีการเสื่อมของดวงตาลงเรื่อยๆ และเสื่อมมากเมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ในแต่ละวัย ปัญหาของดวงตาจึงแตกต่างกันตามช่วงอายุ การตรวจเช็คสุขภาพตา มีความจำเป็นแตกต่างกันตามช่วงอายุดังนี้

 

1.     ช่วงแรกคลอดถึงอายุ 2 ปีเต็ม ถ้าบุตรหลานของท่านมีลักษณะต่อไปนี้ สมควรตรวจตา

     - คลอดก่อนกำหนด

     - ไม่สบตาแม่ ไม่จ้องสิ่งของ

     - ตาเหล่เข้าหรือออก, ตากระตุกหรือสั่น

     - มีประวัติพ่อหรือแม่เป็น ตาขี้เกียจ” หรือสายตาสั้นมาก

     - สังเกตเห็นแววตา มีสีขาววาว หรือขาวขุ่นสะท้อนให้เห็นน้ำตาคลอตาข้างใดข้างหนึ่งตลอดเวลา

2.     ช่วงอายุ 3-5 ปี วัยก่อนเข้าโรงเรียน

     - พบ 3% มีตาขึ้เกียจ ดังนั้นวัยนี้จึงมีความจำเป็นต้องตรวจตา, ตรวจสายตา เพื่อหาภาวะตาขี้เกียจ และแก้ไขให้หาย (ถ้าอายุมากกว่า 8-9 ปี ไม่สามารถแก้ไขได้)

3.     ช่วงวัยเรียนถึงวัยรุ่นช่วงนี้เด็กส่วนมากตาเห็นดีและปกติ  ในรายที่ผิดปกติควรตรวจตา

     - ดูกระดานไม่ชัด ต้องหยีตา, ก้มหน้าเอียงหน้า จึงจะชัดขึ้น

     - ปวดหัว ปวดตา เมื่ออ่านหนังสือ หรือใช้สายตามากๆ

     - สงสัยตาบอดสี

     - กลางคืนตามัวมาก ปรับตาในที่มืดไม่ค่อยได้

4.     ช่วงวัยหนุ่มสาว วัยทำงาน ไม่ค่อยมีปัญหา ยกเว้นในรายที่ใช้สายตามากๆ ควรตรวจสุขภาพเมื่อ

     - สายตาสั้นเพิ่มขึ้นทุกปี

     - มีหยากไย่ลอยไปมาเป็นครั้งคราว หรือมีแสงแวบๆในตา

     - มีประวัติต้อหิน ในครอบครัวและญาติ

5.     ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป เริ่มมีการเสื่อมของดวงตา ควรเช็คสุขภาพตาทุก 1-2 ปี เพื่อ

     - ตรวจวัดความดันลูกตา หาโรคต้อหิน

     - ตรวจวัดสายตา ช่วงอ่านหนังสือ

     - ตรวจสุขภาพลูกตา เพื่อหาโรคต้อกระจก ต้อหิน

     - ในรายที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง อาจมีการเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาจากโรคที่มีผลต่อการเห็น

     - ยารักษาโรคเรื้อรังบางตัว อาจสะสมในตาและมีผลต่อตาได้ เช่น ยารักษาข้ออักเสบเรื้อรัง ยารักษาวัณโรค ยาSteroid ฯลฯ ถ้าท่านจำเป็นต้องใช้ยาระยะยาว ควรตรวจตาเป็นระยะ

ที่มา http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/19/1126/TH




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน